กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INNOTECHRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INNOTECHRMF)

มุมมองของ Fidelity Global Technology Fund ต่อบริษัทในกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีในช่วงครึ่งปีหลัง (2H 2019)

  1. หากดูตัวเลขผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนระดับโลก ณ ปัจจุบัน เราแทบไม่สามารถหาบริษัทที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิ (Earning Growth) ได้เลยในภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตช้าลง มีแต่บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีเท่านั้น ที่พบว่ารายได้เติบโตเพิ่มขึ้นได้ชัดเจนกว่ากลุ่มอื่น
  2. เทคโนโลยีเป็นเพียง Sector เดียวที่ธุรกิจ/หรือบริษัทที่อยู่ในกลุ่มนี้ เพิ่มเงินลงทุนในสินทรัพย์ทุน โดยเฉพาะบริษัทผู้ให้บริการด้าน Cloud Services เช่น ไมโครซอฟท์ อเมซอน กูเกิ้ล เงินลงทุนในสินทรัพย์ทุนเป็นตัวบ่งบอกได้อย่างหนึ่งว่า ตลาดมีความต้องการในสินค้าและบริการ
  3. เทคโนโลยีเป็นเพียง Sector เดียวที่ธุรกิจไม่ได้แบกรับภาระดอกเบี้ยจากการกู้ยืม อีกทั้งยังถือครองเงินสดสำรองแตะระดับสูงสุด หากดูจากอัตราส่วนหนี้สินรวม เทียบกับกำไรขั้นต้น (Net Debt to EBITDA) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 0.20 x จะพบว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ Sector พลังงาน 1.2 x เฮลธ์แคร์ 1.5x กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคฟุ่มเฟือย 1.6x กลุ่มอุตสาหกรรม 1.8x กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 2.0x กลุ่มสินค้าอุปโภคจำเป็น 2.4x กลุ่มสาธารณูปโภค 5.0x กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 5.4x ดังนั้น จึงเป็นฉนวนที่ดีหากตลาดหุ้นถูกโจมตีจากภาวะวิกฤตหนี้โลก

ระดับการกู้ยืมที่ต่ำสะท้อนความแข็งแกร่งของฐานะการเงินบริษัท ซึ่งแตกต่างจากช่วงวิกฤตดอทคอมปี ค.ศ.2000 อย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุที่ว่าบริษัทในกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยี สร้างกระแสเงินสดได้ดีมาก จากความต้องการสินค้าและบริการของธุรกิจใน Sector อื่นที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของตนเอง

Valuation Issue

ราคาหุ้นกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีขึ้นมาตลอด ตอนนี้แพงไปแล้วหรือยัง (Are Tech stock overvalue right now?)

การเปรียบเทียบระดับมูลค่า Valuation นั้น โดยปกตินักลงทุนจะเปรียบเทียบในสองด้าน

ประการแรกคือ การเปรียบเทียบระดับมูลค่า ณ ปัจจุบันกับอดีต โดยใช้ดัชนีตลาดเทียบกับกำไรสุทธิคาดการณ์ (FW Price-to-Earnings Ratio) ปัจจุบันบริษัทที่อยู่ในกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยี มีตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 18 x เทียบกับในช่วงเทคบับเบิลในปีค.ศ. 2000 ที่ 53 x หุ้นเทคฯ ขณะนี้จึงไม่ได้มีปัญหาอะไร อีกทั้งช่วงเทคบับเบิล บริษัทส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้านอี-คอมเมิร์ซ ภาพจะแตกต่างจากปัจจุบันที่มีแรงขับเคลื่อนในหลาย Sub-Sector ตั้งแต่ Artificial intelligence / Electric car / Cloud / Internet of Things / AR&VR / Technology 5G เป็นต้น

ประการที่สองคือ การเปรียบเทียบหุ้นในกลุ่มเทคฯกับกลุ่มอื่น ระดับมูลค่าก็ยังถือว่าไม่ได้ดีดตัวขึ้นมาสุดโต่ง (ดังกราฟ)

Trade war issue

ปัญหาสงครามการค้ากระทบต่อสินค้าและบริการของธุรกิจในกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีในระดับใด

กระทบอยู่สองด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี 5G และด้านสมาร์ทโฟน

1. ด้านเทคโนโลยี 5G การที่สหรัฐฯ กีดกันคู่ค้าไม่ให้ทำธุรกิจกับหัวเว่ย เป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากหัวเว่ยเป็นผู้นำโลกทั้งทางด้านอุปกรณ์โทรคมนาคม (Telecommunication Equipment) ด้านเทคโนโลยี 5G และด้านสมาร์ทโฟน ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยมีการเซ็นสัญญาระดับนานาชาติเพื่อขายอุปกรณ์โทรคมนาคม 5G กับบริษัททั่วโลกไปแล้วกว่า 150,000 สัญญาใน 35 ประเทศ การกีดกันของสหรัฐฯ ทำให้การรุกคืบกินส่วนแบ่งตลาดของหัวเว่ยในการติดตั้งเสาสัญญาณ 5G อาจทำได้ไม่รวดเร็วดังที่ตั้งเป้าไว้ บริษัทที่ทำเทคโนโลยีซึ่งจะกินส่วนแบ่งตลาดทางด้านนี้ต่อจากหัวเว่ยน่าจะเป็น Oppo เพราะธุรกิจคล้ายกับหัวเว่ย จึงอาจได้รับประโยชน์ดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทซัมซุงซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ในเทคโนโลยี 5G ให้กับหัวเว่ยก็ได้รับประโยชน์จากขนาดของตลาดโลกต่อเทคโนโลยี 5G ที่กำลังเป็นที่ต้องการ

2. ด้านสมาร์ทโฟน ในประเทศจีน หัวเว่ยได้รับความนิยมมากขึ้นจากกระแสต่อต้านสินค้าสหรัฐฯ ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วสมาร์ทโฟนของค่ายซัมซุง และแอปเปิ้ล ยังคงครอบครองส่วนแบ่งตลาดหลักอยู่ ด้านกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ สินค้าของหัวเว่ยถูกนำเข้าสู่ตลาดมากขึ้น

Regulation issue

บริษัทกลุ่มเทคฯ ของสหรัฐฯ ตกเป็นเป้าหมายโจมตีจากทางการสหรัฐฯ ทางด้านการผูกขาดการทำธุรกิจ (Antitrust Regulation) รวมถึงตกเป็นกระแสข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ปัจจัยด้งกล่าวส่งผลบวกลบอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจ

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายฟิเดลิตี้ มองว่าเป็นเพียงกระแสด้านการเมือง ในปีหน้า ค.ศ. 2020 สหรัฐฯ จะมีการเลือกตั้ง และเป็นการยากที่สภาคองเกรสจะออกกฏระเบียบจัดการกับบริษัท Big Tech ในสหรัฐฯ เพราะทางการจำเป็นต้องหาหลักฐานพิสูจน์แสดงต่อหน้าสาธารณะเพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจไม่ธรรมต่อกลุ่มผู้บริโภค ที่ผ่านมาในยุโรป ที่มีกฎหมายเป็นแบบ Subjective law ก็ยังไม่พบเคสเลยว่าบริษัทโกลบอลเทคฯ ดำเนินธุรกิจสร้างผลกระทบด้านลบต่อกลุ่มผู้บริโภคแต่อย่างใด

Political Issue

ประเด็นพาดหัวข่าวที่ญี่ปุ่นจำกัด Supply ที่จะจัดส่งไปให้กับเกาหลีใต้ กระทบกับธุรกิจเทคโนโลยีเกาหลีใต้เพียงใด

ผู้เชี่ยวชาญฟิเดลิตี้ มองว่า เป็นประเด็นทางการเมืองของญี่ปุ่นที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง พาดหัวข่าวดังกล่าวน่าเป็นปัจจัยระยะสั้นต่อไปอีกไม่กี่เดือน / เทคโนโลยีโลก ณ ปัจจุบัน อาทิ สมาร์ทโฟน ปัญญาประดิษฐ์ ล้วนต้องพึ่งพาชิปความจำ; เมมโมรีชิป แทบทั้งสิ้น อุตสาหกรรมการผลิตชิปความจำของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในโลกประมาณ 70% ของกำลังการผลิตโลก ส่วนที่เหลือเป็นของสหรัฐฯ เช่น บริษัทไมครอนเทคโนโลยี และหากมองลงไปที่ญี่ปุ่น ก็พบว่าไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากการกระทำเช่นนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่บริษัทญี่ปุ่นจะเพิ่มกำลังการผลิตของตนเองเข้าสู่ตลาดโลกเพื่อทดแทนสิ่งที่เกาหลีใต้ผลิตได้ลดลง ลำพังญี่ปุ่นเองไม่ได้มีกลยุทธ์เข้าซื้อกิจการของเกาหลีใต้เช่นกัน เพราะไม่ได้อยู่ในความสนใจตั้งแต่แรก

ฟิเดลิตี้คาดว่าประเด็นตลาดเมมโมรีชิป จากนี้ไปจะผ่อนคลายลง ตลาดเมมโมรีชิปซึ่งก่อนหน้านี้เคยเผชิญกับภาวะอุปทานล้นตลาดจนส่งผลให้ราคาเมมโมรีชิปลดลง น่าจะถึงจุดต่ำสุดตอนนี้ ว่ากันตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว เมื่ออุปทานลด ราคาขายต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้น ส่งผลบวกต่อกำไรขั้นต้นให้กับบริษัทซัมซุง ผู้ผลิตเมโมรีชิปรายใหญ่ของโลก อนึ่ง บริษัทซัมซุงมีโครงสร้างรายได้กระจายตัวในธุรกิจที่หลากหลาย มี Growth area อีกหลายด้าน ที่โดดเด่นที่สุดในตอนนี้ คือการเป็นซัพพลายเออร์ในเทคโนโลยี 5G ให้กับหัวเว่ย

