BBLAM Weekly Investment Insights 13-17 มิถุนายน 2022

BBLAM Weekly Investment Insights 13-17 มิถุนายน 2022

INVESTMENT STRATEGY

ในช่วงตลาดขาลงแบบนี้ คำถามที่มาตอบกันวันนี้ว่า “เข้าลงทุนได้หรือยัง” “ลงทุนอะไรดี” BBLAM ให้คำแนะนำนักลงทุนว่า ให้เน้นถือเงินสดไว้ หรือมองหาการลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อ

นักลงทุนหลายคนเริ่มมีคำถามกันเข้ามาแล้วว่า “ตลาดลงขนาดนี้ ถึงเวลาเข้าซื้อหุ้นแล้วหรือยัง?” ซึ่งคุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ได้คลายข้อสงสัยนี้ว่า ในภาวะตลาดแบบนี้ สิ่งที่ต้องทำคือ ถือเงินสด ปกป้องเงินต้นไว้มากๆ ส่วนใครที่ลงทุนหุ้นไว้อยู่ เวลานี้ก็ยังไม่ใช่เวลาการขายออกมา แต่เมื่อถามว่าจะกลับเข้าไปลงทุนได้หรือยัง ถ้านักลงทุนพิจารณา bull bear indicator หรือตัวชี้วัดตลาดกระทิงและตลาดหมี เพื่อดูสัญญาณว่าเข้าซื้อได้หรือยัง จะพบว่า เวลานี้คนมีมุมมองในเชิงลบกับตลาดมากๆ แล้ว ก็แสดงว่าเป็นสัญญาณเข้าซื้อได้แล้ว แต่ก็ไม่อยากให้ทุ่มลงทุนเข้าไป ควรใช้วิธีค่อย ๆ ทยอยซื้อได้

อย่างไรก็ดี ถ้ากลับมาที่มุมมองของ BBLAM เอง ก็คงยังไม่ได้แนะนำให้เข้าซื้อหุ้นเลยในตอนนี้ เพราะมองว่า เรายังอยู่ในช่วงของดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งโดยปกติช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ แล้วเวลาที่เศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นก็มีโอกาสจะปรับลดลงไปได้อีก แต่ถ้าใครมีเงินสดในมืออยู่จำนวนมาก แล้วก็ไม่อยากกำเงินสดไว้เฉยๆ ทั้งหมด คุณมทินา ก็มองว่า คงจะต้องมองหาการลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อด้วย ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อน่าจะผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว แต่ถ้ามองไปข้างหน้าก็คงเป็นเรื่องยากที่เงินเฟ้อจะปรับลดลงไปสู่จุดเดิมที่เคยเป็นมาในช่วง 30 ปีก่อน

ทั้งนี้ หากเป็นนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หลายคนก็จะพบว่า ในพอร์ตลงทุนของตัวเอง เน้นลงทุนแต่หุ้นเติบโตเป็นหลัก ไม่ค่อยมีสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อสักเท่าไหร่ นั่นก็เป็นเพราะสภาพแวดล้อมการลงทุนที่เจอมาในช่วงระยะเวลานั้นคือ เงินเฟ้อต่ำ ดอกเบี้ยต่ำ แม้ระหว่างทางจะมีการขึ้นดอกเบี้ยบ้าง แต่เงินเฟ้อก็ไม่ได้สูง แต่ถ้ามองวันนี้ จะพบว่า สภาพแวดล้อมการลงทุนแบบนั้นที่เคยเจอ หายไปแล้ว เรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงินเฟ้อสูง และคาดว่าเงินเฟ้อนี้ก็คงจะไม่ได้ปรับลดลงเร็ว ดังนั้นเราควรเริ่มย้อนกลับไปดูในช่วงเงินเฟ้อสูงว่า พอร์ตลงทุนที่รับมือเงินเฟ้อได้เป็นอย่างไร

ถ้าย้อนกลับไปดูในอดีตช่วงที่เงินเฟ้อสูง ก็พบว่า ตั้งแต่ปี 1950 สินทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นพร้อมเงินเฟ้อ คือ เพชร ที่ดิน ก็คือกลุ่มสินทรัพย์จริง สินค้าโภคภัณฑ์ และของสะสมนั่นเอง ถ้าไปดูในช่วงปี 1970-1980 สิ่งที่จะเพิ่มผลตอบแทนให้พอร์ตลงทุนได้ ก็คือสินทรัพย์จริง หุ้นคุณค่า หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ และตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง

คราวนี้พอกลับมาดูที่พอร์ตลงทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ จะพบว่า แทบไม่มีสินทรัพย์ที่สามารถปรับตัวขึ้นได้ดีพร้อมเงินเฟ้อในปี 1950 กับในช่วงปี 1970-1980 อยู่เลย ดังนั้นสิ่งที่ BBLAM จะแนะนำก็คือ ถือเงินสดให้มากๆ โดยเฉพาะคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ ส่วนคนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางจนถึงสูง ก็ให้ไปเน้นหาหุ้นที่ปรับลงมามากๆ และยังมีอนาคต มีคุณภาพดี และสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดภาษี ก็อย่าลืมใช้โอกาสนี้ในการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ  (RMF) ซึ่งในเวลานี้สามารถซื้อได้ในราคาที่มูลค่าไม่แพง

เมื่อไปดูที่พอร์ตกองทุนรวมทั่วไป ถ้าพบว่า ในพอร์ตมีหุ้นสหรัฐฯ หุ้นเทคโนโลยี หุ้นจีน หุ้นเติบโต BBLAM ก็มองว่า ควรเสริมพอร์ตด้วยการลงทุนในธุรกิจที่ต้านทานเงินเฟ้อได้ดี เช่น หุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งกองทุน B-GLOB-INFRA จะช่วยตอบโจทย์นี้ได้

ทั้งนี้ หากเป็นในช่วงที่ตลาดหุ้นขาขึ้น BBLAM อาจไม่ได้ออกมาแนะนำการลงทุนในกองทุนนี้ เพราะเป็นกองทุนที่จะปรับตัวขึ้นได้ช้า เมื่อไปเทียบกับหุ้นเติบโตอื่นๆ แต่ถ้าเป็นในช่วงตลาดหุ้นขาลง และเงินเฟ้อสูงๆ แบบนี้ กองทุนนี้ถือว่าเหมาะกับสถานการณ์ เพราะหุ้นที่ลงทุน คือธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก จัดอยู่ในกลุ่มหุ้น Defensive คือ หุ้นเชิงรับที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาด ซึ่งปรับตัวขึ้นได้ดี ในขณะที่ความเสี่ยงการลงทุนไม่ได้เพิ่มขึ้น

โดยรวมแล้วโครงสร้างพื้นฐานเป็นสินทรัพย์ที่เวลาเศรษฐกิจดีก็ต้องใช้ เศรษฐกิจไม่ดีก็ต้องใช้เช่นกัน นอกจากนี้ รายได้ของธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานก็ยังสามารถปรับตัวขึ้นพร้อมเงินเฟ้อได้ จากการที่รายได้ในสัญญามักจะเป็นในรูปแบบ cost plus คือต้นทุนบวกเงินเฟ้อเข้าไป ขณะที่ กองทุน Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund  ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-GLOB-INFRA มีเป้าหมายที่จะเอาชนะเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม G7 ในระดับ +5.5% ดังนั้น กองทุนนี้ เป็นกองทุน inflationary hedge หรือ ป้องกันเงินเฟ้อได้ โดยกองทุนก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนปีต่อปี ก็พบว่า สามารถทำได้ดีกว่าดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินเฟ้อประเทศในกลุ่ม G7 +5.5% เกือบทุกปี ยกเว้นปี 2015 และปี 2018

นอกจากนี้กองทุนหลักยังมีข้อดีเรื่องการกระจายเงินลงทุน โดยในแง่ประเทศ มีการลงทุนในสหรัฐฯ แล้วก็กระจายการลงทุนไปในยุโรป รวมถึงลงทุนในเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือในออสเตรเลีย ส่วนในแง่กลุ่มอุตสาหกรรม กองทุนก็พยายามกระจายการลงทุน ไม่ให้เงินกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งมากเกินไป

แนะนำกองทุน B-GLOB-INFRA

อ่าน BBLAM Weekly Investment Insights 13-17 มิถุนายน 2022 ฉบับเต็มได้ที่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/13-17-2022