อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับลดลงประมาณ 0.25% ตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงในช่วง 0.33%-0.91% ซึ่งเป็นการปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และปัจจัยจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นผลจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และความเสี่ยง No-deal Brexit ที่สูงขึ้น รวมถึงการที่ธนาคารกลางทั่วโลกส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ด้าน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงไปอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 2 ปี หรือเกิดภาวะ Inverted Yield Curve สะท้อนความกังวลของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าที่รุนแรงขึ้น โดยตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้งในปีนี้ ทำให้ความต้องการพันธบัตรระยะยาวเพิ่มขึ้นจนอัตราผลตอบแทนลดต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่นายเจอโรม โพเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวในการประชุมประจำปีที่ Jackson Hole ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำและการบริโภคภาคเอกชนยังคงแข็งแกร่ง
สำหรับ ปัจจัยภายในประเทศ รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 7 สิงหาคม คณะกรรมการแสดงความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นความขัดแย้งทางการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ จึงมีมติ 5 ต่อ 2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.50% ด้านสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 2.3%YoY ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2557 สาเหตุหลักมาจากการส่งออกที่ยังคงหดตัว นอกจากนี้ สศช. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2562 จะขยายตัวในกรอบ 2.7-3.2% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนที่ 3.3-3.8%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะข้างหน้า ยังคงต้องติดตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนกันยายนนี้ และอาจส่งผลให้ธนาคารกลางอื่น ๆ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญคือทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่ามีโอกาสที่ ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากเศรษฐกิจชะลอตัวลง และธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ พากันปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาท
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับลดลงประมาณ 0.25% ตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงในช่วง 0.33%-0.91% ซึ่งเป็นการปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และปัจจัยจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นผลจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และความเสี่ยง No-deal Brexit ที่สูงขึ้น รวมถึงการที่ธนาคารกลางทั่วโลกส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ด้าน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงไปอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 2 ปี หรือเกิดภาวะ Inverted Yield Curve สะท้อนความกังวลของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าที่รุนแรงขึ้น โดยตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้งในปีนี้ ทำให้ความต้องการพันธบัตรระยะยาวเพิ่มขึ้นจนอัตราผลตอบแทนลดต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่นายเจอโรม โพเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวในการประชุมประจำปีที่ Jackson Hole ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำและการบริโภคภาคเอกชนยังคงแข็งแกร่ง
สำหรับ ปัจจัยภายในประเทศ รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 7 สิงหาคม คณะกรรมการแสดงความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นความขัดแย้งทางการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ จึงมีมติ 5 ต่อ 2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.50% ด้านสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 2.3%YoY ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2557 สาเหตุหลักมาจากการส่งออกที่ยังคงหดตัว นอกจากนี้ สศช. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2562 จะขยายตัวในกรอบ 2.7-3.2% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนที่ 3.3-3.8%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะข้างหน้า ยังคงต้องติดตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนกันยายนนี้ และอาจส่งผลให้ธนาคารกลางอื่น ๆ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญคือทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่ามีโอกาสที่ ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากเศรษฐกิจชะลอตัวลง และธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ พากันปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาท