2023 – The Rise of Asia |
INVESTMENT STRATEGY
By BBLAM
“เมื่อเทียบ Fed กับ ECB ตลาดมองว่า ECB ดูจะ Bullish กว่า Fed เป็นผลให้ Fx Trader เริ่มมองว่าจะเกิดเหตุการณ์ Fed-ECB Divergence”
ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM กล่าวว่า ท่าทีของตลาดที่มีต่อธนาคารกลางสรัฐฯและธนาคารกลางของ EU ล่าสุดว่า เป็น “Fed-ECB Divergence Fed จะคงดอกเบี้ยแต่ ECB พร้อมไปต่อ”
คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) ในเดือนพฤษภาคม ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5-5.25% เนื้อความในมติการประชุมครั้งนี้ที่ต่างจากการประชุมครั้งก่อน คือการประชุมครั้งนี้ไม่มีประโยคที่ว่า “คณะกรรมการเห็นควรให้คุมเข้มนโยบายการเงินต่อไป” ทำให้ตลาดคาดว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน
สำหรับ Key Point สำคัญระหว่าง Press Conference ได้แก่
- ประธาน Fed ค่อนข้างจะ Bullish ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯโดยได้ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวในอัตราปานกลางและประธาน Fed ไม่ได้มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (เป็นการให้ความเห็นที่สวนทางกับประมาณการเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม)
- ประธาน Fed มองว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯชะลอลงค่อนข้างช้า จึงยังไม่เห็นด้วยกับการรีบปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ด้านธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ก็มีมติ (เกือบ) เป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเช่นเดียวกันในการประชุมเดือนพฤษภาคม โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25 bps สู่ 3.25% จากที่ได้ขึ้นไปแล้ว 50 bps ในการประชุมสามครั้งก่อนหน้า ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ประธาน ECB กล่าวว่าในระหว่างการประชุมมีคณะกรรมการบางส่วนมองว่าน่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่า 25 bps และประธาน ECB ได้ให้ความเห็นว่า ECB จะยังไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยและยังมีกรอบนโยบายการเงินที่ยังจะไปต่อได้ (“We have more ground to cover and we are not pausing, That’s extremely clear”)
นัยยะจากการประชุม
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ประธาน Fed ดูจะยัง Bullish กว่าที่ตลาดมอง ดังนั้นเมื่อฟังจากการให้สัมภาษณ์ Bloomberg จึงยังมองว่า Fed อาจจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือนมิถุนายน สวนทางกับที่ตลาดมองว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว
แต่เมื่อเทียบ Fed กับ ECB ตลาดมองว่า ECB ดูจะ Bullish กว่า Fed เป็นผลให้ Fx Trader เริ่มมองว่าจะเกิดเหตุการณ์ Fed-ECB Divergence สะท้อนผ่านค่าเงิน EURUSD ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม ขณะที่ Bond Spread ระหว่างพันธบัตรสหรัฐฯและเยอรมนีปรับตัวแคบลง
BBLAM แนะนำกองทุน
กองทุนลงทุนตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ : BFIXED หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BFRMF
กองทุนลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ กลยทธ์เน้นยืดหยุ่นทันสถานการณ์โลด : B-DYNAMIC BOND
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/15-19-2023