- กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
BBLAM’s 2020
INVESTMENT THEMES
“เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน”
- ภาพรวมการลงทุนในไตรมาสแรกของปีนั้น เต็มไปด้วยความผันผวน โดยหลังจากที่ตลาดหุ้นโลกได้ทำจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ แล้วปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลงไปทำจุดต่ำสุดที่ประมาณ -30% นับจากต้นปี จนถึงเดือนมีนาคม และเป็นการเข้าสู่ตลาดหมีหรือเป็นการลดลงจากจุดสูงสุดมากกว่า 20% ที่เร็วที่สุดประวัติศาสตร์ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้กลายเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ทุกประเทศต้องใช้มาตรการต่างๆในการรับมือ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง และการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงัน และมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแน่นอนแล้วในปีนี้ ซึ่งความต้องการบริโภคที่หายไปอย่างมากเช่นนี้ ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงกว้าง รวมถึง สงครามราคาน้ำมันระหว่างบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักที่ไม่สามารถเจรจาลดกำลังผลิตได้ ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงแรง
- ภาวะดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่เศรษฐกิจของทั่วโลกนั้นมีการเชื่อมโยงกันสูง ทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมาก การตอบสนองของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกในเวลานี้ จึงมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน โดยผู้ที่มีอิทธิพลหลักอย่าง เฟด ได้ลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วจนใกล้ศูนย์ เป็นการลดที่เร็วกว่าการถดถอยครั้งไหนๆ รวมทั้งใช้การอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จากภาครัฐบาล ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ซึ่งช่วยลดความกลัวของนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการล้มละลายของบริษัทจำนวนมากลงไปได้
- ด้านตลาดหุ้นไทยในปี 2020 นี้ ปรับตัวลงมาแล้วราว 30% YTD โดยในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงราว 16% จากปัจจัยลบต่างๆ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 7.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ 1.96 หมื่นล้านบาท โดยลดสัดส่วนการถือครองในหุ้นแทบจะทุกกลุ่มในตลาด ขณะที่ด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ส่งผลในเกือบทุกภาคส่วน ทั้งการท่องเที่ยว การค้าระหว่างประเทศ และการบริโภคในประเทศ ทำให้ประมาณการจีดีพีของไทยในปีนี้ ถูกหลายสำนักปรับลงอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดนั้นอาจจะติดลบมากถึง 7% ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ จึงคาดว่าจะสามารถรองรับประคับคองไม่ให้เศรษฐกิจในปีนี้ถลำลึกมากเกินไป
มุมมองตลาดหุ้นไทย
แนวโน้มการลงทุนในช่วงนี้ยังคงมีความผันผวน โดยตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาแตะที่จุดต่ำสุดบริเวณ 970 จุด ในเดือนมีนาคม ซึ่งได้ซึมซับปัจจัยเสี่ยงต่างๆไปในระดับหนึ่งแล้ว และเป็นโอกาสสำหรับการเข้าลงทุนในหุ้นที่ Valuation ต่ำลงจากช่วงก่อนหน้ามาก ซึ่งนอกจากความหวังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่แล้ว สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสนั้นดูเหมือนจะมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยสิ่งที่ต้องจับตาเป็นสำคัญ คือ แนวทางในการจัดการให้ธุรกิจกลับมาสู่ภาวะปกติในเวลาไม่นานเกินไปว่าจะทำได้อย่างไร และระดับผลกระทบที่แต่ละธุรกิจได้รับจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงมาก ซึ่งจะทยอยเห็นความชัดเจนมากขึ้นหลังการประกาศงบไตรมาส 1/2020 ที่จะมีขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังคงเลือกในหุ้นที่มีความแข็งแกร่งของงบดุล มีความสามารถในการแข่งขัน และไม่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบมากเกินไป ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้
ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน
(+) มาตการควบคุมไวรัส COVID-19 ทั้งจากการประกาศ Lock Down หรือ Curfew ราว 25 ประเทศ ที่ประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น ห้ามประชาชนออกจากบ้านในระยะเวลาที่กำหนด หรือห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ ฯลฯ ทำให้เกิดความหวังว่ามาตราการดังกล่าวจะช่วยให้การระบาดของโรคคลี่คลายได้เร็วขึ้น หนุนให้ตลาดหุ้นในหลายประเทศที่มีการประกาศ Lock Down ปรับตัวขึ้นตั้งแต่วันประกาศ ส่วนประเทศไทย จากวันที่ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน SET INDEX เพิ่มขึ้นมา 22.63% (21 มี.ค. – 14 เม.ย. 63)
