บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นโลกผ่อนคลายมากขึ้น จากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่ตลาดจับตามองนั้น มีพัฒนาการออกมาในเชิงบวก ทั้งการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ใกล้จะบรรลุข้อตกลงเฟสแรกร่วมกันได้ และ Brexit ที่สามารถเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไปได้อีก 3 เดือน
ทว่า ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกมาเพิ่มเติมนั้น ยังส่งสัญญาณชะลอตัวลง เช่น ดัชนี ISM ภาคการผลิตของสหรัฐ ออกมาที่ 47.8 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และยูโรโซน PMI หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และ GDP ไตรมาส 3 ของจีนโต 6% ต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวอาจจะเป็นตัวชี้วัดที่ตามหลังภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ตลาดกำลังตั้งความหวังว่า การผ่อนคลายนโยบายการเงินลงรอบใหม่นี้จะเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้
ถ้าดูที่นโยบายการเงิน สภาพคล่องทางการเงินโลกที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนสินทรัพย์เสี่ยง และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐครั้งล่าสุดนั้น ก็ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามตลาดคาด
อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งนี้ ถือเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเท่ากับจำนวนการลดดอกเบี้ยในช่วงกลางวัฏจักรเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว และถ้อยแถลงของ Fed หลังการประชุมก็ส่งสัญญาณว่า Fed มีแนวโน้มที่จะพักวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลังจากนี้ ดังนั้นการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปในอนาคตนั้นจึงสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเศรษฐกิจโลกปรับตัวฟื้นขึ้น หรือ Fed จะ ‘behind the curve’ อีกครั้ง
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลก ส่วนหนึ่งจาก Fund Flow ต่างชาติที่ยังคงไหลออกอยู่ และอิทธิพลของการปรับสัดส่วน MSCI ที่เพิ่มน้ำหนักหุ้น A-Share โดยในเดือนพฤศจิกายน จะมีการเพิ่มเฟสสุดท้ายจาก 15% เป็น 20%
ขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐาน คาดว่าผลประกอบการไตรมาสสามจะชะลอตัวลง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องและความกังวลว่าสงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากขึ้น โดยในเดือนตุลาคมนี้ตลาดปรับตัวลงประมาณ 2% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิประมาณ 7.8 พันล้านบาท เป็นการขายต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม แต่ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.17 หมื่นล้านบาท
การลงทุนในช่วงปลายปีต่อต้นปีหน้ามีโอกาสเป็นเชิงบวกมากขึ้น หนุนโดยปัจจัยภายนอกที่ผ่อนคลายมากขึ้น และจากปัจจัยภายใน โดยคาดว่างบประมาณปี 2563 จะสามารถเบิกจ่ายได้ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2563 และการลงทุนภาคเอกชน จากการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC หลังรัฐบาลสามารถสร้างความคืบหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การลงทุนจะเป็นไปแบบ Selective มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เติบโตชะลอลง และยังคงมีความเปราะบางอยู่ จึงเชื่อว่า ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด และเลือกลงทุนหุ้นที่มีแนวโน้มธุรกิจดี ผลการดำเนินงานดี และมีระดับราคาเหมาะสมในการเข้าลงทุน
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นโลกผ่อนคลายมากขึ้น จากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่ตลาดจับตามองนั้น มีพัฒนาการออกมาในเชิงบวก ทั้งการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ใกล้จะบรรลุข้อตกลงเฟสแรกร่วมกันได้ และ Brexit ที่สามารถเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไปได้อีก 3 เดือน
ทว่า ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกมาเพิ่มเติมนั้น ยังส่งสัญญาณชะลอตัวลง เช่น ดัชนี ISM ภาคการผลิตของสหรัฐ ออกมาที่ 47.8 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และยูโรโซน PMI หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และ GDP ไตรมาส 3 ของจีนโต 6% ต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวอาจจะเป็นตัวชี้วัดที่ตามหลังภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ตลาดกำลังตั้งความหวังว่า การผ่อนคลายนโยบายการเงินลงรอบใหม่นี้จะเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้
ถ้าดูที่นโยบายการเงิน สภาพคล่องทางการเงินโลกที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนสินทรัพย์เสี่ยง และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐครั้งล่าสุดนั้น ก็ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามตลาดคาด
อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งนี้ ถือเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเท่ากับจำนวนการลดดอกเบี้ยในช่วงกลางวัฏจักรเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว และถ้อยแถลงของ Fed หลังการประชุมก็ส่งสัญญาณว่า Fed มีแนวโน้มที่จะพักวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลังจากนี้ ดังนั้นการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปในอนาคตนั้นจึงสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเศรษฐกิจโลกปรับตัวฟื้นขึ้น หรือ Fed จะ ‘behind the curve’ อีกครั้ง
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลก ส่วนหนึ่งจาก Fund Flow ต่างชาติที่ยังคงไหลออกอยู่ และอิทธิพลของการปรับสัดส่วน MSCI ที่เพิ่มน้ำหนักหุ้น A-Share โดยในเดือนพฤศจิกายน จะมีการเพิ่มเฟสสุดท้ายจาก 15% เป็น 20%
ขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐาน คาดว่าผลประกอบการไตรมาสสามจะชะลอตัวลง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องและความกังวลว่าสงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากขึ้น โดยในเดือนตุลาคมนี้ตลาดปรับตัวลงประมาณ 2% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิประมาณ 7.8 พันล้านบาท เป็นการขายต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม แต่ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.17 หมื่นล้านบาท
การลงทุนในช่วงปลายปีต่อต้นปีหน้ามีโอกาสเป็นเชิงบวกมากขึ้น หนุนโดยปัจจัยภายนอกที่ผ่อนคลายมากขึ้น และจากปัจจัยภายใน โดยคาดว่างบประมาณปี 2563 จะสามารถเบิกจ่ายได้ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2563 และการลงทุนภาคเอกชน จากการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC หลังรัฐบาลสามารถสร้างความคืบหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การลงทุนจะเป็นไปแบบ Selective มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เติบโตชะลอลง และยังคงมีความเปราะบางอยู่ จึงเชื่อว่า ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด และเลือกลงทุนหุ้นที่มีแนวโน้มธุรกิจดี ผลการดำเนินงานดี และมีระดับราคาเหมาะสมในการเข้าลงทุน