Portfolio theme

กองทุนหลัก Fidelity Global Technology ลงทุนในบริษัทโดยพิจารณาจาก Stock specific driver ที่มีแขนงของธุรกิจตอบโจทย์ธีมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่กองทุนหลักจับตามอง ด้วยการคัดเลือกหลักทรัพย์จากปัจจัยพื้นฐานอย่างแม่นยำ หากจำแนกน้ำหนักพอร์ตโพลิโอกองทุนหลักตามธีม แบ่งได้เป็น

 

คำอธิบายธีมและคำอธิบายจุดเด่นของบริษัทตามธีมลงทุน

1. Digitization 

เกิดจากการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในกลุ่มผู้ให้บริการทางด้านไอทีระดับโลก ซึ่งมีฐานลูกค้าที่ใช้บริการมาอย่างยาวนาน สามารถยกระดับการให้บริการผ่านช่องทางใหม่ เช่น คลาวด์

ตัวอย่างบริษัทลงทุน: IBM

1.1 IBM (Fund 3.8%/ Benchmark 1.7%), 12 M. FW P/E 9.6 x

Company Description: Global enterprise IT provider

Country: USA

Sub-sector: IT services

เดิมเป็นบริษัทผู้ขายเครื่องซอฟต์แวร์และขายไลเซนส์ซอฟต์แวร์ทั่วโลก ปัจจุบันมีการลงทุนไปกับ Cloud ด้วยการซื้อกิจการของ Red Hat ด้วยมูลค่า 34 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งน่าจะเพิ่มศักยภาพในธุรกิจ Hybrid Cloud Services อีกช่องทาง การพยายามปรับตัวเองขึ้นมาใหม่โดยปั้นธุรกิจคลาวด์ น่าจะช่วยให้ผู้ให้บริการทางไอทีระดับโลกและมีฐานลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ สามารถแนะนำบริการซอร์ฟแวร์ด้วยการ Cross sales ผ่านระบบช่องทางใหม่

จุดเด่น: บริษัทเปลี่ยนตัวเองจากที่มีรายได้จากคอมพิวเตอร์ Mainframe มาเป็นการวิเคราะห์แก้ปัญหาทาง Cloud Analytic Solution การเข้าซื้อกิจการ Red Hat สร้างบทบาทให้ IBM ในตลาด Private/Multi Cloud บริษัทถือครองสินทรัพย์เทคโนโลยีระดับสูงเช่น AI, Blockchain, Cyber securities

2. เกมส์ (Gaming)

การเข้าถึงตลาดเกมส์ของนักเล่นเกมส์จะทำผ่านสองส่วนคือ 1. ผ่านฮาร์ดแวร์ซึ่งก็คือคอนโซลควบคุม และ 2. ผ่านสมาร์ทโฟน จุดเด่นที่ทำให้ตลาดเกมส์น่าสนใจ คือ ต้นทุนการเป็นสมาชิกใหม่ในการเล่นเกมส์ลดลงอย่างมีนัย ทำให้ผู้ผลิตเกมส์สามารถผลิตเนื้อหาเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้เร็วขึ้นจากเดิม มีความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น นอกจากนี้ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (Esports) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับการแข่งขันวิดีโอเกมส์ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้นผลักดันตลาดนี้ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

 

ตัวอย่างบริษัทลงทุน: Activison Blizzard, Electronic Art, NetEase

2.1 Activision Blizzard (Fund 3.8% / Benchmark 0.1%)

Industry: Entertainment

Region: North America

จุดเด่น: ถือครองลิขสิทธิ์เกมส์/ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งนำไปสร้างเม็ดเงินให้กับบริษัทได้ การพัฒนานำไปต่อยอดเป็นเงินเป็นทองได้

การที่ตลาดเกมส์ก้าวเข้าสู่ยุคดาวน์โหลดแบบสตรีมมิ่ง ทำให้เนื้อหาเกมส์ที่ผลิตถูกซื้ออย่างรวดเร็ว รายได้ธุรกิจจึงเติบโตสูง อีกทั้งยังมีรายได้แหล่งอื่นที่มาจากการโฆษณา การลงทะเบียนใช้บริการ

2.2 Net ease (Fund3.8% / Benchmark 0.1%)

Industry: Entertainment

Region: Emerging market

บริษัทประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดตามที่ตลาดคาดการณ์ NetEase พยายามนำ Pipe line เกมส์ออกมาสู่ตลาดให้ได้ตามแผน

3. ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle)

ปัจจุบันการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ในระยะยาวตลาดจะใหญ่กว่านี้ 5-10 เท่า ดังนั้นสิ่งที่กองทุนหลัก Fidelity Global Technology ทำได้คือ พยายามเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีการทำจริง ซึ่งก็คือ เทสลา และบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งใช้ในระบบไฟของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งก็คือ อินฟิเนออน กองทุนหลักชื่นชอบเทสลา แม้จะมีสัดส่วนลงทุนน้อย หลังเผชิญกับกระแสด้านธรรมาภิบาลในช่วงก่อนหน้านี้ เพราะเทสลาสร้าง Ecosystem ขึ้นมาเองโดยใช้ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และสถานีชาร์จไฟของตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากค่ายอื่น ปัจจุบันเทสลา ไม่มีปัญหาทางด้านอุปสงค์ มีเพียงด้านอุปทานว่าเทสลาจะผลิตรถได้ทันต่อความต้องการของตลาดหรือไม่

