INVESTMENT STRATEGY
เราไม่รู้ว่าตลาดหมีจะจบลงเมื่อไหร่ แต่เชื่อไหมว่า สุดท้ายทุกๆ ตลาดหมีจะมีตลาดกระทิงตามมา และตลาดจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้ ในทุกๆ ครั้ง
ตั้งแต่ปี 1929 เราเจอตลาดหมีมาแล้ว 26 ครั้ง แต่ละครั้งตลาดจะตกลงเฉลี่ย 38% โดยที่ตลาดหมีอเมริกา มีอายุเฉลี่ย 12 เดือน ส่วนตลาดหมีเอเชียจะมีอายุ 9 เดือนโดยเฉลี่ย ตลาดหมีถึงแม้จะสร้างความเจ็บปวด แต่ก็อายุสั้นกว่าตลาดกระทิง
คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ตั้งข้อสังเกตุในเรื่องนี้ว่า เราไม่รู้ว่าตลาดหมีจะจบลงเมื่อไหร่ หรือตลาดหมีครั้งนี้จะเหมือนครั้งก่อน ๆ หรือไม่ แต่เชื่อไหมว่า สุดท้ายทุก ๆ ตลาดหมีจะมีตลาดกระทิงตามมา ตลาดหมีจะค่อย ๆ ตายไป และตลาดจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้ ในทุกๆ ครั้ง เราเรียนรู้และจะทำเงินอย่างไรกับตลาดหมีได้บ้าง
- ผู้นำตลาดจะไม่เหมือนเดิมหลังจากที่เกิดตลาดหมี ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้าจะเกิด Tech Bubble ก่อนปี 2000 กลุ่มหุ้นเทคโนโลยีเคยเป็นผู้ชนะที่นำพาตลาดขึ้นไป แต่หลังจาก Tech Bubble (นับผลตอบแทนตั้งแต่กันยายนปี 2002 ถึงธันวาคมปี 2005 หลังจากตลาดหมี จบไป กลุ่มเทคก็ไม่ใช่ผู้ชนะ แต่ก็ยังสามารถให้ผลตอบแทนเป็นที่สอง แต่กลับกลายเป็นกลุ่มพลังงานที่กลับขึ้นมาให้ผลตอบแทนที่ดี หรืออีกตัวอย่างในปี 2007 ก่อนที่เกิดวิกฤตการเงิน Global Financial Crisis ที่อเมริกา หุ้นกลุ่มพลังงานก็เคยเป็นผู้ชนะในตอนนั้น แต่พอเกิดวิกฤต ก็กลับกลายเป็นกลุ่ม consumer discretionary พวกสินค้าอุปโภค บริโภค ที่มี Amazon และ Facebook อยู่ในนั้นด้วย กลับกลายเป็นผู้ชนะ จะเห็นว่าผู้ชนะจะหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปหลังจากเกิดตลาดหมี
- จุดเปลี่ยนครั้งนี้คือเรื่องเงินเฟ้อ ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน BBLAM คิดว่าจุดเปลี่ยนคือปี 2022 ที่เราเริ่มเห็นเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูงมาก เป็นผลมาจากทั้งนโยบายการคลังของอเมริกาที่มีการแจกเช็คให้กับประชาชน และยังมีเฟดที่อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจนทำให้ balance sheet ปรับตัวขึ้นไปสองเท่า และยังมีสงครามรัสเซียยูเครน ที่มีการคว่ำบาตร จนทำให้เกิดการขาดแคลนเรื่องพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ โดยที่ผ่านมาบริษัทพลังงานต่าง ๆ ลดการลงทุนเพิ่มไปมาก เนื่องจากแรงกดดันจากนโยบายเรื่องโลกร้อน และไม่ต้องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงทำให้บริษัทพลังงานทั่วโลก เลือกที่จะไม่ลงทุนเพิ่ม หากมีกำไรก็เอากลับคืนให้กับผู้ถือหุ้น ไม่ก็ปันผลออกมา ทำให้ไม่ได้มีการลงทุนในด้านพลังงานอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ราคาพลังงานไม่สามารถปรับตัวลงมาได้ทันทีที่มีความต้องการใช้ ประกอบกับปัญหาขาดแคลนอาหาร ทั้งหมดนี้ทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นในปีนี้ และจะกลายเป็นเทรนด์ในช่วงสิบปีนี้ ปัญหานี้ไม่ได้อยู่กับเราแค่สั้นๆ เงินเฟ้อไม่ใช่ปัญหาเพียงปีเดียว จะอยู่กับเราไปอีกนาน
อ่านเพิ่มเติมทั้งหมดที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/8-12-2022