มุมมองผู้จัดการกองทุนหลัก Fidelity Global Technology Fund
กว่า 20 ปีของการบริหารหุ้นกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีของกองทุนหลักนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 หากลองมองย้อนกลับไปในระยะเแรกของการบริหารการลงทุน ฟิเดลิตี้เคยเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท Softbank ซึ่งปัจจุบันคือกองทุนเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเคยลงทุนในบริษัท Alibaba ตั้งแต่สมัยยังเป็น Private Equity Company ฟิเดลิตี้มีจุดแข็งด้านงานวิจัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ภายในของบริษัทจัดการ
ด้วยทีมงานวิจัยเฉพาะทางกว่า 22 คนในลอนดอน แคนาดา และเอเชีย ทำให้การบริการกองทุนแบบเชิงรุกทรงประสิทธิภาพ ลำพังหากกองทุนบริหารแบบเชิงรับแล้วจะทำให้พอร์ตมีสัดส่วนการลงทุนมากเกินไปในบริษัทที่เป็นผู้นำตลาดเทคโนโลยี ณ ปัจจุบันเท่านั้น ขาดโอกาสลงทุนในบริษัทที่จะเป็นผู้นำในอนาคต
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาตลาดของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ด้วยการแตกแขนงเข้าไปอยู่ในหลายธุรกิจ เช่น ตลาดสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์, ตลาดอี-คอมเมิร์ซ, ตลาดวิดีโอสตรีมมิ่ง, ตลาดการใช้กำลังประมวลผลหน่วยจัดเก็บข้อมูลและระบบออนไลน์ต่างๆ จากผู้ให้บริการ (Cloud Computing), ตลาดปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
ตลาดของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในแต่ละปีโลกจะสามารถสร้างชิปที่มีขนาดเล็กลง ส่งข้อมูลเร็วขึ้น ราคาถูกลง มีความสามารถในการบันทึกข้อมูล ซึ่งทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเครือข่ายไร้สายผ่านทางโปรโตคอลที่แตกต่างกันสามารถตอบโต้ร่วมกันได้ (Smart device) และอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวตรวจจับ (Sensor) ออกสู่ตลาดอย่างล้นหลามเมื่อเทียบกับเมื่อ 20 ปีก่อน
หากนักลงทุนมองไปที่ขนาดของรายได้ของบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยี จะพบว่า บริษัท Amazon บริษัท Facebook บริษัท Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก มีรายได้สูงกว่าที่บริษัท Microsoft บริษัท Intel เคยทำได้ถึง 10x ในปี ค.ศ. 1995 ข้อมูลดังกล่าว
เป็นการวัดจากขนาดรายได้เท่านั้น ยังไม่รวมจำนวนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร ปริมาณผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นกว่ายุคปี ค.ศ. 1990 ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ รายได้อันมหาศาล ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีศักยภาพลงทุนได้มากกว่าคู่แข่ง นำไปสู่ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน เปิดโอกาสร่วมลงทุนที่ไม่จำกัดเพียงแขนงทางด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เป็นที่แน่ชัดว่าการลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่เป็นฟันเฟืองหลักของการเพิ่มขึ้นจำนวนแอปพลิเคชันและบริการออนไลน์ และยังทำให้ธุรกิจอื่นเติบโตไปในเวลาเดียวกัน เห็นได้จากจำนวนธุรกิจ Start up ที่มีโอกาสใช้บริการ Cloud ผ่าน Amazon Web Service
นอกจากนี้ บริษัท Saleforce.com และบริษัท Alphabet ต่างก็ใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปกับการซื้อบริษัทอื่นที่ทำธุรกิจด้าน Data Analytic เพื่อแข่งขันกับบริษัท Microsoft โดยบริษัท Alphabet พยายามเปลี่ยนจากการค้นหาข้อมูลมาเป็น AI เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บริการเพิ่มขึ้น เปิดทางเลือกในการหาเงินเข้าบริษัท ในมุมของการผลิตชิปเทคโนโลยีทั้งบริษัท Alphabet บริษัท Amazon และบริษัท Apple ก็ได้กระโดดเข้ามาพัฒนาชิปของตัวเอง เพื่อลดการพึ่งพาผู้ขายรายเดิม และที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายการฝึกอบรมสำหรับการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
บริษัทเทคขนาดใหญ่ในยุคไดโนเสาร์แน่นอนว่ามีโอกาสสะดุดล้มลง เสียการครอบครองส่วนแบ่งตลาด หรือแม้ถูกลดทอนความสัมพันธ์กับตลาดไปในที่สุด อาทิ บริษัท IBM ที่เวลาผ่านไปแม้จะยังคงยืนหยัดเป็นเจ้าตลาดคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง (Mainframe) มาโดยตลอดก็ตาม แต่ตลาดคอมพิวเตอร์ดังกล่าวกลับทรงอิทธิพลน้อยลงในยุคปัจจุบัน จึงทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับธุรกิจสายเทคโนโลยี บริษัทขนาดใหญ่จึงเร่งลงทุนอย่างมหาศาลในงานวิจัยและพัฒนา (ตามกราฟบน)
ตลาดด้านโกลบอลเทคโนโลยีมีอะไรใหม่และทำไมจึงยังน่าลงทุนต่อ
ด้วยราคาหรือต้นทุนเทคโนโลยีที่ถูกลง และเข้าถึงง่ายขึ้น จึงสร้างแรงกระเพื่อมให้กับตลาดในวงกว้าง มีข้อมูลปริมาณมากเกิดขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวัน จึงเกิดคำถามว่าจะทำอย่างไร ให้ข้อมูลดังกล่าวแปลงออกมา หรือวิเคราะห์ชุดข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ Big Data Analytic จึงเป็นอีกแขนงหนึ่งของเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในเชิงพาณิชย์ที่บริษัทโกลบอลเทคโนโลยีต่างจับจ้อง ธุรกิจในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคก็เช่นกัน คือ เริ่มมีการใช้ Big Data เพื่อทำความเข้าใจความต้องการลูกค้าและพยายามคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปสำหรับลูกค้า ในส่วนของโดเมนด้านไอทีภายในองค์กร หลายแห่งต่างมองหา Big data เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น และด้วยการเติบโตแบบทวีคูณด้านฐานข้อมูลและการประมวลผล (ตามกราฟ) เป็นปัจจัยต่อการพัฒนา Internet of Things (IoT)
กองทุนหลัก Fidelity มองหาธุรกิจที่จะเป็นผู้ชนะในวันข้างหน้า (Winner of Tomorrow) อย่างไร ?
