สรุปความเคลื่อนไหวหุ้นกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยี
หุ้นกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยี เมื่อวัดจากดัชนี MSCI AC World Information Technology ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือน ก.ค. (YTD) +8.28% ดัชนีขึ้นไปสร้างผลตอบแทนสูงสุด +12.86% เมื่อวันที่ 25 ก.ค. และหลังจากนั้นเพียงวันเดียวลดลงสู่ +8.28% หลังบริษัท Facebook ซึ่งมีน้ำหนักมากเป็นอันดับสามในการคำนวณดัชนีราคาหุ้นร่วงลงกว่า -20% จนทำให้มูลค่าตลาดของ Facebook ลดลงถึง 120 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในเวลาเพียงวันเดียว เหตุการณ์ที่สืบเนื่องจากผลกำไรสุทธิที่บริษัทประกาศออกมาต่ำกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ นอกจากนี้ผู้บริหารบริษัทยังออกมาแถลงการณ์ต่ออีกว่ารายได้ในไตรมาสสามและสี่ จะเติบโตได้ต่ำกว่า 10% ต่อปี อนึ่งกองทุนหลัก Fidelity Global Technology ไม่มีฐานะลงทุน (Exposure) ใน Facebook เนื่องจากมองว่า Valuation แพงไป โดยมีน้ำหนักการลงทุนในเท่ากับ 0% มาตั้งแต่กลางปี 2017
กล่าวโดยสรุปราคาหุ้นกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีซึ่งให้ผลตอบแทนเป็นบวกตั้งแต่ต้นปีนั้น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสัญชาติสหรัฐฯ FAANG (Facebook -2.2%, Apple +62.0%, Amazon +51%, Netflix +75.0%, Google +16.0%) ให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสัญชาติจีน BAT (Baidu +5.5%, Alibaba +8.0%, Tencent -12.0%)
กลยุทธ์ลงทุนและรายการซื้อขายของกองทุนหลัก (Fidelity Global Technology Fund)
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักสูงขึ้น +7.6% ในไตรมาส 2 แต่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World Information Technology ที่ +9.4% เนื่องจากว่ากองทุนหลีกเลี่ยงหุ้นขนาดใหญ่ (Mega Cap Stock) ที่ขึ้นมาด้วยโมเมนตัม อาทิ Facebook กลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งเน้นเฉพาะบริษัทคุณภาพซึ่งได้รับประโยชน์จากทิศทางของเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงมีความน่าสนใจมากกว่าเพราะ บริษัทเหล่านี้ถือครองสินทรัพย์ด้านนวัตกรรมแห่งอนาคต มีส่วนแบ่งตลาดสูง มีระดับมูลค่าที่ถูกกว่า
ตัวอย่างการซื้อหุ้นใหม่เข้าพอร์ต เช่น
- บริษัท NXP Semiconductor ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สัญชาติเนเธอร์แลนด์ การเข้าถือครอง
- บริษัท Universal Display Corporation ผู้ผลิตหน้าจอ OLED ชนิดใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่หน้าจอ LED ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และ
- บริษัท KLA-Tencor (สหรัฐฯ) ผู้พัฒนาระบบตรวจสอบกระบวนการผลิตของผู้ผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ในโรงงานเพื่อรองรับโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)
ปัจจัยบวกและลบต่อหุ้นในกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีในระยะถัดไป
(+) กระแสการเติบโตด้านเทคโนโลยีไม่ถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น เงินลงทุนใหม่ของบริษัทที่ใช้ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสูงขึ้นในทุกหมวดอุตสาหกรรม เนื่องจากบริษัทล้วนต้องการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจไปสู่รูปแบบดิจิทัล จึงมีการลงทุนเพิ่มในซอร์ฟแวร์ด้านระบบปฏิบัติการ และ Virtualization ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์เทียบกับเงินลงทุนในธุรกิจสูงมากเป็นอันดับต้นๆ เรายังพบอีกว่าธุรกิจในภาคสถาบันการเงินมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินธุรกิจมากที่สุด (ร้อยละ 28 ของเงินลงทุนในธุรกิจ) รองลงมาคือค้าปลีก (ร้อยละ 17 ของเงินลงทุนในธุรกิจ) และผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 10 ของเงินลงทุนในธุรกิจ) (ตามกราฟ 1)
(+) Digital Disruption ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรม โดยต่างหันมาใช้เทคโนโลยีแบบ Real-time ในการสื่อสาร รวมทั้ง Cloud, Big Data, Robotics, Machine Learning (AI) ที่พบชัดเจนคือการใช้ฟินเทคในภาคธนาคารและการเงิน การใช้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การใช้อี-คอมเมิร์ซในภาคค้าปลีก การใช้ยีนบำบัดในภาคเฮลธ์แคร์ การใช้เชลล์ออยล์ในภาคการสำรวจพลังงาน
(+) เทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปในอนาคต เชื่อว่าธุรกิจที่สามารถปรับตัวและพัฒนาตัวเองรองรับเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงจะมีอัตราการเติบโตสูง สร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้
(+) รายได้ ความสามารถในการทำกำไร ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทในกลุ่มนี้สูงกว่าหุ้นกลุ่มอื่นทั่วโลกเมื่อเทียบกับ MSCI AC World Index
