Fund Comment ธันวาคม 2018
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2018 ที่ผ่านมาได้มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% เป็น 1.75% เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับอนาคต
แต่ในขณะเดียวกัน กนง. เองก็ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2018 มาอยู่ที่ 4.2% จากเดิม 4.4% และปี 2019 มาอยู่ที่ 4.0% จากเดิม 4.2% เนื่องมาจากการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลงตามความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ เป็นผลจากที่แม้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.25-2.50% โดยระบุถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน และเงินเฟ้อรายปียังคงอยู่ใกล้ระดับ 2% ตามเป้าหมายของคณะกรรมการ FOMC แต่เฟดเองก็ได้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีนี้และปีหน้าลงเช่นกัน ทำให้ตลาดปรับลดจำนวนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 เหลือเพียง 2 ครั้ง จากเดิมที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้น 3 ครั้ง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน พ.ย.2018 อยู่ที่ 0.94% YoY ชะลอลงจาก 1.23% YoY ในเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.69% YoY จาก 1.04% YoY ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงเดือนทื่ 3 และถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2018 สำหรับเงินเฟ้อปี 2018 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.12%
ส่วนการส่งออกของไทยในเดือน พ.ย. 2018 กลับมาหดตัวที่ 0.95% หรือคิดเป็นมูลค่า 21,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงและผลกระทบทางอ้อมจากข้อพิพาททางการค้าที่ไทยอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม การส่งออกในภูมิภาค โดยเฉพาะ CLMV มีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าการส่งออกในปี 2018 จะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 8% จากการส่งออกไป สหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวตลาดอาเซียนมีแนวโน้มการขยายตัวสูงและเป็นตลาดศักยภาพที่มีบทบาทสูงต่อภาพรวมการส่งออกไทยในระยะหลัง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่าสหรัฐและจีน ปัญหา Brexit ที่ยังคงมีความขัดแย้งภายในอยู่ รวมทั้งทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก ในส่วนของประเทศไทย เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังจำกัดและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการปรับลดประมาณการณ์ลง ทำให้คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในช่วงครึ่งแรกของปี 2019
Fund Comment
Fund Comment มุมมองตลาดตราสารหนี้ ธันวาคม 2018
Fund Comment ธันวาคม 2018
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2018 ที่ผ่านมาได้มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% เป็น 1.75% เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับอนาคต
แต่ในขณะเดียวกัน กนง. เองก็ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2018 มาอยู่ที่ 4.2% จากเดิม 4.4% และปี 2019 มาอยู่ที่ 4.0% จากเดิม 4.2% เนื่องมาจากการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลงตามความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ เป็นผลจากที่แม้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.25-2.50% โดยระบุถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน และเงินเฟ้อรายปียังคงอยู่ใกล้ระดับ 2% ตามเป้าหมายของคณะกรรมการ FOMC แต่เฟดเองก็ได้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีนี้และปีหน้าลงเช่นกัน ทำให้ตลาดปรับลดจำนวนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 เหลือเพียง 2 ครั้ง จากเดิมที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้น 3 ครั้ง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน พ.ย.2018 อยู่ที่ 0.94% YoY ชะลอลงจาก 1.23% YoY ในเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.69% YoY จาก 1.04% YoY ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงเดือนทื่ 3 และถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2018 สำหรับเงินเฟ้อปี 2018 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.12%
ส่วนการส่งออกของไทยในเดือน พ.ย. 2018 กลับมาหดตัวที่ 0.95% หรือคิดเป็นมูลค่า 21,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงและผลกระทบทางอ้อมจากข้อพิพาททางการค้าที่ไทยอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม การส่งออกในภูมิภาค โดยเฉพาะ CLMV มีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าการส่งออกในปี 2018 จะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 8% จากการส่งออกไป สหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวตลาดอาเซียนมีแนวโน้มการขยายตัวสูงและเป็นตลาดศักยภาพที่มีบทบาทสูงต่อภาพรวมการส่งออกไทยในระยะหลัง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่าสหรัฐและจีน ปัญหา Brexit ที่ยังคงมีความขัดแย้งภายในอยู่ รวมทั้งทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก ในส่วนของประเทศไทย เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังจำกัดและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการปรับลดประมาณการณ์ลง ทำให้คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในช่วงครึ่งแรกของปี 2019