ตัวอย่างบริษัทลงทุน: Tesla, Infineon

3.1. Tesla (Fund 3.8% / Benchmark 0.1%)

Industry: Automobiles

Region: North America

บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

จุดเด่น: มีระบบนิเวศธุรกิจของตนเองครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องพึ่งพิงห่วงโซ่อุปทานจากผู้ผลิตค่ายอื่น

คาดว่ารายได้บริษัทจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่บริษัทผลิต เริ่มสร้างกระแสเงินสดแล้วในปีนี้ พร้อมเปิดตัวโมเดลใหม่ในปีหน้า ตลาดภายในประเทศสหรัฐฯได้รับแรงสนับสนุนยอดขายจากผู้ซื้อ

3.2 Infineon (Fund 3.8% / Benchmark 0.1%)

Industry: Semiconductor and semiconductor equipment

Region: Europe ex UK

เป็นบริษัทที่ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับ

กองทุนหลักถือครองหุ้นบริษัทดังกล่าวมาอย่างยาวนาน เนื่องจากผลิตส่วนประกอบสำคัญในหน่วยจ่ายพลังงานให้กับยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์ไร้คนขับ ที่ผ่านมารายได้บริษัทที่มาจากตลาดรถยนต์จีนไม่ค่อยดี อย่างไรก็ตาม การพัฒนายานยนต์ดังกล่าวยังอยู่ในเฟสเริ่มต้นเท่านั้น

จุดเด่น:

  • มีคู่แข่งน้อยราย คู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาเจาะตลาดยาก จากเหตุผลด้านกฏระเบียบในเยอรมนี
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ของโลกยังอยู่ในระยะเริ่มต้น

4. ปัญญาประดิษฐ์ (Ai: Artificial Intelligence)

สามปีที่ผ่านมา AI เป็นเพียงคอนเซป ปัจจุบันพบการพัฒนาในส่วนของ Vision, Speech recognition, Medical Diagnosis ในส่วนของ AI เป็นแขนงที่มีกระแสเงินทุนของการร่วมลงทุนในธุรกิจ AI ระยะเริ่มแรก (VC: venture capital) เข้ามามาก โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ เช่น Salesforce เข้าซื้อกิจการ Tabloid, Google เข้าซื้อกิจการ Lucom โดย AI มีการใช้งานที่รวดเร็วโดยผนวกเข้าด้วยกันกับ Cloud

ตัวอย่างบริษัทลงทุน : Nvidia Baidu Samsung Alphabel

4.1 Baidu (Fund 3.8% / Benchmark 0.1%)


Industry: Interactive media services

Region: Emerging market

ปีนี้บริษัทมีการลงทุนสูงไปกับเนื้อหาคอนเท้นต์ รายได้หลักที่มาจากการค้นหาข้อมูลไตรมาสล่าสุดชะลอตัว

กระนั้นก็ดี อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของชาวจีนที่อยู่ในระดับสูง แรงสนับสนุนจากอุปสงค์ทางด้าน Cloud น่าจะทำให้หุ้นเติบโตต่อไปได้

4.2 INTEL CORP (Fund 3.3%/ Benchmark 3.1%), 12 M. FW P/E 10.9 x

Company Description: World’s largest integrated manufacturers of microprocessors.

Country: USA

Sub-sector: Semiconductors & Semicon. Equipment

ได้ประโยชน์จาก Secular Growth ของ Internet of Things (IoT) และ Data center บริษัทมีรากฐานทางด้าน DCG (Data Center Group) แข็งแกร่ง

4.3 ALPHABET INC (Fund 4.8% / Benchmark 0.0%), 12 M. FW P/E 23.2 x

Company Description: Largest search engine and global digital ad network

Country: USA

Sub-sector: Interactive media & services

จุดเด่น: มีโมเดลธุรกิจตั้งอยู่บนข้อมูลความรู้ที่ผ่านการสะสมต่อเนื่อง ซึ่งหมายความถึงศักยภาพในการแข่งขัน ด้าน Machine learning และ Artificial intelligence (AI) เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมล่าสุดของบริษัทผ่านการลงทุนร่วมใน Business Venture บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง งบดุลมีเงินสดมหาศาล ด้านรายได้จาก Internet search Business เติบโตสูงมาก ขณะที่รายได้หลักมาจากค่าโฆษณามีอัตรากำไรดี

