ส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,256 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว11.4%

ส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,256 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว11.4%

BF Economic Research

การส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,256 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 11.4% YoY (prev. 12.34% YoY)  ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 21,053 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 11.72% YoY (prev. 20.84% YoY)  ทำให้ดุลการค้าพลิกมาเกินดุล 1,203 ล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว – 1,283.3 ล้านดอลลาร์ฯการส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,256 ล้านดอลลาร์ฯ  โตขยายตัว11.4% YoY (prev. 12.34% YoY)  ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 21,053 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 11.72% YoY (prev. 20.84% YoY)  ทำให้ดุลการค้าพลิกมาเกินดุล 1,203 ล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว – 1,283.3 ล้านดอลลาร์ฯ

ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค. 2018) การส่งออกมีมูลค่า 104,031 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 11.55% เมื่อเทียบกับปีก่อน (AoA) ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 102,154 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 16.6% AoA ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1,877 ล้านดอลลาร์ฯโดยกระทรวงพาณิชย์มองว่าการส่งออกในปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 8% หลังจากช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวเกิน 10%

ในรายสินค้า 

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวที่ 1.5% YoY โดยสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี ได้แก่

• ข้าว ขยายตัว 21.1% YoY จากปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ และแคเมอรูน)

• ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขยายตัว 6.9% YoY  (ขยายตัวเกือบทุกตลาด อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร เนเธอแลนด์ เกาหลีใต้ เมียนมา และออสเตรเลีย)

• เครื่องดื่ม ขยายตัว 20.4% YoY (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมา และสิงคโปร์)

• ทูน่ากระป๋อง ขยายตัว 10.3% YoY  (ขยายตัวในตลาด อียิปต์ เปรู ชิลี ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐฯ และญี่ปุ่น)

สินค้าเกษตรสำคัญที่หดตัว ได้แก่

• ยางพารา หดตัว -17.5% YoY โดยเป็นผลทางด้านราคาแต่ปริมาณการส่งออกยังขยายตัว

• ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป กลับมาหดตัวที่     -9.4% YoY เนื่องจากได้เร่งส่งออกไปแล้วก่อนหน้านี้

• กุ้งสดแช่แข็งและแปรรูป หดตัว -28.5%YoY

• น้ำตาลทราย ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ -13.4% YoY เนื่องจากราคาในตลาดโลกถูกกดดันจากการที่บราซิลเร่งส่งออกน้ำตาลเพื่อชดเชยค่าเงินที่อ่อนค่าลง

 ภาพรวม 5 เดือนแรกของปีกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 3.9% YoY

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงเป็นเดือนที่ 15 ที่ 12.6% YoYโดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่

• รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 25.2% YoY (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และแอฟริกาใต้)

• เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 10.8% YoY  (ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง และมาเลเซีย)

• เม็ดพลาสติก ขยายตัว 30.1% YoY (ส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย สหรัฐฯ และเกาหลีใต้)

• เคมีภัณฑ์ ขยายตัว 35.8% YoY (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น)

• น้ำมันสำเร็จรูป ขยายตัว 30.7% YoY (ส่งออกไปตลาดกัมพูชา มาเลเซีย ลาว เมียนมา และอินเดีย )สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่

• ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หดตัว -15.2%YoY • เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัว -15.6% YoY

ภาพรวม 5 เดือนแรกของปีกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 12.2% YoY

ในรายตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปตลาดสำคัญๆ ขยายตัวเกือบทุกตลาด ยกเว้น ตลาดตะวันออกกลาง โดยการส่งออกไปยังตลาดหลักขยายตัว 8.2% YoY ซึ่งเป็นการขยายตัวในทุกตลาด ทั้งการส่งออกไปสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (15) และญี่ปุ่น ที่ขยายตัว 3.9%YoY, 10% YoY, และ 11.6%YoY ตามลำดับ

ขณะที่การส่งออกไปตลาดศักยภาพขยายตัวในอัตราสูงที่ 13.7%YoY ซึ่งส่วนใหญ่ขยายตัวในระดับ 2 หลัก โดยการส่งออกอินเดียยังขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 31.2%YoY