ตลาดหุ้นในเดือนเมษายนปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดเกิดความผันผวนอย่างมากระหว่างเดือน หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการตอบโต้ทางภาษีในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มาก ก็จะถูกตอบโต้ทางภาษีที่มากขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน เนื่องจากการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าต่างๆ ทั้งแคนาดา กลุ่ม EU และโดยเฉพาะประเทศจีนที่มีการตอบโต้ไปมากับสหรัฐฯ จนอัตราภาษีนำเข้าจากจีน พุ่งสูงขึ้นถึง 145% ซึ่งให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า จะส่งผลให้การค้าโลกหดตัวอย่างหนัก แต่ในเวลาต่อมา เหตุการณ์ดังกล่าวมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยภาษีดังกล่าวได้ถูกผ่อนปรนออกไป 90 วัน สำหรับทุกประเทศ ยกเว้นจีน และทยอยยกเว้นสำหรับสินค้านำเข้าจำเป็นบางรายการจากจีน เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อีกทั้งทีท่าจะขึ้นภาษีดังกล่าว ทำให้มีหลายประเทศเข้าร่วมเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นในการเจรจาและความยืดหยุ่นที่มีมากขึ้นของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกอบกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ที่ยังออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะกับบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้ตลาดหุ้นโลกกลับมาฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี
ในส่วนภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาในไตรมาสแรก GDP หดตัวลงไป 0.3% เทียบกับไตรมาส 4 ที่เป็นบวก 2.4% เนื่องจากมีการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง รวมถึงเกิดการสต๊อกสินค้าของผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ก่อนที่มาตรการภาษีจะมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ จากการประชุมของ FED ที่ผ่านมา มองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังขยายตัวในระดับที่แข็งแรง การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สามารถตอบสนองกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม FED ยังมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าเพิ่มขึ้น และยังดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อนโยบายสงครามการค้า ระดับเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจ ก่อนที่จะตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนนโยบายในระยะต่อจากนี้ นอกจากนี้ ด้าน PBOC ยังได้ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ ดังนั้น โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกหลังจากนี้ ก็มีจะยังมีความเปราะบาง จากผลการเจรจาการค้าที่น่าจะเห็นความคืบหน้ามากขึ้น แต่ก็จะถูกชดเชยจากมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐได้บางส่วน
สำหรับตลาดหุ้นไทยเดือนเมษายนปรับตัวได้ดีขึ้นกว่าตลาดโลก แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก และมีความผันผวนเกิดขึ้นตลอดทั้งเดือน ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจของไทยยังคงอ่อนแอ ทำให้หลายสำนักปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยลง โดยล่าสุด IMF ปรับลดลงเหลือ 1.8% จากก่อนหน้าที่ 2.9% ส่งผลให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตทางเศรษฐกิจต่ำที่สุดในเอเชีย โดยมีสาเหตุจากแรงกดดันจากการค้าโลก การชะลอตัวของประเทศคู่ค้าและการลงทุนที่มีแนวโน้มลดลง
ในส่วนผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยในไตรมาสแรกเริ่มทยอยออกมา โดยจากการคาดการณ์ของ Bloomberg ปรับตัวลดลง 9% เทียบกับปีที่ผ่านมา และประมาณการกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นไทยยังคงถูกปรับตัวลดลงต่ออีก 3.4% ซึ่งเรามองว่า ตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้จะอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวระยะสั้น จากความผ่อนคลายความกังวลของการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ประกอบกับเม็ดเงินลงทุนของกองทุน TESGX เข้าใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม เรายังมองการฟื้นตัวดังกล่าวมีความจำกัด จากความเสี่ยงด้านมหภาคที่ยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายปัจจัย ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้ สำหรับการลงทุนหุ้นไทยต่อจากนี้ เรามองว่าควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic และ Defensive เป็นหลัก
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2025: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นในเดือนเมษายนปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดเกิดความผันผวนอย่างมากระหว่างเดือน หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการตอบโต้ทางภาษีในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มาก ก็จะถูกตอบโต้ทางภาษีที่มากขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน เนื่องจากการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าต่างๆ ทั้งแคนาดา กลุ่ม EU และโดยเฉพาะประเทศจีนที่มีการตอบโต้ไปมากับสหรัฐฯ จนอัตราภาษีนำเข้าจากจีน พุ่งสูงขึ้นถึง 145% ซึ่งให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า จะส่งผลให้การค้าโลกหดตัวอย่างหนัก แต่ในเวลาต่อมา เหตุการณ์ดังกล่าวมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยภาษีดังกล่าวได้ถูกผ่อนปรนออกไป 90 วัน สำหรับทุกประเทศ ยกเว้นจีน และทยอยยกเว้นสำหรับสินค้านำเข้าจำเป็นบางรายการจากจีน เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อีกทั้งทีท่าจะขึ้นภาษีดังกล่าว ทำให้มีหลายประเทศเข้าร่วมเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นในการเจรจาและความยืดหยุ่นที่มีมากขึ้นของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกอบกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ที่ยังออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะกับบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้ตลาดหุ้นโลกกลับมาฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี
ในส่วนภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาในไตรมาสแรก GDP หดตัวลงไป 0.3% เทียบกับไตรมาส 4 ที่เป็นบวก 2.4% เนื่องจากมีการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง รวมถึงเกิดการสต๊อกสินค้าของผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ก่อนที่มาตรการภาษีจะมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ จากการประชุมของ FED ที่ผ่านมา มองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังขยายตัวในระดับที่แข็งแรง การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สามารถตอบสนองกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม FED ยังมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าเพิ่มขึ้น และยังดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อนโยบายสงครามการค้า ระดับเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจ ก่อนที่จะตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนนโยบายในระยะต่อจากนี้ นอกจากนี้ ด้าน PBOC ยังได้ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ ดังนั้น โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกหลังจากนี้ ก็มีจะยังมีความเปราะบาง จากผลการเจรจาการค้าที่น่าจะเห็นความคืบหน้ามากขึ้น แต่ก็จะถูกชดเชยจากมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐได้บางส่วน
สำหรับตลาดหุ้นไทยเดือนเมษายนปรับตัวได้ดีขึ้นกว่าตลาดโลก แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก และมีความผันผวนเกิดขึ้นตลอดทั้งเดือน ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจของไทยยังคงอ่อนแอ ทำให้หลายสำนักปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยลง โดยล่าสุด IMF ปรับลดลงเหลือ 1.8% จากก่อนหน้าที่ 2.9% ส่งผลให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตทางเศรษฐกิจต่ำที่สุดในเอเชีย โดยมีสาเหตุจากแรงกดดันจากการค้าโลก การชะลอตัวของประเทศคู่ค้าและการลงทุนที่มีแนวโน้มลดลง
ในส่วนผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยในไตรมาสแรกเริ่มทยอยออกมา โดยจากการคาดการณ์ของ Bloomberg ปรับตัวลดลง 9% เทียบกับปีที่ผ่านมา และประมาณการกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นไทยยังคงถูกปรับตัวลดลงต่ออีก 3.4% ซึ่งเรามองว่า ตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้จะอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวระยะสั้น จากความผ่อนคลายความกังวลของการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ประกอบกับเม็ดเงินลงทุนของกองทุน TESGX เข้าใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม เรายังมองการฟื้นตัวดังกล่าวมีความจำกัด จากความเสี่ยงด้านมหภาคที่ยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายปัจจัย ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนต่อจากนี้ สำหรับการลงทุนหุ้นไทยต่อจากนี้ เรามองว่าควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic และ Defensive เป็นหลัก