กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

สรุปประเด็นทางเศรษฐกิจอินเดีย

ตลาดหุ้นอินเดียแกว่งขึ้นลงตลอดครึ่งปีหลัง สาเหตุจากการชะลอตัวของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอินเดีย และสงครามการค้าที่เข้ามากระทบ ส่งผลให้ดัชนี MSCI India Index (USD) ลดลง -5.16% ในไตรมาสสาม (มิ.ย.-ก.ย.) และเพิ่มขึ้น +4.33% (ในเดือน ต.ค.) รัฐบาลอินเดียได้ประกาศใช้มาตรการหลายอย่าง เช่น ลดภาษีนิติบุคคล/บริษัท จากเดิม 30% เป็น 22% ลดภาษีนิติบุคคล/บริษัทที่เริ่มดำเนินการผลิตสินค้าจากเดิม 25% เป็น 15% เพื่อช่วยให้บริษัทมีเงินเหลือนำไปลงทุนในกิจการต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค หรือเพื่อให้บริษัทนำเงินไปชำระหนี้สินเพิ่มเติม

ยอดการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนชาติซึ่งเดิมเป็นผู้ขายสุทธิตลาดหุ้นอินเดีย -3.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในไตรมาสสาม กลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิ +1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือน ต.ค. ขณะที่นักลงทุนในไนประเทศซึ่งเป็นผู้ซื้อสุทธิ +7.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสสาม ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือน ต.ค.

GDP อินเดีย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอินเดีย ชะลอตัวลงชัดเจนเหลือเพียง 5% (YoY) ในไตรมาสสอง เหตุจากการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโต +3.1 (YoY) ต่ำที่สุดในรอบ 18 ไตรมาสที่ผ่านมา อัตราการเติบโตที่ย่ำแย่เช่นนี้ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแก้ไขด้วยการออกมาตรการ อาทิ

  • การทบทวนค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักลงทุนต่างชาติ
  • การเชื่อมโยงเงินปล่อยสินเชื่อเข้ากับอัตราการรรับซื้อคืน (REPO) ของธนาคารเพื่อส่งต่อผลประโยชน์จากระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำให้กับผู้บริโภค
  • การช่วยเข้าซื้อสินทรัพย์มูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (NBFC: Non-bank Financial Corporation) และสถาบันการเงินซึ่งปล่อยสินเชื่อบ้าน (HFCs: Housing Financial Corporations) เพื่อรักษาสภาพคล่อง
  • การจัดหาเงินมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับโครงการซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยในระยะสุดท้าย อันจะกระตุ้นให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ครอบครอง
  • การลดภาษีบริษัท/นิติบุคคลลงจากเดิม 30% เป็น 22%

เงินเฟ้ออินเดีย อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 4.0% ในเดือน ก.ย. (เทียบกับ 3.2% ในเดือน ส.ค.) สูงกว่าคาดการณ์ โดยมีปัจจัยหลักจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น 1.3% จากเดือนก่อนหน้าหรือ 4.7% เทียบกับปีก่อน (YoY) ถือว่าสูงสุดในรอบ 21 เดือน

ดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% สู่ 5.15% ในการประชุมวันที่ 4 ต.ค. 2019 เป็นการปรับลดไปแล้วรวม 1.35% ในปีนี้นับตั้งแต่เดือน ก.พ. นอกจากนี้ยังได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลงจาก 6.9% เหลือ 6.1% สำหรับรอบปีบัญชี 1 เม.ย. 2019 – 31 มี.ค. 2020

การปรับพอร์ตของกองทุนหลัก Reliance India Equities Portfolio Fund ในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. 2019

เพิ่มการลงทุนในบริษัทประกันชีวิตเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ชื่อบริษัท Max Financial Services (ประกันชีวิต, สัดส่วนลงทุน 2.3%)

ตรรกะลงทุน: ช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพคือธนาคาร State Bank of India (SBI) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่และมีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศ Max Financial Services จึงได้รับประโยชน์จากจำนวนสาขาที่มีครอบคลุมกว่า 22,010 แห่ง (ตามกราฟ) การที่ธนาคาร SBI มีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต/ประกันสุขภาพของ Max Financial Services วางจำหน่าย ทำให้ลูกค้าสาขาต้องซื้อผลิตภัณฑ์ของ Max Financial Services เพียงแห่งเดียว ทั้งนี้ อัตราการเข้าถึงเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของคนอินเดียอยู่ในระดับต่ำ ทั้งที่รายได้ของกลุ่มธุรกิจประกันเติบโตระดับ 17% ต่อปี (CAGR*) ช่วงปีค.ศ. 2001-2018

ขายทำกำไร หุ้นบริษัทในธุรกิจสถาบันการเงิน และสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น

