ภาพรวมตลาดหุ้น สิงหาคม 2018
ดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนสิงหาคมอยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 1,722 จุด โดยมีความผันผวนในระหว่างเดือนจนทำให้ดัชนีหลุดแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,700 จุด สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของปัจจัยลบ อย่างประเด็นวิกฤติค่าเงินตุรกีหลังจากทางสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม เพื่อตอบโต้การที่รัฐบาลตุรกีได้ควบคุมตัวพลเมืองสหรัฐฯ ที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารในตุรกีเมื่อปี 2559 ประเด็นวิกฤติค่าเงินตุรกีส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นใน Emerging markets รวมถึงไทย อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือน ตลาดพลิกกลับมาได้อีกครั้งจากการฟื้นตัวผ่านแรงซื้อกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ เช่น หุ้นกลุ่มสื่อสารจากความเสี่ยงด้านการประมูลคลื่นที่คลี่คลายลง กลุ่มค้าปลีกในบางตัวที่มีผลประกอบการดีกว่าคาด และกลุ่มพลังงานที่ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น เห็นได้ชัดว่าตลาดให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานเฉพาะหุ้นของหุ้นขนาดใหญ่บางตัว
แม้ว่าจะมีปัจจัยต่างประเทศกดดัน แต่แรงขายของนักลงทุนต่างชาติยังคงทรงต่อจากเดือนก่อนที่ระดับ10,000 ล้านบาท ต่างจากประเทศอื่นๆในกลุ่ม TIPs ที่เห็นการไหลออกเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอ และค่าเงินอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วเรายังไม่เห็นปัจจัยสนับสนุนที่เป็นบวกอย่างชัดเจนในตลาดหุ้นไทย ทั้งผลประกอบการที่ออกมาไม่ได้โดดเด่นและความเสี่ยงจากต่างประเทศ เช่น วิกฤติค่าเงินในประเทศต่างๆ และสงครามการค้ายังคงเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นอยู่
ตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายนยังขาดปัจจัยบวกใหม่ อีกทั้งบรรยากาศการลงทุนของตลาดหุ้นในภูมิภาคยังถูกแรงกดดันทั้งประเด็นตัวเลขทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ค่าเงินสกุลท้องถิ่นเทียบกับสกุลหลัก และประเด็นของสงครามการค้าและความกังวลต่อวิกฤตทางเศรษฐกิจในบางประเทศอย่างอาร์เจนติน่าและตุรกี การพิถีพิถันเลือกลงทุนเป็นพิเศษในหุ้นรายตัวที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดีและมีมูลค่าที่เหมาะสมเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับการลงทุนในช่วงนี้
Fund Comment
Fund Comment: ภาพรวมตลาดหุ้น สิงหาคม 2018
ภาพรวมตลาดหุ้น สิงหาคม 2018
ดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนสิงหาคมอยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 1,722 จุด โดยมีความผันผวนในระหว่างเดือนจนทำให้ดัชนีหลุดแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,700 จุด สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของปัจจัยลบ อย่างประเด็นวิกฤติค่าเงินตุรกีหลังจากทางสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม เพื่อตอบโต้การที่รัฐบาลตุรกีได้ควบคุมตัวพลเมืองสหรัฐฯ ที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารในตุรกีเมื่อปี 2559 ประเด็นวิกฤติค่าเงินตุรกีส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นใน Emerging markets รวมถึงไทย อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือน ตลาดพลิกกลับมาได้อีกครั้งจากการฟื้นตัวผ่านแรงซื้อกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ เช่น หุ้นกลุ่มสื่อสารจากความเสี่ยงด้านการประมูลคลื่นที่คลี่คลายลง กลุ่มค้าปลีกในบางตัวที่มีผลประกอบการดีกว่าคาด และกลุ่มพลังงานที่ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น เห็นได้ชัดว่าตลาดให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานเฉพาะหุ้นของหุ้นขนาดใหญ่บางตัว
แม้ว่าจะมีปัจจัยต่างประเทศกดดัน แต่แรงขายของนักลงทุนต่างชาติยังคงทรงต่อจากเดือนก่อนที่ระดับ10,000 ล้านบาท ต่างจากประเทศอื่นๆในกลุ่ม TIPs ที่เห็นการไหลออกเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอ และค่าเงินอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วเรายังไม่เห็นปัจจัยสนับสนุนที่เป็นบวกอย่างชัดเจนในตลาดหุ้นไทย ทั้งผลประกอบการที่ออกมาไม่ได้โดดเด่นและความเสี่ยงจากต่างประเทศ เช่น วิกฤติค่าเงินในประเทศต่างๆ และสงครามการค้ายังคงเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นอยู่
ตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายนยังขาดปัจจัยบวกใหม่ อีกทั้งบรรยากาศการลงทุนของตลาดหุ้นในภูมิภาคยังถูกแรงกดดันทั้งประเด็นตัวเลขทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ค่าเงินสกุลท้องถิ่นเทียบกับสกุลหลัก และประเด็นของสงครามการค้าและความกังวลต่อวิกฤตทางเศรษฐกิจในบางประเทศอย่างอาร์เจนติน่าและตุรกี การพิถีพิถันเลือกลงทุนเป็นพิเศษในหุ้นรายตัวที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดีและมีมูลค่าที่เหมาะสมเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับการลงทุนในช่วงนี้