5. เทคโนโลยีสื่อสาร 5G

เป็นธีมระยะยาว ปัจจุบันระบบ 5G ของโลกยังอยู่ระยะเริ่มต้น เห็นได้จากการวางระบบโครงสร้างไฟเบอร์ออฟติกในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ระยะถัดไปจะเริ่มเข้าสู่โหมดการใช้งานระดับผู้บริโภคซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงและได้ข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น / 5G สน้บสนุนประสิทธิภาพการทำงานของยานยนต์ไร้คนขับ, Internet of Things, Edge computing ความต้องการด้าน Data processing ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศจีนที่เป็นแรงขับเคลื่อนของการเติบโต

ตัวอย่างบริษัทลงทุน

5.1 Ericsson ผลิตโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้สำหรับการสื่อสารในระบบ 5G

5.2 Samsung ผลิตโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้สำหรับการสื่อสารในระบบ 5G

SAMSUNG ELECTRONICS CO LTD (Fund 6.3% / Benchmark 2.8%), 12 M. FW P/E 9.8 x

Company Description: Diversified electronics company

Country: Korea (South)

Sub-sector: Technology Hardware & Equipment

จุดเด่น: เป็น Long term winner ในตลาดด้านเมโมรีหน่วยความจำและจอแสดงผล ระดับกำไรของธุรกิจมือถือได้รับปัจจัยหนุนจากวัฏจักรของนวัตกรรมที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (เช่น หน้าจอโค้งพับได้ ในปี 2019) ฐานลูกค้าในตลาดเกิดใหม่เติบโต

งบการเงินแข็งแกร่งมากมีเงินสดถือครองสูงถึง 30% ของมูลค่าตลาดบริษัท มีระดับ ROE สูง สร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น

5.3 Marvel เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์การสื่อสารระบบ 5G มีการเข้าซื้อกิจการของ Calvium เพื่อปูทางเข้าสู่ระบบ 5G

MARVELL TECHNOLOGY (Fund 3.2%/ Benchmark 0.2%), 12 M. FW P/E 15.2 x

Company Description: Diversified supplier of infrastructure-focused chips.

Country: USA

Sub-sector: Semiconductors & Semicon. Equipment

การซื้อกิจการ Cavium เปลี่ยนโฉมธุรกิจไปสู่ผู้จัดจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้ในระบบโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศอย่างเต็มตัว มีโอกาสที่จะได้รับ 5G ใน Content แบบ 4 x จาก Samsung โดยภาพรวมชิปความจำมีการนำชิบความจำแบบ SDD ซึ่งเติบโตเข้ามาแทนที่แบบ HDD

6. China Technology Buildout

เป็นที่ชัดเจนว่าจีนกำลังจะสร้างฐานการผลิตเซมิตอนดักเตอร์ของตนเองขึ้นมา การที่จีนพยายามลดการพึ่งพิงชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์จากสหรัฐฯ นั้นปัจจุบันทำสำเร็จบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด ดังนั้นบริษัทที่สร้างเครื่องจักรกลที่ใช้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขึ้นมาเองจึงเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรม

ตัวอย่างบริษัทลงทุน: KLA Tencor

6.1 KLA-Tencor (Fund 1.9% / Benchmark 0.0%)

Industry: Semiconductor & Semiconductor Equipment

Region: North America

เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือ/หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ดังนั้นหากจีนผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขึ้นมาใช้เองมากขึ้น บริษัทจะได้รับประโยชน์จากอุปสงค์ดังกล่าว

จุดเด่น : ผลิตเครื่องจักรกลที่ใช้ในกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ อุปสงค์ตลาดโลกต่อเซมิคอนดักเตอร์ที่มีขนาดเล็กเพียง 7 นาโนเมตร เป็นปัจจัยขับเคลื่อนรายได้บริษัท

7. อินเทอร์เน็ต สหรัฐฯ (Internet: US)

นักลงทุนต่างตั้งคำถามว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตน่าจะลดลง แต่กองทุนหลักลงทุนในอินเทอร์เน็ตสหรัฐ เพราะว่าบริษัทในกลุ่มนี้ยังมีสินทรัพย์ที่ยังไม่ได้ถูกตีเป็นมูลค่าและมีแรงขับเคลื่อน เช่น ตลาดของ Whatsapp, Instagram และเงิน Libra ของ FB ธุรกิจเหล่านี้กำลังพยายามสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ขึ้นมา ขณะที่แขนงธุรกิจยานยนต์ไร้คนขับ (Self-driving car) ของ Google ก็ยังเป็นสินทรัพย์ที่ยังไม่ถูกนำมาตีค่า

ตัวอย่างบริษัทลงทุน: Alphabet, Facebook, Akamai

7.1 ALPHABET INC (Fund 4.8% / Benchmark 0.0%), 12 M. FW P/E 23.2 x

Company Description: Largest search engine and global digital ad network

Country: USA

Sub-sector: Interactive media & services

จุดเด่น: มีโมเดลธุรกิจตั้งอยู่บนข้อมูลความรู้ที่ผ่านการสะสมต่อเนื่อง ซึ่งหมายความถึงศักยภาพในการแข่งขัน ด้าน Machine learning และ Artificial intelligence (AI) เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมล่าสุดของบริษัทผ่านการลงทุนร่วมใน Business Venture บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง งบดุลมีเงินสดมหาศาล ด้านรายได้จาก Internet search Business เติบโตสูงมาก ขณะที่รายได้หลักมาจากค่าโฆษณามีอัตรากำไรดี

