อัตราผลตอบแทนเมื่อถือครบอายุ (Yield to Maturity: YTM)

อัตราผลตอบแทนเมื่อถือครบอายุ (Yield to Maturity: YTM)

นักลงทุนที่ซื้อตราสารหนี้ในตลาดรอง ราคาที่ซื้อมักไม่เท่ากับราคาหน้าตั๋ว เพราะอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ วันที่ซื้อ/ขาย ย่อมแตกต่างจากวันที่ตราสารหนี้ออกขายครั้งแรก ราคาตราสารหนี้จึงต้องปรับเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะดอกเบี้ยปัจจุบัน จึงทำให้ราคาที่ซื้อขายกันสูงหรือต่ำกว่าราคาหน้าตั๋วเสมอ หากอัตราผลตอบแทนในตลาด (Yield) สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon rate) ตราสารหนี้นั้นจะซื้อขายที่ราคาต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว (Par) ในทางกลับกัน ถ้า Yield ต่ำกว่า Coupon ราคาซื้อขายจะสูงกว่า Par เมื่อตราสารหนี้ครบอายุนักลงทุนจะได้เงินต้นคืนเท่ากับราคาหน้าตั๋ว กำไร/ขาดทุนจากส่วนต่าง เมื่อรวมกับดอกเบี้ยที่ได้รับนับจากวันที่ซื้อถึงวันครบอายุ นำมาคำนวนจะได้เป็นอัตราผลตอบแทนที่ถือจนครบอายุ (YTM) แสดงถึงผลตอบแทนที่แท้จริงซึ่งไม่เท่ากับ Coupon rate

หุ้น Turnaround

หุ้น Turnaround

บริษัทที่ประสบปัญหามีผลขาดทุนติดต่อกันหลายปี ราคาหุ้นตกต่ำจนไม่มีใครสนใจลงทุน แต่เกิดการเปลี่ยนจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สินค้า/บริการกลับมาเป็นที่ต้องการ จนยอดขายฟื้นตัวและกลับมาทำกำไรได้ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบริษัทเอง เช่น เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร การจัดการองค์กร หรือหันไปสินค้า/บริการใหม่ที่มีมูลค่าเป็นที่ต้องการของตลาด ผลประกอบการจะฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นจนมีกำไร ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็เริ่มหันมาจับตามอง นักวิเคราะห์เริ่มให้ความสนใจ ราคาหุ้นจะเปลี่ยนกลับมาเป็นขาขึ้น จึงเรียกกันว่า หุ้น Turnaround ตัวอย่างเช่นบริษัทเคยทำธุรกิจบันเทิงและทีวี ประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากกระแสนิยมการบริโภคสื่อและความบันเทิงของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ต่อมาบริษัทหันไปผลิตเครื่องสำอางและอาหารบำรุงสุขภาพโดยใช้สื่อทีวีและธุรกิจบันเทิงเป็นตัวสนับสนุน ทำให้มีรายได้จากสินค้าใหม่และกลับมาทำกำไรได้

หุ้นบลูชิป (Blue chip stock)

หุ้นบลูชิป (Blue chip stock)

บลูชิปคือชิปสีน้ำเงินที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันโดยเป็นชิปที่มีมูลค่าสูงที่สุด วงการตลาดหุ้นในอดีตจึงยืมมาใช้เรียกหุ้นที่มีราคาสูง แต่ในปัจจุบันหุ้นบลูชุปมีความหมายกว้างกว่านั้น โดยหมายถึงหุ้นของบริษัทที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วไป มีความมั่นคงและมีอายุยาวนาน สินค้าและบริการมีคุณภาพเป็นแบรนด์ที่ผู้คนรู้จักนิยม เป็นผู้นำหรือมีส่วนแบ่งการตลาดระดับต้นๆ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง หนี้สินไม่สูงเกินไป ยอดขายเติบโต มีกำไรและจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ ในยามเศรษฐกิจผันผวนหรือตกต่ำ บริษัทประเภทนี้สามารถรักษากิจการให้ผ่านพ้นภาวะต่างๆ โดยอยู่รอดปลอดภัยมาได้ตลอดทุกยุคสมัย หุ้นบลูชิพจึงเป็นที่นิยมของนักลงทุนสถาบันต่างๆ เช่น กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ พอร์ตประกันชีวิต ที่ต้องมีติดพอร์ตไว้ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ราคาหุ้นอาจจะไม่ขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีความผันผวนค่อนข้างต่ำกว่าหุ้นประเภทอื่น และมีการจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ นักลงทุนบุคคลที่ไม่ชอบความเสี่ยงสูง (Conservative) มักชอบลงทุนในหุ้นบลูชิปเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะถือลงทุนระยะยาว หรือเข้าซื้อเก็บในช่วงที่ราคาตกลงตามภาวะตลาด ถ้าให้ยกตัวอย่างหุ้นบลูชิปไทย คงไม่พัน ปตท ปูนซินเมนต์ไทย เจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารใหญ่ๆ เช่น ธนาคารกรุงเทพ

นักลงทุนที่มีเหตุมีผลเขามีวิธีคิดอย่างไรกัน?