การคาดการณ์อนาคตเป็นสิ่งที่ยาก มนุษย์มีแนวโน้มในการคาดการณ์คาดเคลื่อน และการประเมินเทคโนโลยีไม่ถูก ว่าจะเข้ามามีอิทธิพลต่อรูปแบบการทำงานและกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม ยังมีบางธีมที่มีความเป็นไปได้หรืออยู่ในระยะที่มองเห็นได้ ซึ่งได้แก่
1. ส่วนการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
ด้วยต้นทุนการประมวลผลที่ลดลง Big Data การลงทุน การวิจัยและพัฒนาด้านแพลตฟอร์มของเทคโนโลยีบริษัท ทำให้ Machine Learning เป็นไปได้ การเรียนรู้หรือทักษะในงานบางอย่างของเครื่องจักรทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่มนุษย์ทำ การพัฒนาอัลกอริทึ่มของเครื่องจักรทำให้กระบวนการด้านไอทีทำงานโดยอัตโนมัติ อัลกอริทึ่มนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ยกตัวอย่างใน ภาคธุรกิจธนาคาร สถาบันการเงินมีการใช้ Machine Learning เพื่อหาวิธีป้องกันการฟอกเงินแทนที่จะใช้โมเดลทางสถิติแบบดั้งเดิม ส่วนบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคกำลังเริ่มนำ Machine Learning มาปรับปรุงการสั่งซื้อจากลูกค้าและแก้ไขปัญหางานในส่วนปฏิบัติการ
2. ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
AI มีส่วนในการพัฒนา Machine Learning อย่างแนบแน่น คนซึ่งเป็นผู้พัฒนาจะเรียก AI ว่าเป็น Machine หรือความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ และจำลองสติปัญญาตามธรรมชาติของคนเมื่อใช้แก้ไขปัญหาซับซ้อน AI เป็นส่วนหน้าที่มีความสำคัญสูงของการพัฒนาเทคโนโลยีและการลงทุนทางด้านนี้ บางแขนงของ AI เช่น การทำให้เซนเซอร์ตรวจจับภาพสามารถอ่าน แปลความหมาย ตอบโต้ ในลักษณะที่ลึกซึ้งมากขึ้นกว่าการแค่มองเห็นปกติ จนทำให้เราสามารถคุยกับคอมพิวเตอร์ได้ รายได้ของธุรกิจ AI คาดว่าจะเพิ่มขึ้น (ตามกราฟ Worldwide AI Revenue Forecast)
3. ยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับ
การเกิดขึ้นของยานยนต์ไฟฟ้า ไม่เพียงส่งผลทางตรงต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และเพิ่มความสำคัญให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ แบตเตอรี่ (ดูกราฟ Electric vehicle battery demand forecast) ยังส่งผลทางอ้อมที่ทำให้ลักษณะการครอบครองรถของผู้บริโภค รูปแบบการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย
4. New Computing
คอมพิวเตอร์แบบใหม่ ไม่ใช่เป็นแค่การซื้อแลปทอปหรือโน้ตบุ๊ค เพราะสมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนสามารถทำได้ ทั้งระบุตำแหน่ง ไมโครโฟน หากพัฒนาสมาร์ทโฟนให้มีศักยภาพในระดับ Machine Learning จะมีความรวดเร็วมากกว่าการพึ่งพิงการป้อนข้อมูลด้วยการพิมพ์ ภาพถ่าย และตัวเลข
5. ธุรกิจค้าปลีก (Retail)
ตลาดอี-คอมเมิร์ซในสหรัฐ มีขนาดเพียง 10% ของตลาดค้าปลีก ทำให้สามารถเจาะส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นได้ โดยบูรณาการ AI เข้ากับ Online Shopping ซึ่งช่วยให้นักชอปซื้อเสื้อผ้าได้ประสบการณ์เหมือนเดินอยู่ในร้านค้าจริงๆ
6. เมืองแห่งอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมกับความต้องการของประชาชนและใช้แก้ไขปัญหาสังคมเมือง (Smart Cities)
ยานยนต์ไร้คนขับเป็นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่จะนำไปสู่ Smart Cities ซึ่งถูกแสดง (ตามกราฟ An example of a ‘Smart City’) ให้เห็นว่าผนึกหลายเทคโนโลยีเข้าไว้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี
กองทุนหลัก (Master Fund)
นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลก ที่มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือบริการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์อย่างสูงจากความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
วันที่จดทะเบียน: 23 กุมภาพันธ์ 2017 (Share class Y-ACC-USD)
ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก
สกุลเงิน: USD
เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI AC World Information Technology (N)
Morningstar Category: Large cap core growth
Bloomberg code: FFGTYAU LX
Fund size: 4,683 Million USD
Number of positions in fund: 62
* Source: https://www.bblam.co.th/application/files/5415/7164/4861/Professional_Factsheet_-_FF_Global_Technology_Fund_Y-ACC-USD_092019.pdf
ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019)