(+) ราคาหุ้นสมเหตุสมผล โดยระดับ Valuation ของหุ้นในกลุ่มนี้ซื้อขายเพียง 12 Months FW PE 17.4 x เท่าใกล้เคียงกับช่วงต้นปี 2017 เนื่องจากกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เติบโตสูงระดับ 30% ต่อปี หุ้นจึงอยู่ระดับที่เหมาะสม และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวจากช่วงวิกฤติฟองสบู่ดอทคอมค่อนข้างมาก ประกอบกับบริษัทเหล่านี้มีงบการเงินที่แข็งแกร่งกว่าในอดีต มีผลประกอบการที่ดี พร้อมทั้งมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจในกลุ่มอื่นๆ ได้ จึงเป็นปัจจัยส่งผลให้หุ้นในกลุ่มนี้ให้ยังมีความสนใจในการลงทุนระยะยาว
Update Session with Radhika Surie – Investment Director for FF-Global Technology Fund
ถาม: บริษัทเทคโนโลยีส่วนใหญ่จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ อีกทั้งกองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในสหรัฐฯ กว่าร้อยละ 65 จะส่งผลต่อความผันผวนมากน้อยแค่ไหน
บริษัทในพอร์ตส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ดี อีกทั้งมีรายได้กระจายมาจากความต้องการด้านเทคโนโลยีทั่วโลก จึงไม่กระทบมากนักหากเกิดความผันผวนในตลาดทุนสหรัฐฯ โดยแหล่งที่มาของรายได้มาจาก
– ทวีปอเมริกาเหนือ (34.7%) เช่น สหรัฐฯ แคนาดา
– ตลาดเกิดใหม่ (36.8%) เช่น จีน รัสเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย
– ตลาดเอเชียพัฒนาแล้ว (9.8%) เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้
– ตลาดยุโรป (8.5%) เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส
– ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ (0.5%) และนอร์เวย์ (0.8%)
ถาม: ธีมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอะไรบ้าง ที่ Fidelity Global Technology มีสัดส่วนลงทุน ณ ปัจจุบัน
ตอบ: ปัจจุบัน ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลกจำนวน 59 บริษัท หากจำแนกตามธีมลงทุนพบมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Big Data 22% Cloud Computing 21% Digital Advertising 14% E-Commerce 12% Artificial Intelligence 10% Internet of Things (IoT) 7% Industry 4.0 ที่ 6% Autonomous Vehicle 5% และ Virtual Reality 3% กองทุนหลักจะปรับการลงทุนอย่างเหมาะสมเพื่อเน้นเฟ้นหาบริษัทที่จะเป็นผู้ชนะในตลาดหรือที่เรียกว่า “Winners of Tomorrow”
ถาม: ปัจจุบันกองทุนหลัก Overweight หุ้น Sub-Sectors กลุ่มไหน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ตอบ: กองทุนยังมีการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Software และ Internet Company เนื่องจากมองว่าการพัฒนาทางด้าน Software ใหม่ การพัฒนาทางด้าน Artificial Intelligence ที่มีออกมา ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง จากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถที่จะนำไปปรับใช้กับการดำเนินงานของบริษัทและช่วยให้สามารถลดต้นทุนของบริษัทลง กระแสของการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีส่งผลบวกต่อบริษัทผู้ผลิต Software ต่างๆ ให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
Overweight หุ้น Sub-Sectors ในกลุ่ม
- Semiconductor & Semi Equipment เช่น Nvidia, Itel, Xilinx (integrated circuits), Lam, Micron
- Internet Retail เช่น Trip, JD.com, Rakuten (e-commerce in Japan)
- Internet Software & Services เช่น – Google, Baidu, Criteo, Grubhub, Linkedin, Twitter
Underweight หุ้น Sub-Sectors ในกลุ่ม
- IT Services เช่น Visa, Mastercard, Accenture เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม มีอัตราการเติบโตช้า
- หุ้นเทคขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ กองทุนหลักชอบหุ้นขนาดกลาง
การที่กองทุนหลัก Overweight หุ้นข้างต้นเนื่องจากบริษัทกลุ่มนี้เติบโตสูงและมีรายได้ที่คาดการณ์ว่าจะได้รับแน่นอน (Recurring Revenue) ในสัดส่วนที่สูง และมีฐานลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลง ทำให้ราคากองทุนไม่เหวี่ยงขึ้นลง ทนต่อปัจจัยภายนอกได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวน
กองทุนหลัก (Master Fund)
ชื่อ: Fidelity Funds – Global Technology Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class Y-ACC-USD
นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลก ที่มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการหรือบริการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์อย่างสูงจากความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
วัดที่จดทะเบียน: 23 ก.พ. 2017 (Share class Y-ACC-USD)
ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก
สกุลเงิน: USD
เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI AC World Information Technology (N)
Morningstar Category: Large cap core growth
Bloomberg code: FFGTYAU LX
Fund size: 3,005 Million USD
Number of holdings: 59
*ที่มา Fidelity International ข้อมูลเดือน มิ.ย. 2018