Fund Comment ธันวาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment ธันวาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนธันวาคมปรับลดลง ทั้ง curve ประมาณ 4-35 bps โดยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปีปรับลดลงประมาณ 4-14 bps จากกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาช่วงสิ้นปี ทั้งนี้ หากมองภาพรวมทั้งปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น 41-98 bps โดยช่วงอายุที่ปรับเพิ่มมากที่สุด คือ รุ่น 2 ปี ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ตลอดทั้งปี 2022 คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย มีมติทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น 75 bps จาก 0.50% เป็น 1.25% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่่เพิ่่มขึ้้นสููงในรอบหลายปี โดยในเดือนธันวาคม มีการประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 bps สู่ระดับ 4.25-4.50% ตามการคาดการณ์เป็นวงกว้างของตลาด นับเป็นการชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังจากที่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 […]

Fund Comment พฤศจิกายน 2565: มุมมองตราสารหนี้

Fund Comment พฤศจิกายน 2565: มุมมองตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนพฤศจิกายนส่วนใหญ่ปรับลดลงเกือบทั้ง curve ประมาณ 11-54 bps ยกเว้นช่วงอายุไม่เกิน 1 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 11bps ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของพันธบัตรระยะสั้นมีปัจจัยหลักจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น 25bps ช่วงสิ้นเดือน ขณะที่ ระยะกลาง-ยาว ปรับลดลงตามการเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหลัก ประกอบกับมีกระแสเงินทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยจำนวนมากในช่วงต้นเดือน ทั้งนี้ การปรับลดลงของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน มีปัจจัยหลักมาจาก 1) อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงเป็น 7.7% YoY (vs. 8.2% เดือนก่อน) ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 7.9% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงเป็น 6.3% YoY (vs. 6.6% เดือนก่อน) ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 6.5% โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (จากที่ทำจุดสูงสุดที่ 9.1% ในเดือนมิถุนายน) และชะลอลงมากกว่าที่คาดในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Fed ชะลอการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย […]

Fund Comment ตุลาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment ตุลาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สำหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง นอกจากนี้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาช่วงกลางเดือนตุลาคม ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลข Core CPI ออกมาสุงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 10 ปี ปรับขึ้นไปเลยระดับ 4.50% สูงสุดในรอบ 15 ปี ขณะเดียวกัน […]

Fund Comment ตุลาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment ตุลาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น             ตลาดหุ้นโลกกลับมาปรับตัวขึ้นได้ 6.4% ในเดือนตุลาคม หลังจากปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า หรือ ลดลงจากจุดสูงสุดช่วงต้นปีมาราว 27.0% โดยความเข้มงวดทางการเงินโลกที่เร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ที่ปรับขึ้นมาที่ระดับ 4.0% และ Real Yield ที่ปรับขึ้นมาเป็นบวกในเกือบทุกช่วงอายุนั้น เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจจริงและสภาพคล่องในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ครั้งสุดท้ายของปีของ Fed ในเดือน ธ.ค. ผ่าน FedWatch Tool ว่าจะขึ้นดอกเบี้ย +75bps ลดลงจากมากกว่า 70% เหลือราว 40% กอปรกับ US 10Y Yield และค่าเงินสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงเล็กน้อย […]

Fund Comment กันยายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กันยายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ย.   อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุน้อยกว่า 1 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 13-20 bps จากเดือนก่อน   เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 1.00% ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา   โดยกนง.มีมุมมองว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ และคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวได้ที่ 3.3% และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปีหน้า   สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุมากกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20-65 bps  เป็นการปรับตัวในทิศทางเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง  ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00%-3.25% ในการประชุมในวันที่ 20-21 ก.ย. พร้อมส่งสัญญาณว่า จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้  ทั้งนี้ FED ประเมินว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 4.25%-4.50% ในปี 2565 และปรับขึ้นอีกเป็น 4.50%-4.75% […]

Fund Comment กันยายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กันยายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น             ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงต่อจากปลายเดือนก่อนหน้า จากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังคงเข้มงวดต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วที่มีมากขึ้น ทำให้ดัชนี MSCI World Index ปรับตัวลดลง 9.7% ในเดือนกันยายน โดยในการประชุมเดือนที่ผ่านมา Fed ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 75bps สู่ระดับ 3.00-3.25% ตามที่ตลาดคาด แต่ Dot Plot ส่งสัญญาณว่า Fed จะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องไปถึง Terminal rate ที่ 4.6% ในปี 2023 ซึ่งบ่งชี้ถึงการยังไม่รีบปรับลดดอกเบี้ยลงในปีหน้า ทิศทางดังกล่าวสร้างความผันผวนต่อตลาดพันธบัตรและสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก โดย Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นแตะระดับ 4.0% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010 และค่าเงิน Dollar Index ปรับขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 20 ปี […]

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาส 2 ออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุด นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ […]

Fund Comment สิงหาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment สิงหาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค.  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 bps จากเดือนก่อน  เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา  อย่างไรก็ตาม  รายงานการประชุมกนง. ยังยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และปรับเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ทำให้ความกังวลที่ทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกับของสหรัฐฯ ผ่อนคลายลง  ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-7 ปีปรับตัวลดลง 13-25 bps จากเดือนก่อน    ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนส.ค. กลับมาเป็นยอดซื้อสุทธิอีกครั้งที่ 1.13 พันล้านบาท แบ่งเป็น การซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น 12.19 พันล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 8.72 พันล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 19.78 พันล้านบาท   สำหรับรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนส.ค.อยู่ที่  8.3% ลดลงจากเดือนก่อนที่ 8.5% แต่ยังคงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1%  โดยราคาสินค้าหมวดบริการยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมา   ขณะที่ราคาสินค้าพลังงานเริ่มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก       ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย  กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 7.86% เพิ่มขึ้นจาก 7.61% ในเดือนก่อน  โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง […]

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาสสองออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุดนับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ Fed […]

Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค.  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 5-44 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากตลาดเริ่มมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือ 2.3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง  แม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลง  แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.25% – 2.50%, ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 0.00% สู่ระดับ 0.50%, ธนาคารกลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 1.75%  อีกทั้งในวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา  คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติ 6 ต่อ 1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75%  โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่าน เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% แทน   ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.ค. […]