กองทุน RMF ตราสารหนี้และทองคำ

กองทุน RMF ตราสารหนี้และทองคำ

กองทุน RMF ตราสารหนี้และทองคำ

โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน

BF Knowledge Center

สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณอายุ โดยเน้นที่ความมั่นคงปลอดภัยของเงินลงทุน ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี ไม่คาดหวังผลตอบแทนสูงมากนัก และไม่ต้องการรับความผันผวนสูง กองทุนบัวหลวงขอแนะนำกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพประเภทตราสารหนี้ จำนวน 2 กองทุน มาให้เลือกลงทุนกัน

  1. กองทุนบัวหลวงตราสารหนี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF) ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ระยะปานกลาง-ระยะยาว ทั้งในภาครัฐ บริษัทเอกชน และสถาบันการเงิน ซึ่งมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ในระดับ Investment grade หรือ BBB- ขึ้นไป มูลค่าหน่วยลงทุนจะมีความผันผวนต่ำว่ากองทุนหุ้น  โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 2%-2.5% เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย หรือต้องการจัดสรรเงินลงทุน (Asset allocation) โดยนำมาผสมผสานกับกองทุน RMF ประเภทอื่นๆ ที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ในสัดส่วนที่เหมาะกับเป้าหมายของการลงทุน รวมถึงความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ของแต่ละบุคคล
  2. กองทุนมันนี่มาร์เก็ต เพื่อการเลี้ยงชีพ (MMRMF) ลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ บริษัทเอกชน และสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ระยะยาวที่ลงทุนมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ในสามระดับแรก คือ  AAA, AA และ A ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้นอยู่ในสองอันดับแรกขึ้นไปคือ AAA และ AA โดยอายุตราสารที่ลงทุนไม่เกิน 397 วัน(ประมาณ 1 ปี) และอายุเฉลี่ยของกองทุนไม่เกิน 92 วัน (3 เดือน) มูลค่าหน่วยลงทุนจึงมีความผันผวนต่ำและผลตอบแทนไม่มากนัก  เฉลี่ยประมาณ 1.5% – 2%  ต่อปี เหมาะสำหรับนักลงทุนที่กังวลเรื่องความผันผวน รับความเสี่ยงได้ต่ำ โดยนักลงทุนบางท่านอาจใช้เป็นที่พักเงินรอการปรับพอร์ตหรือซื้อกองทุน RMF กองอื่นๆ 

นอกจากกองทุน RMF ตราสารหนี้แล้ว   กองทุนบัวหลวงยังมีกองทุน RMF อื่นๆ ที่น่าสนใจ และสามารถใช้ในการจัดสรรเงินลงทุน โดยมีกองทุน RMF ทางเลือก  1  กองทุน คือ กองทุนบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GOLDRMF) 

คนทั่วไปเชื่อกันว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย มีค่าในตัวเอง และมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นความจริงในอดีตที่ทองคำยังเป็นของหายาก โดยจะมีค่ามากในยามสงคราม สำหรับปัจจุบันนอกจากจะใช้ทำเครื่องประดับแล้ว ทองคำยังกลายเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ลงทุนเพื่อเก็งกำไรได้เช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ (Commodity) เช่น น้ำมัน สินค้าเกษตร แร่โลหะ จึงทำให้ราคาทองคำผันผวนสูง บางช่วงให้ผลตอบแทนมากกว่า 10% ติดต่อกันหลายปี บางปีก็ให้ผลตอบแทนติดลบมากกว่า 10% ดังนั้น ในการบริหารพอร์ตลงทุนจึงขอแนะนำให้ถือทองคำบางส่วน เช่น 5% -10% เพราะราคาทองคำมีทิศทางขึ้นลงที่ไม่สัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่น โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น

ทองคำ จึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับใช้ในการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดความผันผวนของมูลค่าพอร์ตลงทุน กองทุน BGOLD-RMF จึงเป็นสินทรัพย์ทางเลือก เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุนเพื่อการเกษียณ โดยกองทุนจะลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust  ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่ลงทุนในทองคำแท่ง