เงินเฟ้อสูงกดดันนโยบาย BOJ

เงินเฟ้อสูงกดดันนโยบาย BOJ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เนื่องจากการคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางจะปรับเปลี่ยนนโยบาย Yield Curve Control (YCC) ให้เร็วขึ้น แม้ว่า นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นจะให้ความเชื่อมั่นว่า เขาจะยังคงรักษาระดับของมาตรการกระตุ้นทางการเงินขนาดใหญ่มากไว้ “อย่างอดทน” บททดสอบครั้งแรก จะมีขึ้นในการประชุมนโยบายของธนาคารกลางในวันที่ 27-28 ก.ค. เมื่อคณะกรรมการน่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น และส่งสัญญาณความเชื่อมั่นที่ว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการที่ขับเคลื่อนจากดีมานด์หรือความต้องการซื้อ จะมีการสนับสนุนจากการเติบโตของค่าจ้างที่กำลังจะหยุดลง แหล่งข่าวจากผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงิน กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำลังถกเถียงกันถึงแนวคิดที่จะปรับนโยบายควบคุมเส้นโค้งอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ (YCC) โดยมีการปักหมุดล็อกอัตราดอกเบี้ยในระยะที่ยาวขึ้น โดยอย่างเร็วที่สุด คือ เดือน ก.ค.นี้ แม้ว่าการพูดคุยยังเป็นเพียงเบื้องต้นและยังไม่มีการตัดสินใจในขั้นสุดท้ายเกิดขึ้น หนึ่งในแหล่งข่าวซึ่งมองโอกาสของการปรับเปลี่ยนนโยบายในเดือน ก.ค.นี้ ระบุว่า “การแลกเปลี่ยนความเห็นดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจริง แต่ว่าไม่มีความชัดเจนในสิ่งที่จะมีการตัดสินใจในขั้นสุดท้าย” ส่วนแหล่งข่าวรายที่ 2 กล่าวว่า การปรับนโยบายใดๆ ก็ตามคาดว่า น่าจะเป็นการปรับในนโยบาย YCC เพียงเล็กน้อย การปรับแต่งรายละเอียดของนโยบายการเงินเพียงอย่างเดียว น่าจะส่งผลเสียหายเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ด้วยการใส่เงินอัดฉีดจำนวนมหาศาลเข้าไปในระบบจากธนาคารกลาง […]

Economic Update: Japan: BoJ คงนโยบายการเงินตามคาด สวนทาง Fed และธนาคารกลางอื่นทั่วโลก

Economic Update: Japan: BoJ คงนโยบายการเงินตามคาด สวนทาง Fed และธนาคารกลางอื่นทั่วโลก

ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ Bank of Japan (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ในการประชุมวันนี้ ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเยนอ่อนค่าแรงทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ แต่ยิ่งทำให้นโยบายการเงินของญี่ปุ่นสวนทางกับธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลกที่ต่างพากันใช้นโยบายคุมเข้มมากขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว สำหรับในเดือนส.ค. เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและเป็นเงินเฟ้อเป้าหมายของ BoJ เร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 31 ปีที่ 2.8% YoY จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ราคาไฟฟ้า และอาหารแปรรูป ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นเป็น 3.0% YoY จาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ในแถลงการณ์หลังการประชุม นาย Haruhiko Kuroda […]

BOJ มองศก.ฟื้นต่อเนื่อง ดันเงินเฟ้อดีดกลับเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2%

BOJ มองศก.ฟื้นต่อเนื่อง ดันเงินเฟ้อดีดกลับเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2%

นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมผู้จัดการสาขาทั่วภูมิภาคของ BOJ ในวันนี้ โดยนายคุโรดะคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วประเทศมีแนวโน้มดีดตัวขึ้นสู่เป้าหมายของ BOJ ที่ระดับ 2% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายคุโระได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายด้านราคา “ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดนั้น ปัจจุบันปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนในวันข้างหน้านั้น คาดว่า ดัชนีจะดีดตัวขึ้นจนถึงระดับ 2% เนื่องจากผลผลิตทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคเริ่มฟื้นตัวขึ้น และการคาดการณ์เงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้นด้วย” นายคุโรดะกล่าว พร้อมระบุว่า “เราจะเดินหน้านโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณด้วยการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน”