BF Economic Research
ภาพรวมเดือนส.ค.
การส่งออกไทยเดือน ส.ค.อยู่ที่ 21,914.9 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -4.0% YoY (vs 4.28% เดือน ก.ค.) ส่วนการนำเข้า เดือนส.ค.อยู่ที่ 19,862.4 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -14.62% YoY (vs 1.7% YoY เดือน ก.ค.) การนำเข้าที่ลดลงต่อเนื่อง เป็นผลให้ ดุลการค้า เกินดุลเพิ่มขึ้น 2,052.6 ล้านดอลลาร์ฯ
สำหรับในช่วง 8 เดือนของปี 2019 (ม.ค.-ส.ค.) การส่งออกมีมูลค่ารวม 166,090.6 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ หดตัว -2.19% AoA การนำเข้ามีมูลค่ารวม 159,984.4 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวมากกว่า -3.61% ทำให้เกินดุลการค้า 6,106 ล้านดอลลาร์ฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 3,159 ล้านดอลลาร์ฯ
ถ้าไม่รวมทอง
ถ้าไม่รวมการส่งออกสินค้าทอง มูลค่าการส่งออกไทยจะติดลบที่ -9.62% YoY ทั้งนี้มูลค่าทองที่ไทยส่งออกในเดือนส.ค.อยู่ที่ 1,620.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็น 7.3%ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย
ประเทศผู้นำเข้าหลักทองจากไทย คือสวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ค้าทองหลักของโลก
ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยปรับดีขึ้น จากการนำเข้าที่ปรับตัวลงมาก เป็นผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก
ในรายสินค้า
สินค้าส่งออก 15 อันดับแรกโดยส่วนใหญ่หดตัวทั้งสิ้น ยกเว้นผลไม้แช่เย็นแช่แข็งและผลไม้อบแห้งที่ขยายตัวดี โดยประเทศที่นำเข้าหลักในกลุ่มผลไม้นี้คือจีน
สำหรับสินค้าเกษตรโดยรวมหดตัวเช่นกัน แต่สินค้าที่ยังขยายตัวได้คือ กลุ่มสัตว์ปีกและปศุสัตว์ ที่ไทยน่าจะได้รับออเดอร์มากขึ้นจาก ASF ด้านสินค้ากลุ่มเกษตรแปรรูปที่ขยายตัวได้คือ น้ำตาลและแป้งสาลี
สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมอัญมณี) หดตัวทั้งหมด สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญของไทย เช่น ยานยนต์ เครื่องประมวลผลข้อมูล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ โพลีเมอร์หดตัว 2-digit สินค้าประเภทสินแร่ เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันกลั่น และ LPG หดตัวจาก ปัจจัยด้านราคา
ในรายประเทศ
การส่งออกของไทยไป 15 ประเทศคู่ค้าแรกส่วนใหญ่หดตัว ยกเว้นสหรัฐฯ ออสเตรเลียและสวิตเซอร์แลนด์ (สองประเทศหลังนำเข้าทองเป็นหลัก) โดยสหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น 5.85% สินค้าที่สหรัฐฯสั่งจากไทยเพิ่มขึ้นคือกลุ่ม ยานยนต์ ยาง โทรทัศน์วิทยุ และ Semiconductor การส่งออกไปจีนหดตัว -2.72% โดยจีนสั่งสินค้าจากไทยลดลงเป็นส่วนใหญ่ สำหรับสินค้าที่ขยายตัวดีคือ ผลไม้แช่แข็งตากแห้ง Curcuit Board ยานยนต์ และ ทองแดง
ด้านการส่งออกไปอาเซียน หดตัว -23.85% เป็นการหดตัวจากทุกรายการสินค้าหลัก สำหรับการส่งออกไปยุโรป 15 หดตัว -6.24% YoY โดยสินค้ากลุ่ม TV และวิทยุหดตัวแรงที่ -32.9% แต่สินค้าที่ยังขยายตัวได้ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักร มอเตอร์ไซค์ ยาง
Bottom Line
ส่งออกหดตัว แต่นำเข้าหดตัวมากกว่า ทำให้ดุลการค้าบวกสูง และทำให้ Current Account ปิดบวกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไปกดดันค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทั้งที่อุปสงค์ในประเทศและยอดออเดอร์ส่งออกไม่ดี