ภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน มิ.ย. ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน

ภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน มิ.ย. ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน

BF Economic Research

เศรษฐกิจไทยในเดือน มิ.ย. ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดี ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์

การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวที่ +3.4% YoY จาก +4.5% YoY เดือนก่อน

การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ +3.4% YoY จาก +4.5% YoY เดือนก่อน ในรายองค์ประกอบการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนหดตัวเล็กน้อย สำหรับภาพรวมของกำลังซื้อโดยรวมปรับดีขึ้นสะท้อนจากการขยายตัวของทั้งรายได้ ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมและรายได้รวมลูกจ้างนอกภาคเกษตรกรรม เมื่อเทียบรายไตรมาสการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2/2018 ขยายตัวที่ +4.2% YoY (จาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ +2.9% YoY)

  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวที่ +10.7% YoY ต่อเนื่อง (prev. +9.5% YoY) หนุนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์เชิงพาณิชย์ และยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่กลับมาขยายตัว เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ +1.2% MoM sa
  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวที่ +2.3% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ +2.4% YoY ตามปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มและปริมาณการค้าปลีกสินค้ากึ่งคงทนภายในประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ +0.8% MoM sa
  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน หดตัวเล็กน้อยที่ -0.8% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว +0.2% YoY  ตามยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภค ในหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน และปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่หดตัวจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการใช้จ่ายในหมวด สินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ +0.3% MoM sa
  • การใช้จ่ายในหมวดบริการ ขยายตัวที่ +7.0% YoY ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ +6.7% YoY ตามการใช้จ่ายในหมวด โรงแรมและภัตตาคาร และหมวดขนส่ง สอดคล้องกับ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ +0.9% MoM sa

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวที่ +4.0% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ +2.6% YoY

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวที่ +4.0% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ +2.6% YoY ตามการขยายตัวของเครื่องชี้การลงทุน ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้าง หดตัว ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้น +0.4% MoM sa และเมื่อเทียบรายไตรมาสการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2/2018 ขยายตัวดีขึ้นที่+ 4.6% YoY จาก +2.0% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า

  • การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตาม 1) การนำเข้าสินค้าทุนของ ภาคเอกชน (+8.8% YoY vs. prev. +1.5% YoY) โดยเฉพาะหมวดพลังงานทดแทน เครื่องจักร และอุปกรณ์ โทรคมนาคม 2) ยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ ( +5.5% YoY vs. prev. +4.8% YoY) ขยายตัวต่อเนื่องตาม ยอดจำหน่ายเครื่องจักรประเภทมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ 3) ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการลงทุนที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ +5.3%YoY (vs prev +4.4% YoY)
  • การลงทุนด้านการก่อสร้าง หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ -0.8%YoY (vs. prev.+ 3.6% YoY ) ตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างและ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างโดยเฉพาะเสาเข็มคอนกรีต ซีเมนต์พอร์ตแลนด์ และกระเบื้องสำหรับปูพื้นและบุผนัง

นักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวน 3.0 ล้านคนขยายตัว +11.6% YoY

  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 3.0 ล้านคน ขยายตัว +11.6% YoY (vs. prev. 2.8 ล้านคนหรือ +6.4% YoY) โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีน ฮ่องกง และเอเชียใต้โดยเฉพาะอินเดียขยายตัวดีต่อเนื่อง ประกอบกับนักท่องเที่ยวมาเลเซีย กลับมาขยายตัวดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเหลื่อมเดือนของเทศกาลฮารีรายอที่เริ่มเร็วกว่าปีก่อน ผนวกกับในปีนี้ตรงกับช่วงการปิดภาคเรียนของมาเลเซีย

รายได้เกษตรกร ขยายตัวที่ +4.3% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ +8.0% YoY

  • รายได้เกษตรกร ขยายตัวที่ +4.3% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ +8.0% YoY จากด้านผลผลิตที่ขยายตัวในเกือบทุกหมวดหลักโดยเฉพาะข้าวขาว ผลไม้ และปาล์มน้ามัน เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวน้อยลง จากราคาข้าวหอมมะลิที่ขยายตัว จากอุปสงค์ที่ดีต่อเนื่องขณะที่ปริมาณมีจำกัด

การส่งออกขยายตัว +10.0% YoY (vs. prev. +12.2% YoY)

การส่งออกขยายตัว +10.0% YoY (vs. prev. +12.2% YoY) และหากหักทองคำ ขยายตัว +10.0% YoY เท่ากัน (vs. prev. +12.2% YoY) โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องในหลายหมวด สินค้า จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ดีต่อเนื่อง โดย

  • สินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบขยายตัวดีทั้งด้านปริมาณและด้านราคา จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยเฉพาะเม็ดพลาสติกไปจีน ญี่ปุ่น และ อินโดนีเซีย และการส่งออกเคมีภัณฑ์ไปจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึง การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงไปสิงคโปร์ และ กัมพูชา
  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวตามการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไป สหรัฐฯ และฮ่องกง ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากการขยายกำลังการผลิตในช่วง ก่อนหน้า และการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ แผงวงจรรวมไป ฮ่องกงและมาเลเซีย และแผงควบคุมไฟฟ้าและชุดสายไฟที่ใช้ในรถยนต์ไป กลุ่มประเทศในเอเชีย
  • สินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัวดีจากด้านปริมาณ ตามการส่งออกน้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์ยางไปจีน ขณะที่การส่งออกน้ำมันปาล์มไปอินเดียขยายตัวโดยเป็นผลจากฐานที่ต่ำในระยะเดียวกันปีก่อน
  • ยานยนต์และชิ้นส่วนขยายตัวจากการส่งออกรถกระบะไป ออสเตรเลีย และชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะกระปุกเกียร์ไปจีนและเวียดนาม

การนำเข้าขยายตัว +12.9% YoY (vs. prev. +12.7% YoY)  

การนำเข้าขยายตัว +12.9% YoY (vs. prev. +12.7% YoY) และหากหักทองคำขยายตัว +16.1% YoY (vs. prev. +12.5% YoY) โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องในหลายหมวดสินค้า ได้แก่

  • หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางขยายตัวตามการนำเข้าน้ำมันดิบและ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภท HDD และ IC ขยายตัวดีสอดคล้องกับ ภาคการส่งออกในหมวดเดียวกัน และการนำเข้าโลหะขยายตัวจากการ นำเข้าเหล็กเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง
  • หมวดสินค้าทุน ขยายตัวต่อเนื่องตาม การนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องแปรรูปพลาสติก เครื่องจักรเพื่อการ ก่อสร้าง และอุปกรณ์โทรคมนาคม อาทิ โทรศัพท์มือถือ สอดคล้องกับ ทิศทางการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว
  • หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัวตามการนำเข้าสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน สอดคล้องกับการ บริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว และ หมวดยานยนต์และชิ้นส่วนขยายตัวดี จากการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ อาทิ ชิ้นส่วนกระปุกเกียร์ และเครื่องยนต์ สอดคล้องกับภาคการผลิตยานยนต์ที่ขยายตัวดี

ดุลการชำระเงินขาดดุล -5.3 พันล้านดอลลาร์ฯ  (vs. prev.+0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ)

ดุลการชำระเงินขาดดุล -5.3 พันล้านดอลลาร์ฯ (vs. prev.+0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ)  จากดุลเงินทุนเคลื่อนย้าย (ขาดดุลที่ -7.0 พันล้านดอลลาร์ฯ  จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล +0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ) ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นที่ +4.1 พันล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนที่เกินดุล +1.0 พันล้านดอลลาร์ฯ ตาม ดุลการค้าที่เกินดุลต่อเนื่อง ประกอบกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอน กลับมาเกินดุลหลังจากหมดฤดูกาลการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของธุรกิจ ต่างชาติ

ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลที่ -7.0 พันล้านดอลลาร์ฯ (จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล +0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ) เป็นการขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน โดยด้านสินทรัพย์เป็นการ ไหลออกสุทธิจาก

  • การนำเงินออกไปฝากยังต่างประเทศของสถาบันที่รับ ฝากเงิน (ODC) เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ และของกองทุนรวมที่ ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF) โดยเฉพาะใน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และมาเก๊า
  • การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Thai Direct Investment: TDI) ตามการให้สินเชื่อทางการค้าและสินเชื่อ ระหว่างธุรกิจในเครือ
  • การลงทุนในตราสารทุนของกองทุน FIF ในต่างประเทศ

สำหรับด้านหนี้สินเป็นการไหลออกสุทธิ จาก

  • การขายหลักทรัพย์สุทธิของนักลงทุนต่างชาติทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในภูมิภาค ส่วนหนึ่งจากแนวโน้มการแข็งค่า ของเงินดอลลาร์ฯ และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปี ของ สหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น
  • การชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของภาครัฐและภาคธุรกิจ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน