มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมปรับตัวแบนราบมากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นการปรับไปในทิศทางเดียวกันกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จากปริมาณความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นของนักลงทุน เนื่องจากความตึงเครียดด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังได้รับแรงหนุนจากการเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารในภูมิภาคอาเซียน
สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ แม้ว่าภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินที่ต้องติดตาม รวมทั้งความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูง โดยจะต้องมีการติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม
ในส่วนของปัญหาเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา -จีนที่มีการเรียกเก็บภาษีตอบโต้กันในช่วงเดือนที่ผ่านมา และยังไม่มีแนวโน้มที่จะหาข้อสรุปได้ ยังมีการขยายวงไปเป็นความขันแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิตาลีและสมาชิกยูโรโซนในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของรัฐบาลอิตาลี ที่ไม่สามารถปรับลดยอดขาดดุลทางการคลังและหนี้สาธารณะได้ตามที่ตกลงไว้ ยังคงส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อตราสารหนี้ทั่วโลก ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มตราสารหนี้ไทยยังต้องติดตามปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ธนาคารกลางหลายแห่งได้ออกมาแสดงท่าทีผ่อนคลายมากขึ้นแล้วก็ตาม เพราะยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความเสี่ยงที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยไม่มีข้อตกลง รวมั้งการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในเดือนมิถุนายน เป็นต้น
ด้านการดำเนินนโยบายการเงินของไทย กองทุนบัวหลวงคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% จนถึงสิ้นปี 2562 จากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งแรงกดดันจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
Fund Comment
Fund Comment: มุมมองตลาดตราสารหนี้เดือนพฤษภาคม 2562
มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมปรับตัวแบนราบมากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นการปรับไปในทิศทางเดียวกันกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จากปริมาณความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นของนักลงทุน เนื่องจากความตึงเครียดด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังได้รับแรงหนุนจากการเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารในภูมิภาคอาเซียน
สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ แม้ว่าภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินที่ต้องติดตาม รวมทั้งความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูง โดยจะต้องมีการติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม
ในส่วนของปัญหาเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา -จีนที่มีการเรียกเก็บภาษีตอบโต้กันในช่วงเดือนที่ผ่านมา และยังไม่มีแนวโน้มที่จะหาข้อสรุปได้ ยังมีการขยายวงไปเป็นความขันแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิตาลีและสมาชิกยูโรโซนในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของรัฐบาลอิตาลี ที่ไม่สามารถปรับลดยอดขาดดุลทางการคลังและหนี้สาธารณะได้ตามที่ตกลงไว้ ยังคงส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อตราสารหนี้ทั่วโลก ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มตราสารหนี้ไทยยังต้องติดตามปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ธนาคารกลางหลายแห่งได้ออกมาแสดงท่าทีผ่อนคลายมากขึ้นแล้วก็ตาม เพราะยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความเสี่ยงที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยไม่มีข้อตกลง รวมั้งการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในเดือนมิถุนายน เป็นต้น
ด้านการดำเนินนโยบายการเงินของไทย กองทุนบัวหลวงคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% จนถึงสิ้นปี 2562 จากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งแรงกดดันจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