กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของกองทุนบัวหลวง

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของกองทุนบัวหลวง

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)

BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES

“รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์”

  • ตลาดการเงินโลกผันผวนในเดือน ส.ค. โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในช่วงต้นเดือนจากความผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง และความกังวลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ที่สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ออกมาอ่อนแอลง เช่น ภาคการผลิตของจีนโตต่ำสุดในรอบ 17 ปี จีดีพีไตรมาสสองของเยอรมนี หดตัวลง 0.1% ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิด Technical Recession เป็นต้น ความกังวลดังกล่าวสะท้อนผ่านภาวะ Inverted Yield Curve ของ ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ
  • ด้านสงครามการค้านั้น ยกระดับความรุนแรงขึ้นจากการที่ทรัมป์เดินหน้าขึ้นภาษีบนสินค้านำเข้าจากจีน แม้ว่าจะมีการเลื่อนการขึ้นภาษีบางส่วนจากเดือน ก.ย. ไปเป็นเดือน ธ.ค. และจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯ กว่า 5,000 รายการ เช่นเดียวกัน สงครามการค้าที่ดำเนินไปนั้น ในด้านหนึ่งทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มที่จะส่งสัญญาณชะลอลงบ้าง เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ 50.3 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นต้น และอาจเริ่มส่งผลต่อคะแนนเสียงมากขึ้นต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของทรัมป์ในปีหน้า ทำให้ทรัมป์มีท่าทีที่พร้อมเจรจามากขึ้น
  • สำหรับตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงก่อนที่จะฟื้นตัวในครึ่งเดือนหลัง ปิดติดลบ 3.3% โดยเป็นแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนสถาบัน 3.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 5.4 หมื่นล้านบาทในเดือนเดียว หลังจากซื้อติดต่อกัน 4 เดือน ทำให้รวมตั้งแต่ต้นปีเหลือยอดซื้อสุทธิ 6.4 พันล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เผชิญเงินทุนต่างชาติไหลออกในเดือนนี้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ สื่อสาร วัสดุก่อสร้าง ธนาคาร และปโตรเคมี ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่เงินทุนไหลเข้า ได้แก่ อาหาร ขนส่ง และท่องเที่ยว ทั้งนี้ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับการปรับน้ำหนักหุ้นในดัชนี MSCI Emerging Market (Rebalance) โดยเพิ่มดัชนี China A-Share และซาอุดิอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วน 1.38% และ 0.7% ในดัชนี MSCI ตามลำดับ ทำให้สัดส่วนตลาดหุ้นไทยลดลงเล็กน้อย
  • ด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไตรมาสสองที่ประกาศออกมา หดตัวลง 16%yoy สาเหตุจาก รายได้และกำไรที่ลดลง รวมถึงการรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียว ขณะที่จีดีพีไตรมาสสองของไทย โตเพียง 2.3% ทำให้สภาพัฒน์ปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ลงเป็น 2.7 – 3.2% จากเดิมที่ 3.3 – 3.8%

มุมมองตลาดหุ้นไทย

ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังคงต้องติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงนโยบายของธนาคารกลางหลักๆ และของประเทศไทย ที่ผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อรองรับสภาพกับเศรษฐกิจ โดยภาพรวมยังคงมีความผันผวนอยู่ เราเชื่อว่าจะเป็นจังหวะและโอกาสสำหรับการลงทุนในหุ้นที่ดี ในระดับราคาเหมาะสม ทั้งนี้ เรายังคงกลยุทธ์พิถีพิถัน โดยต้องอาศัยความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนในช่วงสั้น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน

(+) ปัจจัยบวกระยะสั้นของตลาดส่วนใหญ่จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น

  • ตลาดตอบรับสถานการณ์สงครามการค้าที่เป็นบวกมากขึ้นหลังจีนและสหรัฐฯ ต่างผ่อนปรนการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อการเจรจาการค้ารอบใหม่ที่จะมีขึ้นในช่วงต้นเดือน ต.ค. และบวกต่อทิศทางตลาดหุ้น
  • ความคาดหวังการดำเนินนโยบายการเงิน การคลัง เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับผลกระทบจาก Trade War ของประเทศสำคัญๆ ว่าหากมาตรการดังกล่าวของแต่ละประเทศเริ่มทำงาน เศรษฐกิจน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นได้