(+) กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการดูแลเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่3 วงเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 3-4 วงเงินรวมกว่า 1.9 ล้านล้านบาท หรือ ราว 10%ของ GDP ไทย หลักๆ คือ 1.ช่วยเหลือประชาชนผ่านมาตรการด้านภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) 2.ดูแลตลาดเงินและตลาดทุนผ่านมาตรการด้านภาคการเงิน (Financial Sector) ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
(+) แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบจัดเต็มของแต่ละประเทศ เร่งอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และช่วยเหลือผ่านภาษี อาทิ สหรัฐ อัดฉีดงบประมาณวงเงินราว 2.16 ล้านล้านเหรียญ (10% ของ GDP) เช่น ให้เงินแก่ประชาชน 1000 เหรียญฯต่อคน, ชดเชยการหยุดงาน, ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น, ญี่ปุ่น พิจารณางบประมาณฉุกเฉินกว่า 108 ล้านล้านเยน (9.89 แสนล้านเหรียญ) หรือประมาณ 20% ของ GDP เพื่อช่วยครัวเรือนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
(+/-) สถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 รายใหม่ในประเทศไทย เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น และการจัดตั้งกองทุน Corporate Bond Stabilization Fund (BSF) วงเงินกว่า 4 แสนล้านบาทที่จัดตั้งโดยธนาคารแห่งประเทศไทยช่วยเสริมสภาพคล่องและสร้างความเชื่อมั่นในตลาดตราสารหนี้และตลาดการเงินโดยรวม ทั้งนี้ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะปัจจัยลบยังไม่คลี่คลาย
(-) กลุ่มพลังงานยังคงโดนกดดันจาก ราคาน้ำมันยังคงผันผวนต่อเนื่อง แม้ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะสามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิต แต่ด้วยการลดปริมาณกำลังการผลิตน้อยเกินไปไม่มากพอที่จะช่วยชดเชยผลกระทบของ ดีมานด์น้ำมันที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก
(-) การออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาวงเงิน 1 ล้านล้านบาท จะทำให้ประเทศต้องแบกภาระหนี้ในระยะยาว โดยเฉพาะหนี้สาธารณะต่อ GDP โดยปัจจุบันอยู่ที่ 6.9 ล้านล้านบาท หรือ 42% /GDP (หากรัฐมีการกู้เงินเต็ม 100% รัฐคาดทำให้หนี้สาธารณะ/ GDP ปรับขึ้นมาอยู่ 57% ใกล้กับเพดานหนี้ตามกฎหมายที่ตั้งไว้ไม่เกิน 60% ล่าสุด กระทรวงการคลัง จะขอขยายเพดานหนี้ชั่วคราวเกิน 60%)
กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน
บัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 63 (ม.ค.-มี.ค.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว อยู่ที่ -23.72% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -27.95% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้นและยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น
บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 63 (ม.ค.-มี.ค.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 อยู่ที่ -19.67% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -27.95% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก พบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้นและยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรมธนาคาร ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น
บัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 63 (ม.ค.-มี.ค.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล อยู่ที่ -21.31% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (80% ของ SET TRI และ 20% ของ MSCI World Net Total Return Index) อยู่ที่ -24.93% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก พบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้นและยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ การแพทย์ วัสดุก่อสร้าง ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
บัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 63 (ม.ค.-มี.ค.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยกองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว
อยู่ที่ -24.48% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -27.95% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก พบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้นและยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ พลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น
ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย
ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 มี.ค. 2563
หมายเหตุ : ใช้เผยแพร่ ณ วันที่ 27 เม.ย. 2563 ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง