การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินในช่วงต้นปีนี้ ขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลักๆ ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว อาทิ ความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ส่งสัญญาณ dovish มากขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของ Brexit รวมทั้ง สถานการณ์การปิดหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่ยาวนานถึง 35 วัน ส่งผลให้ในช่วงต้นปี ตลาดการเงินส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk-off)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดการเงินกลับมีการซื้อขายด้วยแรงหนุนที่ให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (risk-on) มากขึ้น เนื่องจากได้คลายความกังวลเกี่ยวกับการตกลงทางการค้าระหว่างทางสหรัฐฯ-จีน ตลาดเริ่มมีความหวังถึงการเจรจาของทั้งสองฝ่ายในแง่บวกมากขึ้น อีกทั้งตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐฯ หลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล (ชัตดาวน์) รอบสองได้
ขณะที่ ปัจจัยภายในประเทศ มีประเด็นด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และความเสี่ยงทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กนง. มีมติด้วยเสียง 4 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ซึ่งจากการที่มีกรรมการ 2 เสียง เห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 2.00% ทำให้ตลาดตีความในเบื้องต้นว่ามีโอกาสเร็วขึ้นที่ กนง. จะมีความเห็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่งผลให้เกิดแรงขายพันธบัตรรัฐบาลไทยออกมาในช่วงสั้นๆ แต่เมื่อมีการเปิดเผยแถลงการณ์ของ ธปท. พบว่ามีการระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับเสี่ยงด้านต่ำเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดแรงซื้อกลับพันธบัตรรัฐบาลไทยเข้ามา ส่วนประเด็นความเสี่ยงด้านการเมืองนั้นได้ส่งผลให้มีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงยาวได้ปรับเพิ่มขึ้นพอสมควร ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75%
แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในอนาคต คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจะยังเคลื่อนไหวอย่างผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามา โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน การเลือกตั้งทั่วไปของไทย ปัญหา Brexit ที่ยังคงมีความไม่แน่นอน และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก ด้านการดำเนินนโยบายการเงินของไทย กองทุนบัวหลวงยังคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศทั้งเรื่องปัญหาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินในช่วงต้นปีนี้ ขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลักๆ ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว อาทิ ความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ส่งสัญญาณ dovish มากขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของ Brexit รวมทั้ง สถานการณ์การปิดหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่ยาวนานถึง 35 วัน ส่งผลให้ในช่วงต้นปี ตลาดการเงินส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk-off)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดการเงินกลับมีการซื้อขายด้วยแรงหนุนที่ให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (risk-on) มากขึ้น เนื่องจากได้คลายความกังวลเกี่ยวกับการตกลงทางการค้าระหว่างทางสหรัฐฯ-จีน ตลาดเริ่มมีความหวังถึงการเจรจาของทั้งสองฝ่ายในแง่บวกมากขึ้น อีกทั้งตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐฯ หลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล (ชัตดาวน์) รอบสองได้
ขณะที่ ปัจจัยภายในประเทศ มีประเด็นด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และความเสี่ยงทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กนง. มีมติด้วยเสียง 4 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ซึ่งจากการที่มีกรรมการ 2 เสียง เห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 2.00% ทำให้ตลาดตีความในเบื้องต้นว่ามีโอกาสเร็วขึ้นที่ กนง. จะมีความเห็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่งผลให้เกิดแรงขายพันธบัตรรัฐบาลไทยออกมาในช่วงสั้นๆ แต่เมื่อมีการเปิดเผยแถลงการณ์ของ ธปท. พบว่ามีการระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับเสี่ยงด้านต่ำเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดแรงซื้อกลับพันธบัตรรัฐบาลไทยเข้ามา ส่วนประเด็นความเสี่ยงด้านการเมืองนั้นได้ส่งผลให้มีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงยาวได้ปรับเพิ่มขึ้นพอสมควร ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75%
แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในอนาคต คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจะยังเคลื่อนไหวอย่างผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามา โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน การเลือกตั้งทั่วไปของไทย ปัญหา Brexit ที่ยังคงมีความไม่แน่นอน และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก ด้านการดำเนินนโยบายการเงินของไทย กองทุนบัวหลวงยังคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศทั้งเรื่องปัญหาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว