BF Economic Research
การส่งออกไทยเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 21,409.30 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.15% YoY (vs prev -5.8% YoY) ส่วนการนำเข้า อยู่ที่ 18,197.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -9.44% (vs prev -0.6% YoY) ดุลการค้า มิ.ย. เกินดุล 3,212 ล้านดอลลาร์ฯ (181.5 ล้านดอลลาร์ฯ)
สำหรับตัวเลข YTD 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 122,970.70 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.91% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 119,027.40 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.41%YoY ดุลการค้าหกเดือนเกินดุล 3,943 ล้านดอลลาร์ฯ (เมื่อเทียบกับหกเดือนปีที่แล้วเกินดุล 4,263.9 ล้านดอลลาร์ฯ)
ภาพการส่งออกหดตัวต่อเนื่องจากบรรยากาศทางการค้าที่ถูกกระทบจาก Trade War สำหรับประเด็นเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น ก.พาณิชย์ ให้ความเห็น กระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเห็นได้ว่า ธปท.มีมาตรการต่างๆ มาช่วยดูแลค่าเงินอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ต้องการเห็นผู้ประกอบการมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนให้มากขึ้น
ส่วนการส่งออกทั้งปีนี้ หากจะให้โตได้ 1-2% จะต้องเห็นส่งออกยืนเหนือ 21,000 ล้านดอลลาร์ฯ
หากพิจารณาในรายสินค้าจะพบว่าสินค้ากลุ่มอัญมณีขยายตัวสูงขึ้นถึง 126.8% YoY โดยที่มูลค่าในกลุ่มนี้อยู่ที่ 2.6 พันล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็น 12.3% ของการส่งออกทั้งหมด นับว่าสูงเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในอดีต
ซึ่งเมื่อดูไส้ในของสินค้ากลุ่มนี้ เห็นว่าเป็นการส่งออกทองคำกระโดดขึ้นมาที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวที่ 317% YoY หากเรานำสินค้าทองออกการส่งออกที่ไม่รวมทองคำเดือนมิ.ย. จะหดตัว -10.3% YoY
ในส่วนของสินค้าส่งออกสำคัญอื่นๆ 15 อันดับแรก พบว่าหดตัว 11 รายการ
การส่งออกในรายประเทศ 4 อันดับแรกติดลบ ส่วนของอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง สินค้าส่งออกสำคัญที่ไปอินเดียได้แก่ อัญมณี เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ เครื่องจักร ทองแดง เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน
สำหรับตัวเลข YTD 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 122,970.70 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.91% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 119,027.40 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.41%YoY ดุลการค้าหกเดือนเกินดุล 3,943 ล้านดอลลาร์ฯ (เมื่อเทียบกับหกเดือนปีที่แล้วเกินดุล 4,263.9 ล้านดอลลาร์ฯ)
ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ดูแย่ลงจาก 3 ปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ถือว่ายังแข็งแกร่ง