อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในตราสารระยะสั้นประมาณ 1-8 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3 bps. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นหลังความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีท่าทีผ่อนคลาย ส่งผลให้แรงซื้อในตลาดพันธบัตรซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง
อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย แม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง แต่จากแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ รวมถึงปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่เปิดประมูลขาย (Government Bond Supply) น้อยลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ เป็นปัจจัยกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง
ประเด็นสำคัญที่กระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนนี้ ได้แก่ ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ผ่อนคลายลงภายหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ จากวันที่ 1 ตุลาคมไปเป็นวันที่ 15 ตุลาคม หรือเลื่อนออกไป 2 สัปดาห์ เพื่อรอผลการเจรจาการค้ากับจีนในช่วงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ทางการจีนได้ออกมาประกาศยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าให้กับสินค้า 16 ชนิดของสหรัฐฯ ทำให้บรรยากาศการเจรจาทางการค้าดีขึ้น
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 17-18 กันยายน มีมติ 7 ต่อ 3 เสียงให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Rate) ลง 0.25% สู่ระดับ 1.75%-2.00% ตามที่ตลาดคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแถลงการณ์ภายหลังการประชุมยังระบุว่าตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวขึ้นในระดับปานกลาง การใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวขึ้นในระดับแข็งแกร่ง แต่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจชะลอตัวลง ขณะที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2%
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 กันยายน มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ โดย กนง. ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้เดิมและปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2562 มาอยู่ที่ 2.8% (จากเดิม 3.3%) ปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกที่หดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลง รวมทั้งวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่งผลไปสู่อุปสงค์ในประเทศ
สำหรับอัตราเงินเฟ้อ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2562 จะอยู่ที่ 0.8% ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 1.0% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 0.6% ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 0.7% ขณะที่ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกันยายน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงมาอยู่ที่ 0.32% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.52% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงมาอยู่ที่ 0.44% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.49%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะข้างหน้ายังต้องติดตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีนในช่วงต้นเดือนตุลาคม ขณะที่ยังเหลือการประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งต้องติดตามท่าทีว่าอาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 0.25% สู่ระดับ 1.50%-1.75% หรือไม่ ด้านปัจจัยในประเทศ กองทุนบัวหลวง คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ตลอดปีนี้ อย่างไรก็ตาม จะต้องติดตามการเปิดเผยมุมมองของธปท. ต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธปท. ในระยะต่อไป
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในตราสารระยะสั้นประมาณ 1-8 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3 bps. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นหลังความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีท่าทีผ่อนคลาย ส่งผลให้แรงซื้อในตลาดพันธบัตรซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง
อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย แม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง แต่จากแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ รวมถึงปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่เปิดประมูลขาย (Government Bond Supply) น้อยลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ เป็นปัจจัยกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง
ประเด็นสำคัญที่กระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนนี้ ได้แก่ ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ผ่อนคลายลงภายหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ จากวันที่ 1 ตุลาคมไปเป็นวันที่ 15 ตุลาคม หรือเลื่อนออกไป 2 สัปดาห์ เพื่อรอผลการเจรจาการค้ากับจีนในช่วงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ทางการจีนได้ออกมาประกาศยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าให้กับสินค้า 16 ชนิดของสหรัฐฯ ทำให้บรรยากาศการเจรจาทางการค้าดีขึ้น
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 17-18 กันยายน มีมติ 7 ต่อ 3 เสียงให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Rate) ลง 0.25% สู่ระดับ 1.75%-2.00% ตามที่ตลาดคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแถลงการณ์ภายหลังการประชุมยังระบุว่าตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวขึ้นในระดับปานกลาง การใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวขึ้นในระดับแข็งแกร่ง แต่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจชะลอตัวลง ขณะที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2%
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 กันยายน มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ โดย กนง. ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้เดิมและปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2562 มาอยู่ที่ 2.8% (จากเดิม 3.3%) ปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกที่หดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลง รวมทั้งวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่งผลไปสู่อุปสงค์ในประเทศ
สำหรับอัตราเงินเฟ้อ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2562 จะอยู่ที่ 0.8% ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 1.0% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 0.6% ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 0.7% ขณะที่ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกันยายน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงมาอยู่ที่ 0.32% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.52% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงมาอยู่ที่ 0.44% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.49%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะข้างหน้ายังต้องติดตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีนในช่วงต้นเดือนตุลาคม ขณะที่ยังเหลือการประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งต้องติดตามท่าทีว่าอาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 0.25% สู่ระดับ 1.50%-1.75% หรือไม่ ด้านปัจจัยในประเทศ กองทุนบัวหลวง คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ตลอดปีนี้ อย่างไรก็ตาม จะต้องติดตามการเปิดเผยมุมมองของธปท. ต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธปท. ในระยะต่อไป