ท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของตลาด ได้ผลักดันให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ปรับตัวฟื้นขึ้นได้จากสิ้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดยังได้รับความหวังเชิงบวกมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อการคงอัตราดอกเบี้ยของ Fed และท่าทีที่อาจจะหยุดการลดสภาพคล่อง (Quantitative Tightening) ลงในปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาพคล่องโดยรวมของระบบการเงิน
ขณะที่เรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ก็มีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะเลื่อนการปรับขึ้นอัตราภาษีกับจีนที่จะมีผลในวันที่ 1 มีนาคมออกไป ส่วนในด้านตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่ออกมานั้น ในหลายๆ ภูมิภาค เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ชะลอตัว
เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซนและญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเข้าสู่ภาวะหดตัวครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามยังถือว่ามีโอกาสไม่สูง เนื่องจากธนาคารกลางหลักๆ ต่างก็พร้อมที่ผ่อนปรนการดำเนินนโยบายทางการเงินมากกว่าเดิม
ปัจจัยที่ต้องจับตาต่อในเดือนมีนาคมนี้ อย่างแรกคือ พัฒนาการเพิ่มเติมของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทั้งนี้เชื่อว่า สถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย น่าจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเรื่องที่สองคือ การประชุม FOMC ในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ ตลาดคาดว่าน่าจะเห็นแผนการหยุดการลดสภาพคล่องในการประชุมครั้งนี้
ส่วนปัจจัยภายในประเทศนั้น ผลประกอบการไตรมาส 4 ที่ประกาศออกมาโดยรวมค่อนข้างอ่อนแอ ส่วนหนึ่งจากการมีรายการพิเศษ เช่น ผลขาดทุนสต็อกน้ำมันของหุ้นในกลุ่มพลังงาน-ปิโตเคมี การตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพนักงานตามกฎหมายใหม่ และการบันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อระงับข้อพิพาทกับ CAT ของ DTAC เป็นต้น
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ออกมานั้น ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.7% เทียบกับ 3.2% ในไตรมาสก่อนหน้า ขับเคลื่อนโดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยคาดว่าการบริโภคในประเทศและการลงทุนจะเป็นตัวขับเคลื่อน และอีกปัจจัยที่สำคัญก็คือ การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนและเสถียรภาพในการดำเนินนโยบายของประเทศต่อไป
แนวโน้มการลงทุนในปีนี้ยังคงท้าทาย โดยเราเชื่อว่า โอกาสการลงทุนในปีนี้ยังคงมีอยู่ โดยต้องอาศัยความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ
เรายังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนในช่วงสั้น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้
Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของตลาด ได้ผลักดันให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ปรับตัวฟื้นขึ้นได้จากสิ้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดยังได้รับความหวังเชิงบวกมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อการคงอัตราดอกเบี้ยของ Fed และท่าทีที่อาจจะหยุดการลดสภาพคล่อง (Quantitative Tightening) ลงในปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาพคล่องโดยรวมของระบบการเงิน
ขณะที่เรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ก็มีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะเลื่อนการปรับขึ้นอัตราภาษีกับจีนที่จะมีผลในวันที่ 1 มีนาคมออกไป ส่วนในด้านตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่ออกมานั้น ในหลายๆ ภูมิภาค เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ชะลอตัว
เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซนและญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเข้าสู่ภาวะหดตัวครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามยังถือว่ามีโอกาสไม่สูง เนื่องจากธนาคารกลางหลักๆ ต่างก็พร้อมที่ผ่อนปรนการดำเนินนโยบายทางการเงินมากกว่าเดิม
ปัจจัยที่ต้องจับตาต่อในเดือนมีนาคมนี้ อย่างแรกคือ พัฒนาการเพิ่มเติมของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทั้งนี้เชื่อว่า สถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย น่าจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเรื่องที่สองคือ การประชุม FOMC ในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ ตลาดคาดว่าน่าจะเห็นแผนการหยุดการลดสภาพคล่องในการประชุมครั้งนี้
ส่วนปัจจัยภายในประเทศนั้น ผลประกอบการไตรมาส 4 ที่ประกาศออกมาโดยรวมค่อนข้างอ่อนแอ ส่วนหนึ่งจากการมีรายการพิเศษ เช่น ผลขาดทุนสต็อกน้ำมันของหุ้นในกลุ่มพลังงาน-ปิโตเคมี การตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพนักงานตามกฎหมายใหม่ และการบันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อระงับข้อพิพาทกับ CAT ของ DTAC เป็นต้น
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ออกมานั้น ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.7% เทียบกับ 3.2% ในไตรมาสก่อนหน้า ขับเคลื่อนโดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยคาดว่าการบริโภคในประเทศและการลงทุนจะเป็นตัวขับเคลื่อน และอีกปัจจัยที่สำคัญก็คือ การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนและเสถียรภาพในการดำเนินนโยบายของประเทศต่อไป
แนวโน้มการลงทุนในปีนี้ยังคงท้าทาย โดยเราเชื่อว่า โอกาสการลงทุนในปีนี้ยังคงมีอยู่ โดยต้องอาศัยความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ
เรายังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนในช่วงสั้น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้