ประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือน มี.ค. คือ การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ รวมทั้งการประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของโลก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 1-10 bps ซึ่งถึงแม้ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ จะชะลอลงมาอยู่ที่ 2.8% YoY ลดลงจาก 3.00% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนผลการประชุมนโยบายการเงินของคณะกรรมการ FOMC ที่มีมติ 6 ต่อ 1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.25-4.50% โดย นาย Jerome Powell ประธาน FED ระบุในแถลงการณ์หลังการประชุมว่า การปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการจะเฝ้าติดตามสัญญาณของความอ่อนแอของเครื่องชี้เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยังระบุเพิ่มว่า อัตราดอกเบี้ยของ FED ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สามารถตอบสนองกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ และควรรอความชัดเจนที่มากกว่านี้ว่า เศรษฐกิจกำลังจะมีพัฒนาการไปในทิศทางใด ก่อนจะเปลี่ยนแปลงจุดยืนด้านนโยบายการเงินสำหรับแนวโน้มดอกเบี้ย หรือ Dot Plot คณะกรรมการนโยบายการเงินส่งสัญญาณตามการประชุมรอบเดือน ธ.ค. ว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับ 3.9% (ลดอีก 2 ครั้ง) ณ สิ้นปี 2025F และปรับลงสู่ระดับ 3.4% (ลดอีก 2 ครั้ง) ณ สิ้นปี 2026F
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในทุกช่วงอายุคงเหลือ โดยลดลงประมาณ 10-20 bps โดยมีปัจจัยหลักมาจากการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ และการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเร็วกว่าที่เคยคาดไว้ จากการที่คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้ ทั้งจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 28 มีนาคม และสงครามการค้าที่แสดงความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับในระยะต่อไปยังคงคาดว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงมีความผันผวนตามทิศทางของตลาดตราสารหนี้สหรัฐ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ที่มีโอกาสปรับลดได้อีกในปีนี้ และยังอาจเผชิญกับความผันผวนตามทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ โดยเฉพาะในวันที่ 2 เมษายนนี้ ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะประกาศตั้งกำแพงภาษีตอบโต้หลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2025: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือน มี.ค. คือ การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ รวมทั้งการประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของโลก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 1-10 bps ซึ่งถึงแม้ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ จะชะลอลงมาอยู่ที่ 2.8% YoY ลดลงจาก 3.00% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนผลการประชุมนโยบายการเงินของคณะกรรมการ FOMC ที่มีมติ 6 ต่อ 1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.25-4.50% โดย นาย Jerome Powell ประธาน FED ระบุในแถลงการณ์หลังการประชุมว่า การปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการจะเฝ้าติดตามสัญญาณของความอ่อนแอของเครื่องชี้เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยังระบุเพิ่มว่า อัตราดอกเบี้ยของ FED ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สามารถตอบสนองกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ และควรรอความชัดเจนที่มากกว่านี้ว่า เศรษฐกิจกำลังจะมีพัฒนาการไปในทิศทางใด ก่อนจะเปลี่ยนแปลงจุดยืนด้านนโยบายการเงินสำหรับแนวโน้มดอกเบี้ย หรือ Dot Plot คณะกรรมการนโยบายการเงินส่งสัญญาณตามการประชุมรอบเดือน ธ.ค. ว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับ 3.9% (ลดอีก 2 ครั้ง) ณ สิ้นปี 2025F และปรับลงสู่ระดับ 3.4% (ลดอีก 2 ครั้ง) ณ สิ้นปี 2026F
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในทุกช่วงอายุคงเหลือ โดยลดลงประมาณ 10-20 bps โดยมีปัจจัยหลักมาจากการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ และการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเร็วกว่าที่เคยคาดไว้ จากการที่คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้ ทั้งจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 28 มีนาคม และสงครามการค้าที่แสดงความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับในระยะต่อไปยังคงคาดว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงมีความผันผวนตามทิศทางของตลาดตราสารหนี้สหรัฐ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ที่มีโอกาสปรับลดได้อีกในปีนี้ และยังอาจเผชิญกับความผันผวนตามทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ โดยเฉพาะในวันที่ 2 เมษายนนี้ ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะประกาศตั้งกำแพงภาษีตอบโต้หลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย