รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ถ่านหินยังคงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่การใช้งานจะเพิ่มขึ้น และสูงสุดในปี 2027 ก่อนเริ่มชะลอตัวลง
Wood Mackenzie บริษัทที่ปรึกษาด้านสินค้าโภคภัณฑ์ ระบุว่า “Coal is still king in Southeast Asia’s power market” ทำให้เห็นว่าถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้อุตสาหกรรมถ่านหินจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ว่าถ่านหินก่อให้เกิดมลพิษ แต่ข้อมูลจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) กลับสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการถ่านหินทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นปีที่สองติดต่อกันถึง โดยเพิ่มขึ้น 0.7% ในปี 2018
ถ่านหินจะยังคงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการใช้งานจะเพิ่มขึ้นและสูงสุดในปี 2027 ก่อนที่จะชะลอตัวลง ภายในปี 2040 โดยถ่านหินจะคิดเป็นสัดส่วน 36% ของพลังงานผสมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับการผลิตพลังงาน
ทั้งนี้ความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงผลักดันหลักจากอินโดนีเซียและเวียดนาม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 60% ของความต้องการพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีความต้องการต่อเนื่องจนถึงปี 2040
นักวิเคราะห์จาก Moody กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 23% ภายในปี 2025 เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่าเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จเพราะแผนการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ยังคงเป็นถ่านหิน