ในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงลบ 0.05% ถึงบวก 0.13% เป็นผลมาจาก
- ดัชนีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีการเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 1.46% ในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นจาก 1.38% ในเดือนก่อน ทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยปรับตัวลดลง
- อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2018 ที่เติบโต 4.6% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวถึง 4.8%
จากปัจจัยทั้งสองประการทำให้นักวิเคราะห์บางส่วนเริ่มให้น้ำหนักต่อการที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในปีนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต (Policy space) ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดตราสารหนี้ไทย
สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่
- ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.75-2.00% พร้อมมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง และยังคงยืนยันทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ตามคาดการณ์เดิม
- การให้สัมภาษณ์ของนาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ในงานประชุมที่ Jackson Hole ที่ยังยืนยันทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- ความกังวลต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่บางประเทศที่พึ่งพาการกู้ยืมจากต่างประเทศในระดับสูง ทำให้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา
- ความไม่คืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ทำให้มีความกังวลต่อปัญหาการกีดกันทางการค้าที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น
ตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไปจะเผชิญความผันผวนที่สูงขึ้นจากความไม่แน่นอนทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศอย่าง ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของไทย ประเด็นเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ความกังวลต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก
ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวงมีมุมมองว่า ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังจำกัดเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงปลายปีจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อน ขณะที่ความกังวลที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะไม่ส่งผลกระทบในวงกว้างเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในช่วง Taper Tantrum ปี 2013 แต่จะมีแรงกดดันต่อตลาดของประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจอ่อนแอมากกว่า ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ทำให้ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากเหตุการณ์ดังกล่าว
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2018 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงลบ 0.05% ถึงบวก 0.13% เป็นผลมาจาก
จากปัจจัยทั้งสองประการทำให้นักวิเคราะห์บางส่วนเริ่มให้น้ำหนักต่อการที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในปีนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต (Policy space) ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดตราสารหนี้ไทย
สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่
ตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไปจะเผชิญความผันผวนที่สูงขึ้นจากความไม่แน่นอนทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศอย่าง ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของไทย ประเด็นเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ความกังวลต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก
ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวงมีมุมมองว่า ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังจำกัดเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงปลายปีจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อน ขณะที่ความกังวลที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะไม่ส่งผลกระทบในวงกว้างเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในช่วง Taper Tantrum ปี 2013 แต่จะมีแรงกดดันต่อตลาดของประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจอ่อนแอมากกว่า ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ทำให้ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากเหตุการณ์ดังกล่าว