ล่าสุดบริษัทเปิดตัว “สตาเดีย” แพลตฟอร์มเกมส์สตีมมิ่งผ่าน Cloud ที่ออกมาใช้ร่วมกับ Youtube ผู้เล่นเกมส์จะใช้จอยคอนโทรลสีขาวในการเล่นเกมส์เท่านั้น

รายได้หลักจากโฆษณาออนไลน์ในสหรัฐฯ เริ่มเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น บริษัทจึงปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจรูปแบบ Cloud

นอกจากนี้ยังมี อินเทอร์เน็ต จีน (Internet: China)

การที่ตลาดผู้บริโภคในจีนส่วนใหญ่ทำผ่านธุรกรรมออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางที่ทรงอิทธิพลต่อระยะเวลาการเข้าใช้บริการของผู้บริโภค ธุรกิจที่มีระบบนิเวศทางธุรกิจที่ดีจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจีนซึ่งมีประชากรสูงถึง 1,400 ล้านคน

ตัวอย่างบริษัทลงทุน: Baidu, Alibaba

ปัจจัยบวกและลบต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยี

ปัจจัยบวกที่สนับสนุนธีมการลงทุน

(+) เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราเติบโตสูงแม้จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เศรษฐกิจโลกมีระดับอัตราการเติบโตที่ชะลอลงก็ตาม

(+) เทคโนโลยีนำไปสู่โลกของธุรกิจที่สร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย รวดเร็ว ส่งผลกระทบในวงกว้าง

(+) เงินลงทุนของธุรกิจทางด้านไอทีพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยเพราะธุรกิจต่างเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมทัพให้กับตนเอง

(+) บริษัทในกลุ่มนี้มีอำนาจการต่อรองกับคู่ค้าสูง มีขนาดตลาดที่ใหญ่มากพอรองรับการดำเนินธุรกิจ มีการวิจัยและพัฒนา อีกทั้งมีอุปสรรคขัดขวางผู้เล่นหน้าใหม่ที่คอยจะเข้ามาแสวงหาประโยชน์

(+) เทคโนโลยีเป็นการเติบโตที่มาจากหลายแขนง ไม่จำกัดเพียงด้านเดียว เช่น Robotic, AI, EV, Cloud, Big data, IoT, Machine leaning จึงเป็นการกระจายความเสี่ยงทางด้านธุรกิจโดยอัตโนมัติ

ปัจจัยเสี่ยงที่สร้างความผันผวนให้เกิดขึ้น

(-) ยังมีความกังวลต่อโอกาสที่ทางการจะออกกฏระเบียบใหม่ขึ้นมาควบคุมเพราะธุรกิจในกลุ่มเทคฯ มีอำนาจต่อรองสูง บริษัทบางแห่งดำเนินธุรกิจผูกขาดเนื่องจากเป็นผู้นำตลาด

(-) ยังต้องจับตาว่าสหรัฐฯ จะเลื่อนการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในวันที่ 1 ก.ย.ออกไปหรือไม่ หากประเด็นดังกล่าวถูกหยิบยกขึ้นมาใหม่ อาจกระทบกับห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ได้

(-) ความไม่แน่นอนต่ออุปสงค์ของผู้บริโภคในกลุ่มตลาดเกิดใหม่

Source: Fidelity Funds – Global Technology Fund, June 2019

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Fidelity Funds – Global Technology Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class Y-ACC-USD

นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลก ที่มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการหรือบริการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์อย่างสูงจากความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี

วันที่จดทะเบียน: 23 กุมภาพันธ์ 2017 (Share class Y-ACC-USD)

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI AC World Information Technology (N)

Morningstar Category: Large cap core growth

Bloomberg code: FFGTYAU LX

Fund size: 4,501 Million USD

Number of positions in fund: 64

* Source: https://www.bblam.co.th/application/files/5015/6393/8319/Professional_Factsheet_-_FF_Global_Technology_Fund_Y-ACC-USD_062019.pdf

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2019)

ข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของหุ้นในกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยี

‘Apple ดีลสำเร็จ ซื้อกิจการโมเดม สมาร์ทโฟนจาก Intel ในราคา 1,000 ล้านดอลลาร์’

เป็นอีกหนึ่งก้าวครั้งสำคัญของ Apple เลยก็ว่าได้ เพราะการที่ Apple ซื้อกิจการโมเดม สมาร์ทโฟนของ Intel ได้สำเร็จ เท่ากับว่าแบรนด์กำลังจะมีชิปเซ็ตเป็นของตนเองที่สมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น อาจได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ราคาอาจสูงขึ้นไปอีกตามสไตล์ Apple

