BF Economic Research
กระทรวงการคลังของสหรัฐฯได้รายงาน Macroeconomic and Foreign Exchange Policies of Major Trading Partners of the United States (ตามข้อกำหนดใน The Trade Facilitation and Trade Enforcement Act of 2015) โดยได้พิจารณาประเทศที่เข้าข่ายที่มีความได้เปรียบเชิงการค้า เสถียรภาพทางการเงิน และค่าเงิน ผ่านการพิจารณาสามเกณฑ์หลัก (เป็นเกณฑ์ที่ได้รับการปรับปรุงเมื่อเดือนพ.ค. 2019 เป็นต้นมา) ประกอบไปด้วย
- มูลค่าการค้ารวมส่งออกและนำเข้าขั้นต่ำ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เป็นต้นไป
- เกินดุลกับสหรัฐฯ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เป็นต้นไป
- มีการเข้าป้องกัน FX คิดเป็นมูลค่า 2% ของ GDP เป็นระยะเวลา 6-12 เดือนเป็นต้นไป
จากเกณฑ์ข้างต้น พบว่า 10 ประเทศที่เข้าข่าย “Monitoring List” ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี อิตาลี ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม
ข่าวได้นำไปตีฟองว่า จากรายงานฉบับดังกล่าวนี้ ทำให้จีนถูกถอนจากการเป็น Currency Manipulator
ในความเป็นจริง รายงานการศึกษาดังกล่าวไม่เคยให้จีนเป็น “Currency Manipulator” เลย เพียงแต่ใส่จีนเข้าไปในรายชื่อเฝ้าระวัง หรือ “Monitoring List” เท่านั้น
สำหรับคำว่า Currency Manipulator นั้นมาจากการประเมินของ รมว.กระทรวงคลัง Mnuchin (ไม่ใช่จากข้อมูลของรายงานการศึกษา) เมื่อเดือน ส.ค. 2019 โดยได้ระบุว่า;
“The Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 requires the Secretary of the Treasury to analyze the exchange rate policies of other countries. Under Section 3004 of the Act, the Secretary must “consider whether countries manipulate the rate of exchange between their currency and the United States dollar for purposes of preventing effective balance of payments adjustments or gaining unfair competitive advantage in international trade.” Secretary Mnuchin, under the auspices of President Trump, has today determined that China is a Currency Manipulator.” (Aug 5, 2019)
( เนื้อหาทั้งหมดอยู่ในลิงค์นี้ https://home.treasury.gov/news/press-releases/sm751)
โดยสรุป การที่จีนจะเข้าหรือไม่เข้าข่าย Currency Manipulator นั้นไม่ได้มาจากการรายงานการศึกษา แต่มาจากดุลยพินิจของ รมว.กระทรวงคลัง (aka ประธานาธิบดี) เป็นหลัก
ส่วนไทยหากพิจารณาตามเกณฑ์ ก็ไม่ได้อยู่ใน Monitoring List เลย เว้นแต่ว่า รมว.คลังสหรัฐฯ จะใช้ดุลยพินิจเหมือนกรณีจีน