BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2562

BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2562

BF Economic Research

คลิกเข้าชมวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/_4D2iVsacQk

 

ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน มี.ค. 2019

  • ท่าทีของธนาคารกลางยุโรปผ่อนคลายลง โดยได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ และออกโครงการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ (TLTRO3) เพื่อหนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คงดอกเบี้ยนโยบายการเงินเดิมที่ 2.25-2.5% แต่มีท่าที Dovish มากกว่าการประชุมครั้งก่อน จาก Dot Plot ล่าสุด คณะกรรมการ Fed ส่วนใหญ่คาดว่าจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้วในปีนี้ และจะปรับอัตราการลดขนาดงบดุลให้ช้าลง เริ่มเดือน พ.ค. พร้อมยุติการปรับลดขนาดงบดุลสิ้นเดือน ก.ย.

  • ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ เกิด Inverted yield curve เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 22 มี.ค. ผ่านมา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 3 เดือน ดีดตัวเหนือระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี เป็นการส่งสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในปีหน้า ทั้งนี้นักลงทุนได้เข้าไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพื่อล็อคผลตอบแทนในระยะยาวทันที เมื่อทราบผลประชุม Fed และ Fed ส่งสัญญาณไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้แล้วในวันพุธที่ 20 มี.ค. ผ่านมา ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนความเห็นที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้เกิดสัญญาณ Inverted yield curve ขึ้น อีกมุมหนึ่งคือ นักลงทุนมองว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะต้องปรับตัวลง จึงเล็งไปที่พันธบัตรระยะยาวเพื่อล็อคผลตอบแทน

  • การประกาศวันเลือกตั้งทั่วไปของอินเดีย (เริ่ม 11 ม.ย. – 19 พ.ค.) เป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นจากความคาดหวังว่า โมดีจะชนะเป็นสมัยที่สอง

  •  ด้านรัฐบาลจีนปรับลดเป้า GDP ปีนี้ลงเป็น “6.0-6.5%” ปรับเพิ่มเป้าขาดดุลการคลัง และประกาศลดภาษี VAT เพื่อหนุนเศรษฐกิจ

  • เศรษฐกิจในอาเซียนน่าจะขยายตัวได้ดีจากการก่อสร้างและ FDI แต่ก็ได้รับผลกระทบจาก Trade tension ด้วยภาพเงินเฟ้อที่ชะลอต่ำน่าจะเป็นผลให้ธนาคารกลางในอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี เนื่องจากมองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก และปัจจัยในประเทศที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

อัพเดทตัวเลข GDP ของประเทศสำคัญๆ

อัพเดทการปรับประมาณการเศรษฐกิจล่าสุด เดือน มี.ค. 2019 ของกองทุนบัวหลวง