BF Economic Research
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ของไทย เดือนก.ค.62 อยู่ที่ 100.7 หดตัวลง -3.23% YoY จากเดือนก่อนที่ -5.3% โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนี ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำมันปิโตรเลียม เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์ยาง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องและคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง ยกเว้นน้ำมันปิโตรเลียมที่มีการซ่อมบำรุงโรงกลั่น
อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือน ก.ค.62 อยู่ที่ 68%
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหรือ สศอ. กล่าวว่า อุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวในเดือนก.ค. ได้แก่ การกลั่นและการผสมสุรา ขยายตัว 01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการตลาดโดยได้ปรับภาพลักษณ์ของสินค้าและการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีการตอบรับที่ดีทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัว 66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตลาดในประเทศที่มีความต้องการสินค้าต่อเนื่อง รวมถึงตลาดส่งออกได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศ CLMV โดยเฉพาะประเทศเวียดนามและเมียนมาร์
น้ำมันปาล์ม ขยายตัว 72% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มดิบที่เพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและส่งออกตามปริมาณผลปาล์มที่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก รวมถึงนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B20 เพื่อลดสต๊อกน้ำมันปาล์มและดึงราคาปาล์มให้สูงขึ้น
เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัว 91% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนทำด้วยไม้ โดยได้เร่งผลิตและส่งมอบตามคำสั่งซื้อของลูกค้าต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ขยายตัว 28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นน้ำแร่ เนื่องจากผู้ประกอบการได้ขยายตลาดในทุกช่องทางจัดจำหน่าย รวมถึงการปรับขนาดบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้น
นอกจากนี้ สศอ. ได้ปรับคาดการณ์ MPI และ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 62 เหลือโต 0 – 1.0% จากเดิมที่คาด 2-3%ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยสำคัญมาจากผลกระทบจากสงครามการค้าที่ทำให้การส่งออกสินค้าไทยลดลงและทำให้การผลิตสินค้าลดลงด้วย
ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดมีตลาดจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยการส่งออกอยู่ที่ประมาณ 46% ถือว่าครึ่งต่อครึ่ง เมื่อการค้าโลกเกิดปัญหาก็ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมติดลบ
ส่วนตลาดในประเทศที่กังวล คือ ภัยแล้ง เพราะตลาดในประเทศแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ จำนวนผู้มีงานทำในประเทศ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติอยู่ที่ 38 ล้านคน ซึ่งเป็นผู้มีรายได้และมีกำลังซื้อสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งในจำนวน 38 ล้านคนนี้เป็นผู้มีงานทำในภาคการเกษตร 12 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้มีรายได้และมีกำลังจับจ่ายใช้สอย ซึ่งถ้าประสบปัญหาภัยแล้ง กำลังซื้อ 1 ใน 3 จะหายไป ถ้ารายได้เกษตรกรลดลงก็จะส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงไปด้วย
สำหรับ MPI ทั้งปี สศอ มองว่า Worst Case อยู่ที่ 0 ถึง-1.0%