กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

สรุปผลการดำเนินงานและมุมมองด้านการปรับพอร์ตของกองทุนหลัก Wellington Global Opportunities Equity fund

สรุปผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก

หุ้นโลก เมื่อวัดจากดัชนี MSCI AC World Net สร้างผลตอบแทนช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 2019 ทรงตัว 0% พิจารณาจากทั้งหมด 11 กลุ่มอุตสาหกรรมของดัชนีชี้วัด (สาธารณูปโภค สินค้าบริโภคจำเป็น อสังหาริมทรัพย์ ไอที บริการด้านการสื่อสาร สินค้าบริโภคฟุ่มเฟือย อุตสาหกรรม สถาบันการเงิน เฮลธ์แคร์ วัสดุก่อสร้าง พลังงาน) พบว่า มี 6 กลุ่มอุตสาหกรรมให้ผลตอบตอบแทนเป็นลบ (เช่น พลังงาน วัสดุก่อสร้าง) ส่วนอีก 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เหลือให้ผลตอบแทนเป็นบวก (เช่น สาธารณูปโภค สินค้าบริโภคจำเป็น) ขณะที่ กองทุนหลักสร้างผลตอบแทน -2.5% ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. 2019 ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ -0.0% ผลตอบแทนที่ไม่ดีนี้ มาจากเหตุผล
สองอย่าง คือ ด้านการคัดสรรหุ้นรายตัว และด้านการให้น้ำหนักกับกลุ่มอุตสาหกรรม

ด้านการคัดเลือกหุ้นรายตัว (Stock Selection) หุ้นที่อยู่ในกลุ่มไอที บริการด้านการสื่อสาร สินค้าอุปโภคบริโภคฟุ่มเฟือย ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี แม้หุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค จำเป็นจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก ด้านการให้น้ำหนักกับกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector Attribution) กองทุนหลักให้น้ำหนักกับหุ้นที่อยู่ในกลุ่มสาธารณูปโภคน้อยกว่าดัชนี แต่หุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสสาม ดังนั้นผลจากการให้น้ำหนักกับหุ้นในกลุ่มนี้น้อยจึงส่งผลกระทบด้านลบต่อผลตอบแทนกองทุน

ด้านการให้น้ำหนักกับภูมิภาค (Regional Attribution) หุ้นที่กองทุนหลักคัดเลือกในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป และสหราชอาณาจักร

มุมมองด้านการปรับพอร์ตของกองทุนหลัก

ในช่วงเวลาที่กองทุนหลักเฝ้าติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งอ่อนแอลง และยังคงรอคอยว่าอาจจะเริ่มมีทิศทางหรือเริ่มมีสัญญาณทรงตัวให้เห็นนั้น กองทุนหลักพบว่ามีหุ้นบางกลุ่มธุรกิจน่าสนใจเข้าลงทุน สำหรับปัญหาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน กองทุนหลักเชื่อว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลา 1-2 ปี เนื่องจากประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายต้องหารือกันมีจำนวนมากมายขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น แม้ตลาดหุ้นจีนจะเป็นตลาดทุนที่ใหญ่ มีบริษัทจำนวนมาก การลงทุนของกองทุนหลักยังอยู่ในโหมดระมัดระวังในการเข้าลงทุนหุ้นจีน เพราะยังมองภาพไม่ชัดว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจจะสร้างความผันผวนให้เกิดขึ้นในทันทีทันใดอีกครั้งเมื่อไหร่

ด้านการลงทุนในหุ้นยุโรป กองทุนหลักมองว่า ประเด็นการออกจากสหภาพยุโรปของประเทศสหราชอาณาจักร (เบร็กซิท) ส่งผลพวงต่อเศรษฐกิจยุโรปในวงกว้าง อันจะมีเงื่อนไขอื่นๆ ตามมา แต่กองทุนหลักซึ่งมีสัดส่วนหุ้นยุโรปประมาณ 17.3% มองหาโอกาสจากหุ้นรายตัวมากกว่า

โดยภาพรวม แนวทางการลงทุนของกองทุนหลักยังคงเป็นไปตามนโยบาย คือ เน้นเฟ้นหาหุ้นของบริษัทที่มีพัฒนาการเชิงบวก ด้านการสร้างผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุน (Return on Invested Capital) ซึ่งตลาดมองข้ามและบริษัทที่สร้างผลกำไรได้ยั่งยืน เพราะจะช่วยบรรเทาผลกระทบของวัฏจักรเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมที่เปลี่ยนทิศทาง

ข้อมูลล่าสุด (กราฟ) ในแง่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุน กองทุนหลักให้น้ำหนักมากกับหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภคฟุ่มเฟือย ให้น้ำหนักน้อยกับหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน และพลังงาน ในแง่ของภูมิภาคที่ลงทุน กองทุนหลักเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดสหรัฐฯ ลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดยุโรป สหราชอาณาจักร และตลาดเกิดใหม่

Sector Positioning

Regional Positioning

ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูลวันที่ 31 ต.ค. 2019)

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-global/update#content