ตาราง 1: แสดงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหุ้นในพอร์ตจำแนกตามมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนของกองทุนหลัก Reliance India Equity Portfolio Fund ตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึงปัจจุบัน

ตาราง 2: แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Reliance India Equities Portfolio Fund

ตัวอย่างผลการดำเนินงานของบริษัทที่กองทุนหลักลงทุน

1. บริษัท HDFC (หุ้นถือครองอันดับ 1 ของพอร์ตกองทุนหลัก, น้ำหนักลงทุน 6.9%, Bloomberg Code: HDFC IN) เป็นสถาบันการเงินเอกชน

ประกาศผลประกอบการทรงตัว ธุรกิจสินเชื่อเติบโต 11.7% (YoY) มาอยู่ที่ระดับ 4.26 ล้านล้านรูปี โดยได้รับอานิสงค์จากสินเชื่อส่วนบุคคลที่เติบโต 15.3% (YoY) ขณะที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจทรงตัวที่ 2.9% (YoY) ด้านอัตราความสามารถในการทำกำไรของบริษัท (มาร์จิ้น) อยู่ที่ระดับทรงตัว 3.3% อย่างไรก็ตาม กองทุนหลักคาดว่าอาจลดลงเหลือ 2.55% เนื่องจากสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพของสินทรัพย์ทรงตัวจากช่วงต้นปี

จุดเด่นบริษัท: ภาวะตลาดสินเชื่อมีการแข่งขันที่ลดลงเนื่องจากคู่แข่งบางรายเผชิญกับปัญหาสภาพคล่อง / ช่องทางแฟรนไชส์หลากหลาย ด้วยการที่บริษัท HDFC มีจุดเด่นด้านระเบียบวินัยในการจัดการทรัพย์สินหนี้สิน (ALM: Asset Liability Management) ระดับผนวกกับตรงกับช่วงที่อินเดียประสบวิกฤตสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงิน ทำให้คาดว่าจะครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้นจากที่เป็นอยู่ และมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น นอกจากนี้บริษัทมีช่องทางแฟรนไชส์เจาะกลุ่มลูกค้าหลากหลายที่คอยสนับสนุนการเติบโต

ปัจจัยเสี่ยง: งบการเงินไตรมาสที่ผ่านมามีรายได้จากการขายส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษัท Gruh Finance มูลค่า 16 พันล้านรูปีซึ่งไม่ได้เป็นรายได้หลักจากการดำเนินงาน บริษ้ทเตรียมตั้งสำรองเพิ่มขึ้น 5.4 พันล้านรูปีในไตรมาสนี้ระดับราคาหุ้น (FW Price-to-Book) ปัจจุบันซื้อขายใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปี

2. บริษัท ICICI Bank (หุ้นถือครองอันดับ 4 ของพอร์ตกองทุนหลัก, น้ำหนักลงทุน 6.9%, Bloomberg Code: ICICIBC IN) เป็นสถาบันการเงินเอกชน

ประกาศกำไรเบื้องต้นที่ธนาคารทำได้จากธุรกิจหลักคือการปล่อยสินเชื่อ (NIM) ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 3.64% รายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตขึ้น

ผลประกอบการ: สินเชื่อรายย่อยซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่ 62% ของสินเชื่อรวม เติบโตที่ 22% (YoY) เป็นการเติบโตเกือบจะทุกกลุ่ม ยกเว้น กลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่เงินฝากเติบโต 25% (YoY) ธนาคารมีการเปิดสาขาเพิ่มอีก 346 สาขาในไตรมาสสอง

จุดเด่น: มีกลยุทธ์ที่เน้นการเติบโตด้วยการเพิ่มจำนวนสาขาควบคู่ไปกับความสามารถในการทำกำไร  ธนาคารมีทรัพย์สินด้อยคุณภาพ หรือทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ที่ลดลง (QoQ) มาอยู่ที่ระดับ 1.8% ทำให้มีโอกาสทำให้ธนาคารได้รับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ขึ้น

กองทุนหลัก (Master Fund)
ชื่อ: RAMS Equities Portfolio Fund – India Equities Portfolio Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class I (USD)

นโยบายการลงทุน: มุ่งหาผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนในตราสารทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในอินเดีย โดยจะลงทุนในตลาดอินเดียไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของ NAV)

วันที่จดทะเบียน: 17 พฤษภาคม 2016

ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก

สกุลเงิน: USD

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI INDIA USD

Morningstar Category: Large cap blend

Bloomberg code: RAMUSDI LX

Fund size: USD 233.07 Million

Number of holdings: 52

*ที่มา: Reliance Asset Management (Singapore) Pte Ltd ข้อมูลเดือน ต.ค. 2019

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล วันที่ 31 ตุลาคม 2019)