BF Economic Research
ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน ก.พ. 2019
- ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ Soft ลง แต่ได้ข่าวดีที่ FOMC ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน (จนกว่าจะเห็นข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้น) และจะเผยแผนเกี่ยวกับการยุติการลดขนาดงบดุลในช่วง H2/2019
- เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ดี สะท้อนจากตัวเลขการระดมทุนรวม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และการส่งออก โดยตลาดคาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะประกาศนโยบายผ่อนคลาย เศรษฐกิจเพิ่มเติมออกมา
- ตลาดรับข่าวดีสองข่าว คือ การเลื่อนการเจรจาระหว่างจีนและสหรัฐฯ ออกไปก่อน รวมถึงความเป็นไปได้ที่ นายกฯ อังกฤษ จะเลื่อน Brexit ไปจากเดิม ที่กำหนดไว้ที่ 29 มี.ค.
- GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +3.7% YoY (prev. +3.3% YoY) หรือเมื่อเทียบรายไตรมาส ขยายตัว +0.8% QoQ sa พลิกกลับมาบวกจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ -0.3% QoQ sa ทำให้ GDP ทั้งปี 2018 ขยายตัวที่ +4.1% จากปีก่อนที่ +3.9% และสูงเหนือค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ +3.1% หนุนโดยการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน
ปธน.ตัดสินใจยืดเส้นตายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
- ประธานาธิบดี Trump กล่าวว่า การเจรจาการค้ากับจีนมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก และตัดสินใจยืดเส้นตายการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนออกไป เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีเวลาเจรจาเพิ่มขึ้น
- ก่อนหน้านี้ Trump ได้กำหนดเส้นตายในการเจรจาไว้ในวันที่ 1 มี.ค. ซึ่งหากการเจรจาไม่ได้ข้อสรุปในวันดังกล่าว สหรัฐฯ จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ามูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์จากจีน เป็น 25% จาก 10% ที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน
- รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า ประธานาธิบดี Trump และ ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีน มีกำหนดพบกันเพื่อสรุปข้อตกลงทางการค้าในช่วงปลายเดือน มี.ค. นี้
ทางการปากีสถาน ระบุว่าได้โจมตีเครื่องบินรบของกองทัพอากาศอินเดียตก 2 ลำ หลังอินเดียส่งเครื่องบินรบเข้าโจมตีกลุ่มติดอาวุธซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในปากีสถาน
โฆษกกองทัพบกปากีสถาน ระบุว่า เครื่องบินรบหนึ่งในสองลำของอินเดียตกลงภายในเขตแดนของปากีสถาน และได้จับกุมตัวนักบินไว้แล้ว ก่อนหน้านี้อินเดียยังไม่ได้ยืนยันข้อมูลดังกล่าวแต่ล่าสุดออกมายอมรับว่า เครื่องบินรบของตนถูกยิงตกหนึ่งลำ และนักบินหายตัวไปหนึ่งคน
ปากีสถานปิดน่านฟ้า และอินเดียปิดสนามบิน
ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถานเหนือแคว้นแคชเมียร์เกิดขึ้นมายาวนานแล้วตั้งแต่ปี 1947
ตลาดหุ้น Sensex +1.39 (0.0039%) สู่ 35,906.82 (as of 28 ก.พ.2019)โดยตลาดหุ้นเลือกรับข่าวดีเลือกตั้งมากกว่า
ยอดระดมทุนรวมสุทธิเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ทยอยส่งผล
- ยอดระดมทุนรวมสุทธิ (Total Social Financing) เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 4.64 ล้านล้านหยวน จาก 1.59 ล้านล้านหยวนในเดือนก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทยอยส่งผล
- ยอดปล่อยกู้เงินหยวน (New Yuan Loans) เพิ่มขึ้นเป็น 3.23 ล้านล้านหยวน จาก 1.08 ล้านล้านหยวนในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก อุปสงค์ของเงินที่สูงในช่วงเทศกาลตรุษจีน
- ยอดออกหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bonds) เพิ่มขึ้นเป็น 4.99 แสนล้านหยวน จาก 3.76 แสนล้านหยวนในเดือนก่อน และยอดออกตั๋วเงิน (Bill financing) ซึ่งนิยมออกโดยธุรกิจเอกชนขนาดเล็กได้เพิ่มขึ้นเป็น 3.79 แสนล้านหยวน จาก 1.02 แสนล้านหยวนในเดือนก่อน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนมาตรการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคเอกชน เช่น การค้ำประกันความเสี่ยงธุรกิจเอกชนโดย PBoC
- ยอดออกพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น (Local Government bond) ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.09 แสนล้านหยวน จาก 3.62 หมื่นล้านหยวนในเดือนก่อน จากความต้องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
- ยอดปล่อยสินเชื่อนอกภาคธนาคาร (Shadow banking) ยังคงเป็นปัจจัยฉุดยอดระดมทุน แต่ได้ติดลบลดลงหลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายความเข้มงวดในนโยบายลดความเสี่ยงภาคการเงินลงเพื่อหนุนเศรษฐกิจ
- ส่งผลให้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดระดมทุนรวมสุทธิคงค้าง (Outstanding Balance) เร่งตัวขึ้นเป็น +10.3% YoY จาก 9.8% YoY ในเดือนก่อน ซึ่งนับเป็นการเร่งตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน
5/03/2019
การประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ซึ่งจะมีการกำหนดเป้าหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจของปี 2019 ซึ่งเราคาดรัฐบาลจะปรับลดเป้า GDP ปีนี้ลงเป็น 6.0-6.5% จาก “ประมาณ 6.5%” ในปีก่อน และคาดจะส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เช่น มาตรการลดภาษี
สถานการณ์ล่าสุดของกระบวนการออกจากอียูของสหราชอาณาจักร (Brexit)
- นางเทเรซา เมย์ เลื่อนการลงมติ MP Vote ในข้อตกลง Brexit ไปเป็นวันที่ 12 มี.ค. เพื่อใช้เวลาระหว่างนี้เจรจากับอียูต่อไป
- ถ้าหากรัฐสภาลงมติไม่เห็นชอบอีกครั้ง สภาฯ จะต้องลงมติว่าจะยืดกระบวนการมาตรา 50 แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป (Treaty on European Union หรือ TEU) หรือไม่ และจะออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลงใดๆ (No-deal Brexit) หรือไม่ โดยเรามองว่า สภาฯ จะเห็นชอบกับยืดกระบวนการตามมาตรา 50 ออก เพื่อเจรจากับอียูเพิ่มเติม เนื่องจากการออกจากอียูโดยไร้ข้อตกลงใดๆ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร และอียู
- ประเด็นสำคัญที่ทำให้การเจรจายืดเยื้อ คือ ข้อตกลงเกี่ยวกับชายแดนไอร์แลนด์ที่เป็นของอียู และไอร์แลนด์เหนือที่เป็นของสหราชอาณาจักร โดยหากตั้งด่านกั้นระหว่างกัน อาจทำให้เกิดการต่อสู้กันเหมือนในอดีต อียู และสหราชอาณาจักรจึงมีความเห็นตรงกันว่าไม่ควรมีด่านกั้นระหว่างไอร์แลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ อียูจึงเสนอให้ไอร์แลนด์เหนืออยู่ภายใต้สหภาพศุลกากร (Customs Union) ของอียู แต่ส่วนที่เหลือของสหราชอาณาจักรอยู่นอก Customs Union ซึ่งสหราชอาณาจักรไม่เห็นด้วย จึงยังไม่มีข้อสรุปสาหรับประเด็นนี้
- ความเป็นไปได้ที่มากขึ้นว่าสภาฯ จะยืดกระบวนการมาตรา 50 ออกไป ส่งผลให้ตลาดคลายกังวลในระยะสั้น ค่าเงินปอนด์จึงแข็งค่าขึ้น
เศรษฐกิจไทยในเดือน ธ.ค. ยังขยายตัวได้ แต่โมเมนตัมของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลง ขณะที่การค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบจาก Trade Tension ราคาน้ำมัน และการเคลื่อนไหวของการส่งออก-นำเข้าของทองคำ ส่งผลให้การนำเข้าหดตัวแรงกว่าการส่งออกทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนธ.ค. ปิดบวกได้มากกว่าเดือน พ.ย. ส่วนรายได้ภาคเกษตรขยายตัวจากราคามันสำปะหลังฟื้นตัว
GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +3.7% YoY (prev. +3.3% YoY) หรือเมื่อเทียบรายไตรมาสขยายตัว +0.8% QoQ sa พลิกกลับมาบวกจากไตรมาสก่อนหน้าที่ -0.3% QoQ sa ทำให้ GDP ทั้งปี 2018 ขยายตัวที่ +4.1% จากปีก่อนที่ +3.9% และสูงเหนือค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ +3.1%