สำหรับการทำสัญญาซื้อธุรกิจชิปเซ็ตครั้งนี้ Apple จะได้ครอบครอง Internet Protocol ของ Intel รวมถึงอุปกรณ์สัญญาเช่า พนักงาน และผลงานด้านสิทธิบัตรสิทธิบัตรอีกกว่า 17,000 รายการ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องจ่ายในราคา 1,000 ล้านดอลลาร์ เป็นจริงตามข่าวลือก่อนหน้านี้ และในอีกไม่ช้า Apple อาจเตรียมถอยห่างจากโจทย์เก่า Qualcomm ถาวร (อ่านข่าวความขัดแย้งเพิ่มเติมที่ Apple ทุ่ม 1,000 ล้านดอลลาร์ ลุยซื้อกิจการชิปเซ็ตของ Intel หวังผลิต Modem 5G ใช้เอง) Johny Srouji ตำแหน่ง Apple SVP กล่าวว่า “เราทำงานร่วมกับ Intel มาหลายปีแล้ว และรู้ว่า Intel เองก็มีความหลงใหลในเทคโนโลยีการออกแบบของ Apple ที่มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ และรู้สึกยินดีที่มีวิศวกรความสามารถยอดเยี่ยมมากมาย เข้าร่วมกลุ่มเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ของ Apple ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคตและอนุญาตให้ Apple สร้างความแตกต่างในการก้าวไปข้างหน้าต่อไป”

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว Apple สามารถใช้เทคโนโลยีของ Intel ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น MacBook, PC, Hardware, IoT และยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองที่ Apple กำลังผลักดัน ซึ่งสินค้าทุกตัวจะสอดคล้องกับการตลาดแบบ Ecosystem ที่ถูกวางแผนไว้เป็นอย่างดี

“ข้อตกลงนี้ช่วยให้เราสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเครือข่าย 5G ในขณะที่ยังคงรักษาทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีโมเด็มที่ทีมงานของเราได้สร้างขึ้น เราเคารพ Apple มานานและเรามั่นใจว่าพวกเขาจะมอบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับทีมที่มีความสามารถนี้และสินทรัพย์ที่สำคัญเหล่านี้ก้าวไปข้างหน้า เราจะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการพัฒนา 5G ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของฐานลูกค้าทั่วโลกของเรา รวมถึงผู้ให้บริการเครือข่ายผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมและผู้ให้บริการคลาวด์” Bob Swan ตำแหน่ง CEO ของ Intel กล่าวในแถลงการณ์

อย่างไรก็ตาม Apple คาดว่าจะปิดข้อตกลงในไตรมาสที่ 4 หลังจากได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐานกฎระเบียบ

‘กองทุน Vision Fund 2 ของ Softbank ประกาศมูลค่าสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่างบประมาณประจำปีของไทย’”

กองทุน Vision Fund ที่ถือเป็นกองทุนสายเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์ และลงทุนในสตาร์ทอัพชื่อดังมากมาย เช่น Uber, WeWork, ARM Holdings, NVIDIA ฯลฯ

ล่าสุด SoftBank Group ประกาศตั้งอภิมหากองทุน Vision Fund 2 โดยจะโฟกัสการลงทุนไปในเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI-based technology) และคาดว่าอภิมหากองทุนนี้จะมีมูลค่ากว่า 1.08 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3.346 ล้านล้านบาท (สูงกว่างบประมาณประจำปีของไทย พ.ศ. 2562 ที่มีมูลค่า 3 ล้านล้านบาท)

สิ่งที่น่าสนใจนอกจากจำนวนเงินอันมหาศาลแล้ว อภิมหากองทุน Vision Fund 2 รอบนี้จะมีนักลงทุนตั้งแต่ฝั่งเทคตะวันตกยักษ์ใหญ่อย่าง Apple, Foxconn, Microsoft และฝั่งธนาคารญี่ปุ่น เช่น Mizuho Bank,Sumitomo Mitsui, MUFG Bank ฯลฯ และที่สำคัญเหมือนว่ารอบนี้จะไม่มีซาอุดิอาระเบียเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากไม่ปรากฏรายชื่อในกลุ่มนักลงทุน (อภิมหากองทุน Vision Fund เวอร์ชั่นแรกมีกองทุน PIF ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งของประเทศซาอุดิอาระเบียร่วมลงทุนด้วย)

อย่างไรก็ตาม SoftBank ระบุว่าจะลงทุนในอภิมหากองทุน Vision Fund 2 เป็นจำนวนกว่า 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ1.17 ล้านล้านบาท คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 ใน 3 ของกองทุนนี้

อภิมหากองทุน Vision Fund ลงทุนในอะไรไปบ้าง?

