กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ B-HY (H75) AI
กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ B-HY (UH) AI
สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ยูเอส ไฮยิลด์
เดือน ม.ค. ตราสารหนี้ยูเอส ไฮยิลด์ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ระดับ B ให้ผลตอบแทน +4.59% ผลตอบแทนรายเดือนเป็นบวกเดือนแรกหลังจากที่ให้ผลตอบแทนติดลบติดต่อกันมาสามเดือน
ผลตอบแทนที่เป็นบวกเป็นผลจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แสดงออกต่อทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยในทำนอง Dovish แปลว่า จะไม่เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเหมือนที่ผ่านๆ มา ความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ตลาดหุ้นร่วงลง ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนบรรเทา ผลประกอบการบริษัทที่ออกมาดีกว่าที่คาด ราคาน้ำมันและตลาดหุ้นที่พุ่งสูงขึ้น
ด้านกระแสเงินไหลเข้า-ออก ตราสารหนี้ยูเอส ไฮยิลด์เผชิญกับกระแสเงินไหลเข้าในเดือน ม.ค. +4.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นเม็ดเงินไหลเข้าต่อเดือนสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.2016 และพลิกกลับจากเดือน ธ.ค.2018 ที่ไหลออก -9.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านตราสารหนี้ออกใหม่ พบว่า กลับมามีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ม.ค. ปีนี้ มีตราสารหนี้ออกใหม่ 20 ตราสารรวม 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเปรียบเทียบกับตราสารหนี้ออกใหม่ในเดือน ม.ค. ปีที่แล้วถือว่าน้อยลง -43%
ด้านการผิดนัดชำระหนี้ พบว่า ไม่มีตราสารหนี้ไฮยิลด์ผิดนัดชำระหนี้ในเดือน ม.ค. อัตราการผิดนัดชำระหนี้ตามราคาที่ตราไว้ (Par weight default rate) สิ้นเดือนม.ค. ระดับ 1.77% ลดลงจากสิ้นเดือน ธ.ค. ที่ระดับ 1.83%
หากเทียบผลตอบแทนตราสารหนี้ไฮยิลด์สหรัฐฯ รายเดือน (ซึ่งเพิ่มขึ้น +4.59%) น้อยกว่าหุ้นสหรัฐฯ (S&P500 ซึ่งเพิ่มขึ้น +8.01%) แต่มากกว่าตราสารหนี้เอกชน (U.S. Corporate +2.09%) และพันธบัตรรัฐบาล (U.S. Treasury +0.46%)
เมื่อมองลึกลงโดยจำแนกตามอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร ตราสารหนี้ระดับ CCC หรือต่ำกว่าให้ผลตอบแทน +5.83% สูงกว่าตราสารหนี้ระดับ BB ซึ่งให้ผลตอบแทน +4.30% และเมื่อพิจารณาตราสารจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทที่ลงทุน พบว่า ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนเป็นบวกในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมรวมทั้งหมด 18 กลุ่มอุตสาหกรรม ตราสารหนี้ในกลุ่มพลังงาน (+6.28%) ตราสารหนี้ในกลุ่มเฮลธ์แคร์ (+5.34%) และตราสารหนี้ในกลุ่มสถาบันการเงิน (+4.87%) ขณะที่สามกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดคือ 1. ตราสารหนี้ในกลุ่มขนส่ง (+1.38%) 2. ตราสารหนี้ในกลุ่มสาธารณูปโภค (+3.30%) และ 3. ตราสารหนี้ในกลุ่มประกันชีวิต (+3.40%)
ส่วนต่างของผลตอบแทนตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์กับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (โดยใช้ Option adjusted spread) ระดับ 437 basis points แคบลง 96 basis points เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 533 basis points ทำให้ราคาตลาดของตราสารหนี้เพิ่มขึ้นจาก 92.31 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนธ.ค. เป็น 96.05 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ม.ค.
ด้านผลตอบแทนตราสารหนี้กรณีใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนครบกำหนด (หรือที่เรียกว่า Yield to worst) ณ สิ้นเดือน ม.ค. ระดับ 6.94% พบว่า ลดลงจากช่วงต้นเดือนที่ระดับ 7.95%
ที่มา: AXA Investment Managers, ม.ค. 2019
นโยบายลงทุนของ AXA WF US High Yield Bonds I USD
ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยคงที่และผันแปร โดยมีเป้าหมายในการบริหารกองทุนเพื่อให้ได้รายได้จากดอกเบี้ยในระดับสูงและสม่ำเสมอ
กองทุนหลัก (Master Fund)
ชื่อ : AXA WF US High Yield Bonds I USD
วัตถุประสงค์การลงทุน : แสวงหาผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในตราสารหนี้ยูเอสไฮยิดล์ในระยะยาว
วันจดทะเบียน : November 2006
ประเทศที่จดทะเบียน : ลักเซมเบิร์ก
สกุลเงิน : USD
เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark) : BofA Merrill Lynch US High Yield Index.
Morningstar Category : Global Fixed Income
Bloomberg (A) : AXUHYIU LX
Fund Size : USD 2,465 million (down from USD 2,558 million in Oct last year)
NAV : USD 238.62 (up from USD 234.72 in Oct last year)
Number of holdings : 218 (Down from 224 in Oct last year)
ลักษณะสำคัญ : AXA IM Core HY Strategy และ เกณฑ์มาตรฐาน BofA Merrill Lynch US High Yield Index
ที่มา : AXA WF US High Yield Bonds I USD, เดือนม.ค. 2019
ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ม.ค. 2019)
ประกาศการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ
กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI)
และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)
หมายเหตุ:
– วันทำการรับซื้อคืนอัตโนมัติ คือ วันทำการซื้อขายของกองทุนวันสุดท้ายของเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม
– คำนวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ภายใน 2 วันทำการนับแต่วันทำการถัดจากวันทำการรับซื้อคืนอัตโนมัติ