Update ส่งออกไทยขยายตัวที่ 6.68% ชะลอลงจากฐานสูงปีก่อน

Update ส่งออกไทยขยายตัวที่ 6.68% ชะลอลงจากฐานสูงปีก่อน

BF Economic Research

การส่งออกไทยเดือนส.ค.มีมูลค่า 22,794.4 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนที่ 20,423.9 ล้านดอลลาร์ฯ ) ขยายตัว 6.68% YoY จากเดือนก่อนที่ขยายตัว 8.27% YoY ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 23,382.6 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนที่ 20,940.1ล้านดอลลาร์ฯ ) ขยายตัว 22.8% จากเดือนก่อนที่ขยายตัว 10.5% YoY ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -588.1 ล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนที่ขาดดุล -516.2 ล้านดอลลาร์ฯ สะท้อนว่าการส่งออกไทยชะลอลงจากฐานที่เริ่มปรับสูงขึ้นจากเดือนส.ค. ในปีก่อน ขณะที่ยอดนำเข้าเร่งตัวขึ้น

สำหรับการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกปี 2018 (ม.ค.-ส.ค. 2018) มีมูลค่า 169,030.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 10.03% % AoA ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 166,678.8 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 15.89% AoA ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล YTD 2,351 ล้านดอลลาร์ฯ

ในรายองค์ประกอบ

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 4.1% YoY สินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี ได้แก่

  • ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 16.1% YoY (ขยายตัวในตลาดจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และมาเลเซีย)
  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 19.4% YoY (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐฯ)
  • เครื่องดื่ม ขยายตัวในทุกตลาดที่ 30.9% YoY(ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เวียดนาม เมียนมา ฟิลิปปินส์ และจีน)
  • ข้าว ขยายตัว 9.1% YoY (ขยายตัวในตลาด ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ จีน และอังโกลา)

สินค้าเกษตรสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัว -19.4% YoY น้ำตาลทราย หดตัว-19.1% YoY

ภาพรวม 8 เดือนแรกของปีกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 3.9% AoA

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวที่ 5.8% YoY โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่

  • สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัว 21.8% YoY (ขยายตัวในตลาดจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น กัมพูชา และอินโดนีเซีย)
  • รถยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 19.0% YoY (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย)
  • เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ขยายตัว 50.6%YoY (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม และมาเลเซีย)
  • เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัว 17.8% YoY (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินโดนีเซีย จีน อินเดีย และเมียนมา)
  • เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 32.2% YoY (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์)

สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ทองคำ หดตัว -66.6% YoY และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ ไดโอด และโซลาร์เซลล์ หดตัว -23.1%YoY

ภาพรวม 8 เดือนแรกกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 10.2% YoY

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปตลาดสำคัญๆ ยังขยายตัวดี โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดศักยภาพสูงขยายตัว 19.2%YoY ซึ่งการส่งออกไปตลาดอาเซียน-5 และตลาด CLMV ขยายตัวสูงสุดในรอบ 85 และ 78 เดือนตามลำดับ นอกจากนี้ การส่งออกไปอินเดียและเอเชียใต้ยังขยายตัวสูงในระดับ 2 หลักอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปจีนขยายตัวชะลอลงที่ 2.3% YoY ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลักขยายตัว 3.2% YoY ซึ่งการส่งออกไปญี่ปุ่นขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ด้านสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ตลาดสหภาพยุโรป (15) หดตัวครั้งแรกในรอบ 16 เดือน ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังมองว่าส่งออกไทยทั้งปีน่าจะเป็นไปตามเป้าส่งออกทั้งปีที่ 8.0% ซึ่งหากจะให้เป็นไปตามเป้า อีก 4 เดือนที่เหลือส่งออกไทยจะต้องมีมูลค่าไม่ต่าว่า 21,700 ล้านบาทต่อเดือน