BF Economic Research
เหตุการณ์สำคัญเดือน ก.ย.
ยุโรป : ECB ลดดอกเบี้ยลง 10bps เป็น -0.5% และประกาศทำ QE ที่อัตรา EUR 20bn ต่อเดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ขณะที่มองเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปี 2020 อ่อนแอลง
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate ลง -10bps เป็น -0.5% และคงอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Rate ที่ 0.0% และอัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Rate ที่ 0.25% โดยระบุว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับนี้หรือต่ำกว่า “จนกว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%” ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากการประชุมรอบก่อนที่ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังไม่ปรับเพิ่มขึ้น “จนกว่าจะถึงกลางปี 2020 เป็นอย่างน้อย”
- ด้านการแก้ปัญหาผลกระทบต่อระบบธนาคารจากอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบเป็นระยะเวลานาน ECB ได้ประกาศว่าจะใช้ระบบ “Tiering system” ซึ่งจะยกเว้นเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ ECB บางส่วนจากดอกเบี้ยติดลบ เช่นเดียวกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ธนาคารกลางเดนมาร์ก (DNB) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB)
- นอกจากนี้ ECB ได้ประกาศจะกลับมาใช้มาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์หรือทำ QE อีกครั้ง โดยจะเข้าซื้อที่อัตรา 20bn eur ต่อเดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. โดยยังไม่กำหนดเวลาสิ้นสุดของมาตรการที่ชัดเจน แต่ระบุเพียงว่าจะเข้าซื้อจนกว่าคาดการณ์เงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่อัตราดอกเบี้ยจะสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ และระบุว่าจะยังคงทำการซื้อคืนพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุ (Reinvestment) ต่อไปเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างน้อยเพื่อหนุนสภาพคล่องในระบบ
- ส่วนโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (TLTRO3) ซึ่งจะเริ่มปล่อยระลอกแรกในเดือนนี้ ECB ได้ทำการผ่อนคลายเงื่อนไขลง โดยลดอัตราดอกเบี้ยที่จะคิดกับธนาคารพาณิชย์ลงจากเดิมที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ Deposit rate+0.1% (หรือ-0.4% ณ ขณะนี้) เป็นคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ Deposit rate (หรือ -0.5% ณ ขณะนี้) และขยายระยะเวลากำหนดชำระคืน (Maturity) เป็น 3 ปี จากเดิมที่ 2 ปี
- นาย Mario Draghi ประธาน ECB กล่าวว่าเศรษฐกิจของกลุ่มส่งสัญญาณอ่อนแอลงกว่าที่เคยคาดไว้ก่อนหน้านี้ จากผลกระทบของการค้าโลกที่ชะลอลงมากเป็นสำคัญ โดยในการประชุมรอบนี้ ECB ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ลง -0.1ppt เป็น 1.1% และของปี 2020 ลง -0.2ppt เป็น 1.2% และปรับลดประมาณการเงินเฟ้อปีนี้ลง -0.1ppt เป็น 1.2% และของปี 2020 ลง -0.4ppt เป็น 1.0% ซึ่งการปรับลดดังกล่าวเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ ECB ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมในครั้งนี้
- นอกจากนี้ นาย Draghi ระบุว่าประเทศต่างๆ ในกลุ่มควรที่จะผ่อนคลายนโยบายการคลังของตนด้วย ทั้งการลดภาษีและเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อเป็นอีกแรงหนุนที่จะพยุงไม่ให้เศรษฐกิจของกลุ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤต โดยนาย Draghi ระบุนโยบายการคลังจะต้องกลับมาเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจหลัก
- คำกล่าวของนาย Draghi สะท้อนได้ว่าผลดีจากการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเริ่มมีจำกัดแล้ว โดยประสิทธิผลของการส่งผ่านของเครื่องมือทางการเงินสู่ระบบเศรษฐกิจจริงเริ่มมีลดลง ขณะที่เครื่องมือทางการเงินที่ ECB สามารถใช้ได้ก็เริ่มพบกับข้อจำกัด โดยเฉพาะข้อจำกัดตามกฎหมายในการทำ QE ได้แก่ การห้าม ECB ถือครองพันธบัตรของแต่ละประเทศสมาชิกเกิน 33% ของปริมาณพันธบัตรที่มีทั้งหมดในตลาด (33% issuer limit) และการที่ ECB จะต้องเข้าซื้อพันธบัตรของแต่ละประเทศสมาชิกตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ตาม Capital Key นอกจากนี้ การใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นระยะเวลานานก็นับเป็นการส่งผลเสียต่อภาคธนาคารที่อ่อนแออยู่แล้ว
- Implication -> Ger Bund turned negative started in Mar, CHF turned negative in 2015, and JGB swing to negative zone started in Dec 2018
สหรัฐฯ : Fed ลดดอกเบี้ยลง 25bps เป็น 1.75-2.00% Median Dot plot ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันไปถึงสิ้นปี 2020
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ 7:3 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate) ลง 25bps เป็น 1.75%-2.00% เป็นการลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งแรกในการประชุมปลายเดือน ก.ค.) เนื่องด้วย Fed กังวลความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก
- สำหรับคาดการณ์ดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า ค่ากลาง Dot plot ล่าสุดชี้ว่า Fed มองดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน (1.75%-2.00%) ไปจนถึงสิ้นปี 2020 อย่างไรก็ดี มีคณะกรรมการ 7 จากทั้งหมด 17 ท่าน ที่มองว่า Fed ควรลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้งในปีนี้ ขณะที่คณะกรรมการ 5 ท่านมองว่าควรปรับขึ้นดอกเบี้ย และอีก 5 ท่านมองว่าควรคงดอกเบี้ย
- ถึงแม้ว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยแต่ในการประชุมรอบนี้ Fed ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปีนี้ขึ้น +0.1ppt เป็น 2.2% ขณะที่คงปี 2020 ไว้ที่ 2.0% โดย Fed มองการบริโภคภาคเอกชนเร่งตัวขึ้นแข็งแกร่ง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและส่งออกอ่อนแอลงต่อ ส่วนเงินเฟ้อ Fed คงคาดการณ์เงินเฟ้อ Core PCE ปีนี้และปี 2020 ไว้ที่ 1.8% และ 1.9% ตามลำดับ สะท้อนเงินเฟ้อที่จะยังขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% นอกจากนี้ Fed ปรับเพิ่มอัตราการว่างงานปีนี้ขึ้น +0.1ppt เป็น 3.7%
- ประธานเฟดได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสภาพคล่องในตลาดที่ตึงตัวเช่นเดียวกัน ว่าได้ปล่อยสภาพคล่องไปสองวันคือวันที่ 17 -23รวมทั้งสิ้น ราวสี่แสนล้านดอลลาร์ฯ เนื่องด้วยธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินสดเพื่อจ่ายภาษี ทั้งนี้ ประธานเฟดกล่าวว่าจะรักษาสภาพคล่องให้เพียงพอ อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ Fed ได้ยุติ Balance Sheet Runs Off ไปเมื่อเดือนส.ค. ปรากฏว่างบดุลของ Fed ได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนก.ย. ทำให้ตลาดคาดหวังว่าท้ายสุด Fed อาจจะเข้าสู่การทำ QE เต็มรูปแบบ
ญี่ปุ่น
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติ 7-2 คงนโยบายผ่อนคลายการเงินเดิมตามที่คาด ได้แก่
- คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% สำหรับเงินสำรองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ (Excess Reserves) บางส่วน
- คงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control: YCC) ไว้ที่ “ประมาณ 0%” และเคลื่อนไหวในกรอบ +/- 0.2%
คงอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี - และย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและยาวจะคงอยู่ที่ระดับต่ำนี้ต่อไป ‘จนถึงกลางปี 2020 เป็นอย่างน้อย’ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ โดยเฉพาะจากพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากการขึ้นภาษีการบริโภคซึ่งมีกำหนดเดือน ต.ค.นี้
- แถลงการณ์การประชุมระบุ BoJ จะจับตาดูผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงต่อเนื่องและความเสี่ยงด้านต่ำที่มีเพิ่มมากขึ้นต่อแรงกดดันของเงินเฟ้อ โดย BoJ ระบุว่าจะกลับมาพิจารณาเศรษฐกิจและพัฒนาการของเงินเฟ้ออีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไปปลายเดือน ต.ค. ซึ่งเรามองว่าการระบุถึงเรื่องดังกล่าวนับเป็นการย้ำและสร้างความมั่นใจให้กับตลาดว่า BoJ ยังมีเครื่องมือพร้อมใช้หากมีความจำเป็น ต่อเนื่องจากการประชุมรอบก่อนในเดือน ก.ค. ที่ BoJ ระบุว่าว่าหากพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอเริ่มกดดันเศรษฐกิจในประเทศและเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญก็พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม
- ส่วนการเคลื่อนไหวของ Bond Yield อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจนหลุดเป้าหมายของมาตรการ YCC ที่กำหนดเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ประมาณ “0%” และหลุดกรอบล่างของการเคลื่อนไหวที่ +/- 0.2% นาย Hiruhiko Kuroda ผู้ว่าฯ ธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า หากการปรับลดลงดังกล่าวสอดคล้องกับการปรับลดลงของ Bond Yield ทั่วโลกก็จะยอมให้ Bond Yield เคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่นและจะใช้วิธีการปรับเปลี่ยนอัตราการเข้าซื้อพันธบัตรในการพยุงไม่ให้ Bond Yield ลดต่ำกว่ากรอบเป้าหมายมากเกินไป
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ถูกปรับประมาณการลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 1.8% QoQ saar เป็น 1.3% QoQ saar เนื่องจากการปรับลดของตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลัก ขณะที่การส่งออกในเดือน ส.ค. ยังคงติดลบต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการนำเข้าที่หดตัวมากกว่า ทำให้การขาดดุลการค้ามีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เรามองว่า ภาคการค้าต่างประเทศจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนในไตรมาส 4 จะมีปัจจัยลบจากผลของการขึ้น VAT ในเดือน ต.ค. เพิ่มเติม
จีน
- ภาพรวมเศรษฐกิจจีนยังคงชะลอตัวโดย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ส.ค. ชะลอตัวลงเป็น 4.4% YoY จาก 4.8% YoY ในเดือนก่อน โดยนับเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 11 ปี ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน ส.ค. ชะลอตัวลงเป็น 7.5% YoY จาก 7.6% YoY ในเดือนก่อน โดยยอดขายรถยนต์หดตัวเพิ่มขึ้น (-8.1% YoY vs. -2.6% เดือนก่อน)
- การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) เดือน ส.ค. ชะลอตัวลงเป็น 5.5% YoY YTD จาก 5.7% ในเดือนก่อน จากการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิต (2.6% vs. 3.3% เดือนก่อน) ที่ชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานฟื้นตัวขึ้น (4.2% vs. 3.8% เดือนก่อน)ด้าน ยอดระดมทุนรวมสุทธิ (Total Social Financing) เดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 1,980bn rmb จาก 1,011.2bn rmb ในเดือนก่อนด้านธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้ปรับลด RRR ลงอีกทำให้เราคาดว่าในเดือน ก.ย. จะเห็นตัวเลขสินเชื่อดีกว่านี้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (LPR) ของจีนปรับลดลงเล็กน้อยจาก 4.25% มาที่ 4.2 ทำให้เราเชื่อว่า PBoC จะต้องปรับลด MLF ลงอีกเพื่อกดดัน LPR
อาเซียน
- เศรษฐกิจอาเซียน (ยกเว้นเวียดนาม) ได้รับแรงกระทบจากสงครามการค้า โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่ตัวเลขเศรษฐกิจถูกกระทบจากกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม และ PMI ดูไม่ดี เราคาดว่า MAS จะต้องผ่อนคลายความชันของ SGD NEER ให้ความชันอยู่ที่ 0% ขณะเดียวกันประเทศอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์หรือ BSP มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps สู่ 4.0% และรัฐบาลมีแผนกู้เงิน 1.4 ล้านล้านเปโซ เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างภายใต้ Build Build Build
- ส่วนธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ก็ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps เช่นเดียวกันในการประชุมเดือนก.ย. สู่ระดับ 5.25% ซึ่งเป็นการปรับลดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สอดคล้องกับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในกรอบของ BI และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยกว่า -3% ของ GDP ด้านมาเลเซีย รัฐบาลเตรียมเสนองบประมาณเข้าสภาในวันที่ 11 ต.ค. โดยเราคาดว่า งบประมาณในปี 2020 จะมีแผนกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐประมาณ -3.2% ของ GDP เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจมาเลเซียท่ามกลางผลกระทบที่เกิดจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯและจีน โดยมาตรการต่างๆ จะเน้นไปที่ผู้มีรายได้น้อยและ SME เป็นหลัก ขณะที่ภาคธุรกิจที่น่าจะได้รับอานิสงส์มากที่สุด ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการก่อสร้างและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
- ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ประกาศปรับลดดอกเบี้ยลง 25 bps เป็น 6.0% เนื่องจากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed และ ECB ที่หันมาผ่อนคลายมากขึ้น รวมทั้งเพื่อช่วยอัตราดอกเบี้ยในตลาดเวียดนามมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี SBV นับเป็นธนาคารกลางที่มีการใช้เครื่องทางการเงินต่างจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน คือ ใช้การควบคุม credit growth เป็นเครื่องมือหลัก โดยในปี 2019 SBV จะควบคุมไม่ให้ credit growth ของทั้งปีเกิน 14% เพื่อให้ส่งผลต่อไปยังการเติบโตของ GDP เงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน
อินเดีย
- รัฐบาลอินเดียประกาศลดภาษี CIT ลงจาก 30% สู่ 22%เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ได้ออกมาตรการเพื่อให้ การก่อสร้าง ภาคธนาคาร ตลาดทุน สินเชื่อบ้าน การส่งออก มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นแนวโน้มที่ดีในเชิงนโยบาย แต่ในเชิงโครงสร้างนั้นเศรษฐกิจอินเดียยังถือว่าเปราะบาง เนื่องจากปัญหา Shadow Banking ในกลุ่ม Non-bank FI นำโดย IL&FS ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด Default และทำให้ภาคธนาคารได้รับผลกระทบ ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดของอินเดียขาดดุลต่อเนื่องเหตุจากการส่งออกได้รับผลกระทบจาก Trade war ทำให้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าต่อเนื่อง
ไทย
- ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนล่าสุด สะท้อนว่าการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่อง กระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้กำลังการผลิต และด้วยการนำเข้าหดตัวแรงกว่าการส่งออก ก็ไปกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าทั้งที่ Econ Fundamentals ไม่เอื้ออำนวย ด้านการท่องเที่ยว มีการคาดการณ์กว่า ช่วงวันหยุดวันชาติจีนอาจจะทำให้การท่องเที่ยวไทยกระเตื้องได้บางส่วน อย่างไรก็ดีอุทกภัยภาคอีสาน/เหนือ และภาคใต้ตะวันออกบางส่วน น่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรไปถึงสิ้นปีมีส่วนกดดันการบริโภคของไทย ขณะที่ยอดขาดรถยนต์ในประเทศหดตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง
- สำหรับการประชุมกนง. ในวันที่ 25 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% (25 ก.ย.)
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 7 ต่อ 0 เสียงให้คงดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ระดับ1.50% นอกจากนี้ ยังประกาศลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยลงทั้งในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.8% จาก 3.3% ที่ประกาศในเดือน มิ.ย. โดยคาดว่าการส่งออกจะหดตัว -1.0% และลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2020 ลงมาอยู่ที่ 3.3% จาก 3.7% ตามลำดับ
- ความเห็นของ กนง. ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทย
- เศรษฐกิจไทยอ่อนแอลงทุกภาคส่วน การส่งออกหดตัวลงมาก เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าอ่อนแอลงตามนโยบายกีดกันทางการค้าและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวช้า ส่วนการท่องเที่ยวชะลอตัวลง ด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากรายได้และการจ้างงานที่ลดลง กอปรกับผลกระทบของภัยธรรมชาติ แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนชะลอตัว
- อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ภาวะการเงินผ่อนคลาย แต่สินเชื่อธุรกิจและครัวเรือนชะลอลง และเงินบาทแข็งค่ากว่าคู่ค้าคู่แข่งซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจมากขึ้น และ ธปท. จะพิจารณามาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติมตามความจำเป็น
- ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังคงกังวลต่อพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูงในภาวะดอกเบี้ยต่ำ และภาระหนี้สินของครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ที่สูง โดยมองว่ามาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้ดูแลความเปราะบางไปบางส่วนแล้ว
Timeline
14 ส.ค.
- ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ประกาศชะลอการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่ 10% สำหรับสินค้าบางรายการ ออกไปเป็นวันที่ 15 ธ.ค. (จากเดิมวันที่ 1 ก.ย.) ซึ่งโดยมากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคสำคัญได้แก่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ และของเล่นบางอย่าง มูลค่ารวมราว 155 bn usd
- สำหรับสินค้ากลุ่มที่เหลือ มูลค่าราว 103 bn usd จะยังคงถูกปรับขึ้นภาษีนำเข้าที่ 10% ในวันที่ 1 ก.ย. ตามกำหนดการเดิม ซึ่งสินค้าที่สำคัญได้แก่ สินค้าเกษตร ของสะสมโบราณ เสื้อผ้าและรองเท้า และเครื่องครัว
- นอกจากนี้ สินค้าบางรายการ (มูลค่าราว 2 bn usd) ถูกถอดออกจากรายชื่อสินค้าที่จะถูกปรับขึ้นภาษีนำเข้าไปเลย โดยรัฐบาลให้เหตุผลถึงความจำเป็นด้านสุขภาพ ความมั่นคงระหว่างประเทศ และอื่นๆ
23 ส.ค.
- รัฐบาลจีนประกาศจะปรับขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 5-10% กับสินค้าสหรัฐฯ กว่า 5,000 รายการมูลค่ารวม 75bn usd ซึ่งรวมถึงถั่วเหลือง รถยนต์ และน้ำมันดิบ เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพิ่มเติม 10% กับสินค้าในกลุ่มสุดท้าย (มูลค่าราว 300bn usd) โดยการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของจีนนั้นจะแบ่งเป็น 2 รอบเช่นเดียวกับของสหรัฐฯ
- กล่าวคือ รอบแรกวันที่ 1 ก.ย. รัฐบาลจีนจะปรับขึ้นภาษีนำเข้าที่อัตรา 5% กับถั่วเหลืองและน้ำมันดิบ และปรับขึ้นที่อัตรา 10% กับเนื้อหมู ไก่ เนื้อวัว สินค้าเกษตรอื่นๆ และเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ และรอบสองวันที่ 15 ธ.ค. จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าที่อัตรา 5% กับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและชิ้นส่วนยานยนต์ และปรับขึ้นที่อัตรา 10% กับข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ผ้าฝ้าย และรถยนต์ นอกจากนี้ รัฐบาลจะปรับภาษีนำเข้ารถยนต์ขึ้น 25% (ที่ได้ระงับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว) ซึ่งจะส่งผลให้ภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐฯ อาจสูงถึง 50%
- หลังจากนั้นในวันเสาร์ ปธน. Donald Trump ประกาศจะตอบโต้จีนด้วยการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าจีนกลุ่ม 250bn usd ที่ถูกปรับขึ้นภาษีไปแล้วจากเดิม 25% เป็น 30% ให้มีผลในวันที่ 1 ต.ค. และปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนกลุ่มสุดท้าย (ก้อน 300bn usd) ขึ้นเป็น 15% (จากเดิม 10%) ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ก.ย. และ 15 ธ.ค.
- โดยปธน. Trump ได้ทวีตข้อความโต้ตอบจีนว่าสหรัฐฯ ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาจีน และเรียกร้องให้บริษัทสหรัฐฯ ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน และกลับมาที่สหรัฐฯ
30 ส.ค.
- สองประเทศเห็นตรงกันว่าจะเจรจากันอีกครั้งในเดือนก.ย. ต่อมาภายหลังได้เลื่อนการเจรจาไปเป็นเดือน ต.ค.
12 ก.ย.
