กองทุน B-ASIA, B-ASIARMF และ B-ASIASSF Q3/2022

กองทุน B-ASIA, B-ASIARMF และ B-ASIASSF Q3/2022

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการออม (B-ASIASSF)

• ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับอินโดนีเซีย เพราะการบริโภคในประเทศจะปรับตัวดีขึ้น จากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม กองทุนมีน้ำหนักในอินโดนีเซีย 6% มากกว่า Benchmark ซึ่งอยู่ที่ 2%
• สาหรับจีน แม้ว่า ยอดค้าปลีกของจีนฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ยอดขายรถยนต์ EV เพิ่มมากกว่า 20% YoY ซึ่งเป็นผลจากนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ เห็นได้ชัดว่า เศรษฐกิจจีน รวมถึงการบริโภคจะเป็นไปตามที่ภาครัฐสนับสนุน ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นที่กองทุนสนใจ
• สำหรับมุมมองต่อความขัดแย้งในไต้หวัน ผู้จัดการกองทุนมองว่า ทั้งจีนและสหรัฐฯ มีประเด็นเศรษฐกิจภายในประเทศที่สำคัญกว่า ทั้งสองประเทศน่าจะไม่ทำอะไรรุนแรงในระยะอันใกล้นี้ ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่อาจชะลอการลงทุนหุ้นจีนในช่วงที่มีความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ มูลค่าของกิจการหุ้นจีนอาจลดต่ำมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ ในช่วงปีที่ผ่านมา กองทุนได้ทยอยเพิ่มน้ำหนักในหุ้นจีน จนปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียง Benchmark แล้ว แต่ระยะต่อจากนี้ ผู้จัดการกองทุนจะให้ความสำคัญกับนโยบาย Zero-Covid ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ หากมีการผ่อนคลายอย่างชัดเจนอีกครั้ง
• ตัวอย่างหุ้นที่ลงทุน เช่น Ming Yang Smart Energy บริษัทพลังงานลมในจีน ราคา ณ 29 ส.ค. 2565 ปรับเพิ่มขึ้น 10% ตั้งแต่ต้นปี ในอินเดีย ผู้จัดการกองทุนชอบหุ้นกลุ่มยานยนต์ และกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัว สำหรับไต้หวัน กองทุนลงทุน TSMC น้อยกว่า Benchmark แต่สนใจหุ้นด้านการบริโภค เช่น Uni-President บริษัทชั้นนำด้านอาหาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ HonHai ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งมือถือ EV และแบตเตอรี่ต่างๆ อย่างไรก็ตาม กองทุนมีน้ำหนักในไต้หวันน้อยกว่า Benchmark โดยกองทุนมีสัดส่วน 13% และ Benchmark 16%
• ผู้จัดการกองทุนเน้นการคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสาคัญ โดยหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนสนใจอยู่ในกลุ่มผลิตชิ้นส่วนให้กับเทคโนโลยีเฉพาะทางกลุ่มเกมส์ กลุ่มอีคอมเมิร์ช กลุ่มยานยนต์ที่ได้ประโยชน์จากความต้องการรถ EV ที่มากขึ้น กลุ่มหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาปรับลดลงจนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และกลุ่มบริษัทประกันและธนาคารที่ได้ประโยชน์จากความเคลื่อนไหวของดอกเบี้ย โดยหุ้นที่สนใจลงทุนจะต้องมีราคาไม่สูงเกินมูลค่ากิจการ ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขัน หรือมีความสามารถในการกำหนดราคาในตลาดได้ และมีงบการเงินที่แข็งแกร่ง
มุมมองในอนาคต
• จากการที่ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงในช่วงปีที่ผ่านมา และการถูกปรับลดประมาณการกำไรของกิจการ ผู้จัดการกองทุนมองว่า ยิ่งทำให้หุ้นเอเชียมีความน่าสนใจมากขึ้น และในช่วงที่ตลาดประเทศพัฒนาแล้วมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและเศรษฐกิจชะลอตัว ผั่งเอเชียมีแรงกดดันในประเด็นเหล่านี้น้อยกว่ามาก นโยบายการเงินการคลังของกลุ่มเอเชียมีความพร้อมที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวหลังโควิด การเปิดประเทศ เป็นแรงผลักดันให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวเพิ่มขึ้น
• สำหรับมุมมองต่อจีน ผู้จัดการกองทุนเห็นว่า ใกล้ถึงจุดต่ำที่สุดแล้ว และนโยบายเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น US ซึ่งอยู่ในสถานการณ์ตรงกันข้าม ตลาดได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และนโยบายเริ่มตึงตัวมากขึ้น ดังนั้น ตลาดหุ้นเอเชียจึงมีความน่าสนใจลงทุนในระยะนี้

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต