BF Economic Research
ภายหลังจากที่ FOMC ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bpsในช่วงเดือนก.ค. เพื่อ “Mid-cycle Adjustment” และได้ทำความเข้าใจกับตลาดว่าจะไม่เข้าสู่ Easing Mode
แต่ธนาคารกลางอื่นๆ กลับเข้าสู่โทนดอกเบี้ยขาลง นำโดย อินเดีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง และล่าสุด กนง. ของไทย ได้ปรับลดอัตราลง 25 bps ในวันนี้ด้วยเสียงโหวต 5:2
นับตั้งแต่ปีที่แล้ว ธปท. เป็นหนึ่งในไม่กี่ธนาคารกลางที่ยืนยันจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% เนื่องด้วยมีความกังวลต่อ เสถียรภาพทางการเงิน และหนี้ครัวเรือน อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งนี้ กนง. มีโทนที่กังวลต่อโมเมนตัมเศรษฐกิจที่ชะลอลง จากการส่งออก และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ กนง. ได้แสดงความกังวลต่อทิศทางค่าเงินบาท ทั้งนี้ด้วยอัตราเงินเฟ้อไทยยังทรงตัวต่ำและยังยืนต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-4% จึงเป็นผลให้ กนง. ส่วนใหญ่ตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยลง เข้าสู่ 1.5%
ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวต่ำมีผลให้ธนาคารกลางหลายแห่งตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งประเทศไทย
เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนตามอุปสงค์ต่างประเทศ โดยการส่งออกสินค้าหดตัว ต่อเนื่องสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากจํานวนนักท่องเที่ยวจีนที่ยังหดตัวต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศโดยรวมชะลอตัวลงในเกือบทุกหมวด ยกเว้นในหมวดสินค้าไม่คงทน ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวทั้งหมวดก่อสร้างและหมวดเครื่องจักร เครื่องจักรสุดท้ายที่จะต้องติดตามคือแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาล
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุด ตั้งแต่ใช้อัตราดอกเบี้ย RP 1 วันถูกใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แทน RP 14 วัน อยู่ที่ 1.25%
ในการประชุมครั้งถัดๆไปการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจะกลับมามีความสำคัญต่อการตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยของ กนง. เนื่องจากโมเมนตัมการส่งออกไทยไม่ดี