สำหรับการลงทุนในบริษัทต่างๆ ของอภิมหากองทุน Vision Fund ของ SoftBank ในช่วงครึ่งปีเศษ หลังการก่อตั้งกองทุน มีดังนี้ (เรียงจากการลงทุนที่มีมูลค่าสูงไปน้อย)

  1. Uber: อันดับ 1 หนีไม่พ้น ดีลยิ่งใหญ่เริ่มต้นปี 2018 ผ่านกองทุน Vision Fund คือการลงทุนใน Uber ถึง 9.3 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ SoftBank เข้าถือหุ้นใน Uber ถึง 15%
  2. ARM Holdings: หลังจากที่ SoftBank ได้ซื้อกิจการของ ARM Holdings บริษัทผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีซีพียูตระกูล ARM ในปี 2016 หลังจากนั้นในปี 2017 อภิมหากองทุน Vision Fund ของ SoftBank ได้ลงทุนต่อเนื่องถึง 8.2 พันล้านดอลลาร์
  3. NVIDIA: มีการลงทุนใน NVIDIA บริษัทผลิตการ์ดจอเกม ถึง 5 พันล้านดอลลาร์ ส่วนใครที่อยากทำความรู้จักกับซีอีโอของ NVIDIA เชิญอ่านได้ที่ Jensen Huang ซีอีโอ Nvidia จากการ์ดจอเกม สู่ A.I., Cryptocurrency เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
  4. WeWork: สตาร์ทอัพ co-working space รายใหญ่ เบอร์ 1 ของโลกก็ไม่รอดพ้นสายตาอภิมหากองทุนนี้ไปได้ เพราะมีการลงทุนถึง 4.4 พันล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา
  5. Flipkart: ยักษ์ใหญ่ E-Commerce ในประเทศอินเดีย ได้รับเงินลงทุนจากอภิมหากองทุนนี้ไปถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์
  6. OneWeb: สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ ได้รับเงินลงทุนไปถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์
  7. Roivant: บริษัทไอทีสาย Health Care ได้รับเงินลงทุนไปถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์
  8. Fanatics: ค้าปลีกอุปกรณ์กีฬาออนไลน์จากสหรัฐอเมริกา ได้รับเงินลงทุนไป 1 พันล้านดอลลาร์
  9. SoFi: สตาร์ทอัพให้กู้ยืมเงินจากซานฟรานซิสโก ได้รับเงินลงทุนไป 1 พันล้านดอลลาร์
  10. Katerra: สตาร์ทอัพไอทีสายออกแบบ-ก่อสร้างที่มาแรงรายนี้ ได้รับเงินลงทุนไป 870 ล้านดอลลาร์
  11. Improbable: สตาร์ทอัพสายพัฒนาเทคโนโลยี AR/VR ได้รับเงินลงทุนไป 500 ล้านดอลลาร์
  12. Vir: บริษัทสาย Bio-tech ที่ใช้ AI มาพัฒนายารักษาโรค ได้รับเงินลงทุนไป 500 ล้านดอลลาร์
  13. Auto1: สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มดีลเลอร์รถยนต์ออนไลน์จากเยอรมนี ได้รับเงินลงทุนไปถึง 460 ล้านดอลลาร์ *ตัวนี้มาใหม่ ลงทุนเมื่อต้นปี 2018 ยังไม่มีข้อมูลในงบการเงินของ SoftBank*
  14. Compass: สตาร์ทอัพสายอสังหาริมทรัพย์รายนี้ ได้รับเงินลงทุนไป 450 ล้านดอลลาร์
  15. Guardant Health: บริษัทสาย Bio-tech อีกรายที่ใช้การทดสอบเลือดเพื่อตรวจจับเซลล์มะเร็ง ได้รับเงินลงทุนไป 360 ล้านดอลลาร์
  16. Wag: แม้กระทั่ง สตาร์ทอัพแอปพลิเคชันพาสุนัขไปเดินเล่น ยังได้รับเงินลงทุนไปถึง 300 ล้านดอลลาร์ *ตัวนี้ก็ยังไม่มีในงบการเงินของ Softbank เช่นกัน เพราะลงทุนในต้นปี 2018*
  17. OYO: บริษัทสายจองโรงแรมออนไลน์ ได้รับเงินลงทุนไป 250 ล้านดอลลาร์
  18. Slack: แอปพลิเคชันแชทสำหรับทำงานภายในองค์กร ได้รับเงินลงทุนไป 250 ล้านดอลลาร์
  19. Plenty: สตาร์ทอัพสายเกษตรที่มีความโดดเด่นคือการปลูกพืชแนวตั้งในที่ร่ม ได้รับเงินลงทุนไป 200 ล้านดอลลาร์ Brand Inside เคยนำเสนอเรื่องนี้ไว้ อ่านได้ที่ เทรนด์ทำฟาร์มแนวตั้งในร่มมาแรง! SoftBank ทุ่ม 200 ล้านเหรียญ ลงทุนในสตาร์ทอัพ Plenty
  20. Mapbox: แพลตฟอร์มแผนที่ออนไลน์สำหรับนักพัฒนา ได้รับเงินลงทุนไป 160 ล้านดอลลาร์
  21. Nauto: สตาร์ทอัพสาย AI ที่ทำเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่โดยเฉพาะ ได้รับเงินลงทุนไป 160 ล้านดอลลาร์
  22. Brain Corp: บริษัทนักพัฒนาสาย AI ที่ทำเรื่องรถยนต์ไร้คนขับ ได้รับเงินลงทุนไป 110 ล้านดอลลาร์