ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือน เม.ย. เคลื่อนไหวในทิศทางเชิงบวก ขับเคลื่อนโดยตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณฟื้นตัว ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น จีน และประเทศในกลุ่มเกิดใหม่ กอปรกับความคืบหน้าที่ดีขึ้นของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น สะท้อนผ่านส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีกับ 3 เดือน ที่พ้นจากภาวะ “Inverted” หนุนให้กระแสเงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ก็ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแผนการยืดระยะเวลาการลดกำลังการผลิตของ OPEC และรัสเซีย และการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเอลาของสหรัฐ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ในเชิงบวก
ด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย (Dovish) โดยธนาคารกลางสหรัฐ (FED) นั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ และจะยุติแผนการลดงบดุลตั้งแต่เดือน ก.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน และเตรียมเปิดเผยรายละเอียดโครงการวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับธนาคารพาณิชย์ (LTRO3) ในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไปถึงอย่างน้อยเดือนมี.ค. ปีหน้า ทำให้ความกังวลเรื่องสภาพคล่องตึงตัวนั้นลดลง
ด้านตลาดหุ้นไทย มีการปรับตัวเชิงบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันโลก และการเก็งกำไรในหุ้นรายตัว ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาลการจ่ายเงินปันผลและการประกาศผลประกอบการ โดย SET Index ปรับตัวขึ้น 2.1% ในเดือน เม.ย. นำโดยแรงซื้อจากสถาบันในประเทศ 11,822 ลบ. และเงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้า 3,377 ลบ. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกระแสเงินลงทุนต่างชาติที่เข้าตลาดเกิดใหม่ทั่วอาเซียน
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามต่อจากนี้ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ทั้งการส่งออกที่อ่อนแอมาจากสงครามการค้า การท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และภาคการบริโภคที่ชะลอตัวลง ทำให้มีโอกาสที่ GDP จะโตต่ำกว่าเป้า ทำให้ล่าสุดรัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และมาตรการภาษีส่งเสริมการใช้จ่ายต่างๆ
ทั้งนี้ แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล แต่เชื่อว่าถ้าหากสามารถจัดตั้งได้แล้ว การลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนที่รอทยอยเข้ามาต่อเนื่องนับจากนี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะกลางถึงยาวที่ดีได้ เรายังคงกลยุทธ์พิถีพิถัน ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนในช่วงสั้น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้
Fund Comment Uncategorized
Fund Comment เมษายน 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือน เม.ย. เคลื่อนไหวในทิศทางเชิงบวก ขับเคลื่อนโดยตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณฟื้นตัว ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น จีน และประเทศในกลุ่มเกิดใหม่ กอปรกับความคืบหน้าที่ดีขึ้นของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น สะท้อนผ่านส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีกับ 3 เดือน ที่พ้นจากภาวะ “Inverted” หนุนให้กระแสเงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ก็ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแผนการยืดระยะเวลาการลดกำลังการผลิตของ OPEC และรัสเซีย และการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเอลาของสหรัฐ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ในเชิงบวก
ด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย (Dovish) โดยธนาคารกลางสหรัฐ (FED) นั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ และจะยุติแผนการลดงบดุลตั้งแต่เดือน ก.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน และเตรียมเปิดเผยรายละเอียดโครงการวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับธนาคารพาณิชย์ (LTRO3) ในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไปถึงอย่างน้อยเดือนมี.ค. ปีหน้า ทำให้ความกังวลเรื่องสภาพคล่องตึงตัวนั้นลดลง
ด้านตลาดหุ้นไทย มีการปรับตัวเชิงบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันโลก และการเก็งกำไรในหุ้นรายตัว ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาลการจ่ายเงินปันผลและการประกาศผลประกอบการ โดย SET Index ปรับตัวขึ้น 2.1% ในเดือน เม.ย. นำโดยแรงซื้อจากสถาบันในประเทศ 11,822 ลบ. และเงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้า 3,377 ลบ. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกระแสเงินลงทุนต่างชาติที่เข้าตลาดเกิดใหม่ทั่วอาเซียน
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามต่อจากนี้ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ทั้งการส่งออกที่อ่อนแอมาจากสงครามการค้า การท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และภาคการบริโภคที่ชะลอตัวลง ทำให้มีโอกาสที่ GDP จะโตต่ำกว่าเป้า ทำให้ล่าสุดรัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และมาตรการภาษีส่งเสริมการใช้จ่ายต่างๆ
ทั้งนี้ แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล แต่เชื่อว่าถ้าหากสามารถจัดตั้งได้แล้ว การลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนที่รอทยอยเข้ามาต่อเนื่องนับจากนี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะกลางถึงยาวที่ดีได้ เรายังคงกลยุทธ์พิถีพิถัน ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนในช่วงสั้น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้