นักลงทุนที่มีเหตุมีผลเขามีวิธีคิดอย่างไรกัน?

เคยเป็นบ้างไหมที่พอร์ตโฟลิโอจากการจัดสรรเงินลงทุนของท่านได้รับอัตราผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าความเสี่ยง หรือต้องยอมรับความเสี่ยงที่มากขึ้นโดยไม่จำเป็น ถ้าท่านเคยมีประสบการณ์เช่นว่าแสดงว่าพอร์ตโฟลิโอของท่านอาจมีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ด้อยกว่าความเหมาะสม(Sub-optimal)  แนวคิดทางการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) ได้อธิบายสาเหตุของการเกิดพอร์ตโฟลิโอที่ด้อยกว่าความเหมาะสมไว้ว่าเกิดจากการที่นักลงทุนใช้อารมณ์หรือสุ่มเอาในการตัดสินใจ มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป มีการคาดการณ์หวังผลในระยะสั้นๆ มีการใช้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่มีความเกี่ยวข้อง มีการแปลความหมายของข้อมูลที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม และไม่ได้มองความสัมพันธ์หรือผลกระทบของทรัพย์สินทั้งหมดที่ตัวเองถือครองอยู่ ผลลัพธ์ที่นักลงทุนได้จะถูกบิดเบือนไปจากความต้องการหรือความคาดหวังที่แท้จริงตั้งแต่ต้น พฤติกรรมจากเหตุผลทางจิตวิทยาของนักลงทุนเหล่านี้ได้สร้างฟองสบู่ให้เกิดขึ้นในตลาด และถึงทำให้ราคาของหลักทรัพย์ไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของตัวมันเอง ทำให้นักลงทุนที่มีเหตุมีผลสามารถเล็งเห็นความผิดปกติและแสวงหากำไรจากตลาดที่มีประสิทธิภาพน้อยนี้ได้   แนวความคิดของการเป็นนักลงทุนที่มีเหตุมีผล คาดการณ์อย่างมีเหตุมีผล นักลงทุนต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ได้มากที่สุดโดยปราศจากอคติด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ พึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนระหว่างทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่เท่ากัน ให้เลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ต้องมองทรัพย์สินทั้งหมดในภาพรวม นักลงทุนต้องมีการเปรียบเทียบ และพิจารณาผลกระทบระหว่างกันของทรัพย์สินต่างๆ ที่ควรมีไว้ในพอร์ตโฟลิโอกับหลักทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ และมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนให้เหมาะสมอยู่เสมอ   โดยอาศัยหลักการตามที่ว่านี้ท่านก็สามารถปรับปรุงพฤติกรรมการลงทุนของท่านให้ดีขึ้นและนำไปสู่การจัดสรรเงินลงทุนและการกระจายความเสี่ยงให้แก่พอร์ตโฟลิโอของท่านได้อย่างเหมาะสม

ทำไมต้อง DCA: Dollar Cost Averaging

ทำไมต้อง DCA: Dollar Cost Averaging

หลายท่านคงคุ้นหูกับคำว่า Dollar Cost Averaging หรือ DCA มาพอสมควร ซึ่งก็คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน พูดง่ายๆ นั่นก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนของเราเป็นรายงวด ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะกำหนดแผนการลงทุนงวดละเท่าๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่เราจะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร ประโยชน์ใหญ่ๆ ของ DCA คืออะไร ตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกในการลงทุนออกไป ในหนังสือเรื่อง Nudge ซึ่งมีนาย Richard Thaler นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคนล่าสุด ทำการศึกษาเรื่องจิตวิทยาการเงิน (Behavioral Finance) ช่วยอธิบายได้อย่างมาก ว่ามนุษย์เรา จริงๆ แล้วไม่ได้มีเหตุมีผลอย่างที่ควรจะเป็นเท่าไหร่นัก เพราะถ้าเรามีเหตุผลจริงๆ ตามเศรษฐศาสตร์ เราก็ต้องเลือกสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในการลงทุนระยะยาว แต่กลับกลายเป็นว่าในทางปฏิบัติ เราไม่ได้ทำอย่างที่ควรจะเป็น เรามีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง (เยอะมากด้วย) อาทิ เช่น ความโลภ ประกอบกับความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป พยายามที่จะจับจังหวะการลงทุน เป็นเหตุให้การลงทุนอาจไม่ประสบผลดังที่คาดหวังได้ ดังนั้น […]