- ล่าสุดข้อมูลวันที่ 12 ปธน.สหรัฐฯ ได้เลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าบนก้อน 2.5 แสนล้านดอลลาร์ฯออกไปภายหลังจากที่จีนยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้า 16 รายการไปถึงเดือนก.ย. 2020 ตลาดคลายความกังวลมากขึ้นภายหลังจากที่จีนแสดงความจำนงว่าจะซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ เพิ่มอีก
(10-11 ต.ค. ที่ CNBC เผย)
- การเจรจาการค้าระดับสูงระหว่างสหรัฐฯ กับจีนรอบใหม่ที่สหรัฐฯ นำโดยนาย Liu He รองนายกฯด้านเศรษฐกิจจีน นาย Stven Mnuchin รมว.คลังสหรัฐฯ และนาย Robert Lighthizer ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ
- ตัวที่โดน attack ตรงนี้จริงๆ คือ กลุ่มก่อการร้ายฮุติ ออกมา claim ว่า เป็นคนใช้ โดรน โจมตีโรงงานแปรรูปน้ำมัน คือ เป็นหน่วยเตรียมหรือปรับปรุงคุณภาพน้ำมันก่อนจะไปผลิต โรงงานแปรรูปนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่โดนโจมตี abquai และ kurai ซึ่ง หลักๆ supply น้ำมันที่จะหายไปคือส่วน extra light and arab light เคย attack เบาๆ ตอนปี 2006 และ securty คือดีมากๆ น้ำมันพวกนี้ ก็จะถูก supply ผ่าน pipeline (east-west) เพื่อจะลำเลียงไปส่งออก ทำให้ ซาอุดิต้องหยุดผลิตน้ำมันไป ประมาณ 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 5% ของน้ำมันที่ผลิตทั้งโลก ง่ายๆ คือ หายไปครึ่งหนึ่งจากการผลิตเดิม
- มี conspiracy theory เล็กน้อย คือ ก่อนจะโดน attack เอง saudi เปลี่ยน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ ซึ่งเป็น king เอง แล้วก็ออกมายืยันว่า opec+ คือรวมพันธมิตร จะปรับลดกำลังการผลิตออกไปอีกสักระยะ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน
- ถามว่าตอนนี้ ตลาดมองอย่างไร คือตลาดไม่เชื่อว่า saudi จะกลับมาผลิตได้ที่ระดับเดิมเร็วขนาดที่ตัวเองประกาศเอาไว้ เดิมทีบอกว่าไว้จะสามารถกลับมาผลิตได้ใน -3 weaks ตัวนี้เป็น swing factor เลย
- ตัว abqaia เป็น large and complex facility คือ เอาง่ายๆ ว่าเป็น critical compotentt of the Saudi oil infrastructure เวลาซ่อมส่วนใหญ่ที่ช้าคือ spcial parts and speical steeel ที่จะจัดการกับ sulphur เพราะตัว hydrogen sulphile ตรง stabilisation unit ที่โดน hit ราคาน้ำมันก็จะขึ้นอยู่กับว่า ไม่น่าซ่อมเสร็จภายในสิ้นเดือน
- Wild card ครั้งนี้ คือ หลายๆ ประเทศ ทั้ง US UK Germany ออกมากล่าวหาว่า อิหร่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง แต่อิหร่านก็ไม่ได้ออกมายอมรับ เพราะตัวนี้จะเป็นการสำคัญว่า US และหลายๆ ประเทศ จะ lift sanction ให้อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบออกมาเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ จริงๆ ก่อนหน้านี้ US กับ อิหร่าน ดูเหมือนจะดีขึ้น หลายๆ คนก็มี hope ว่า อิหร่านจะกลับมาส่งออกน้ำมั้นดิบได้อีกครั้ง เพราะว่า John Bolton คนที่เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคง โดนปลด ก็เลยดูเหมือน situation กับอิหร่าน จะดู relax ขึ้น
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% (25 ก.ย.)
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 7 ต่อ 0 เสียงให้คงดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ระดับ1.50% นอกจากนี้ ยังประกาศลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยลงทั้งในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.8% จาก 3.3% ที่ประกาศในเดือน มิ.ย. โดยคาดว่าการส่งออกจะหดตัว -1.0% และลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2020 ลงมาอยู่ที่ 3.3% จาก 3.7% ตามลำดับ
ความเห็นของ กนง. ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยอ่อนแอลงทุกภาคส่วน การส่งออกหดตัวลงมาก เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าอ่อนแอลงตามนโยบายกีดกันทางการค้าและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวช้า ส่วนการท่องเที่ยวชะลอตัวลง ด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากรายได้และการจ้างงานที่ลดลง กอปรกับผลกระทบของภัยธรรมชาติ แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนชะลอตัว
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ภาวะการเงินผ่อนคลาย แต่สินเชื่อธุรกิจและครัวเรือนชะลอลง และเงินบาทแข็งค่ากว่าคู่ค้าคู่แข่งซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจมากขึ้น และ ธปท. จะพิจารณามาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังคงกังวลต่อพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูงในภาวะดอกเบี้ยต่ำ และภาระหนี้สินของครัวเรือนและธุรกิจ sMEs ที่สูง โดยมองว่ามาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้ดูแลความเปราะบางไปบางส่วนแล้ว