(+/-) ภาพการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายกันมากขึ้น เริ่มจาก ECB กลับมาลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปีครึ่ง บวกกับใช้มาตรการ QE เพิ่มเติม ตามด้วยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ 7:3 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate) ลง 25bps เป็น 1.75% – 2.00% เป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 และคอยติดตาม BOJ ว่าจะลดดอกเบี้ยเหมือนกันหรือไม่? ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะช่วยหนุนให้ Fund Flow ไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง อย่างตลาดหุ้นในภูมิภาคและตลาดหุ้นไทย

(+/-) หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 1.75 – 2.00% ทำให้ต้องติดตามว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการปรับลดหรือไม่? ซึ่งถ้าปรับลดจะยิ่งทำให้ Earning Yield Gap ตลาดหุ้นไทยกว้างขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 4.45% ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นปัจจัยบวก หนุนให้กลุ่ม Dividend Play & Defensive Stock เป็นที่สนใจมากขึ้น

(-) ปัจจัยลบภายในประเทศระยะสั้น 1) การขาดทุนค่าเงินของบริษัทในกลุ่มส่งออกจากเงินบาทที่แข็งค่า 2) การชะลอตัวลงของยอดโอนอสังหาริมทรัพย์หลังมีการใช้มาตรการ LTV 3) ประเด็นการขึ้นภาษีนํ้าหวานเพิ่มในวันที่ 1 ต.ค. 2562 อาจส่งผลกระทบต่อหุ้นเครื่องดื่มในระยะสั้นในเชิงจิตวิทยา แต่ในระยะยาวผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับเทรนด์รักสุขภาพด้วยการหันมาผลิตและบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานน้อยลงไปแล้ว

(-) ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 2562 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อกำลังซื้อภายในประเทศที่ชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาทที่มากกว่าภูมิภาคซึ่งจะกระทบต่อขีดความสามารถของการส่งออก

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.- ส.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงหุ้นระยะยาว อยู่ที่ 6.28 % และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 8.51% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ราคาเนื้อหมู/เนื้อไก่ มีแนวโน้มฟื้นตัว จากโรคระบาดในต่างประเทศ อีกทั้งปัจจัยหนุนจากการที่จีนและยุโรป เปิดให้ไทยส่งออกไก่ไปเพิ่มขึ้น) พาณิชย์ (ความคาดหวัง มาตรการภาครัฐที่ออกมาจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้การบริโภคครัวเรือนดีขึ้น ส่วนกลุ่มการค้าปลีก คาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้างเล็กน้อย ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรมธนาคาร เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.- ส.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 อยู่ที่ 5.24% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 8.51% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ราคาเนื้อหมู/เนื้อไก่ มีแนวโน้มฟื้นตัว จากโรคระบาดในต่างประเทศ อีกทั้งปัจจัยหนุนจากการที่จีนและยุโรป เปิดให้ไทยส่งออกไก่ไปเพิ่มขึ้น) พาณิชย์ (ความคาดหวัง มาตรการภาครัฐที่ออกมาจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้การบริโภคครัวเรือนดีขึ้น ส่วนกลุ่มการค้าปลีก คาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้างเล็กน้อย ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรมธนาคาร เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.- ส.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล อยู่ที่ 4.53% และเกณฑ์มาตรฐาน (80% ของ SET TRI และ 20% ของ MSCI World Net Total Return Index) อยู่ที่ 8.68% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ราคาเนื้อหมู/เนื้อไก่ มีแนวโน้มฟื้นตัว จากโรคระบาดในต่างประเทศ อีกทั้งปัจจัยหนุนจากการที่จีนและยุโรป เปิดให้ไทยส่งออกไก่ไปเพิ่มขึ้น) พาณิชย์ (ความคาดหวัง มาตรการภาครัฐที่ออกมาจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้การบริโภคครัวเรือนดีขึ้น ส่วนกลุ่มการค้าปลีก คาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)

ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (มี.ค.- ส.ค.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว อยู่ที่ 6.43% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 3.29% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพทมือถือ มีสถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นและผู้ให้บริการบางราย เริ่มขยายช่องทางธุรกิจใหม่ๆ มากขึ้น) และพาณิชย์ (ความคาดหวัง มาตรการภาครัฐที่ออกมาจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้การบริโภคครัวเรือนดีขึ้น ส่วนกลุ่มการค้าปลีก คาดว่า จะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุน ได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภคและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย

ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 ส.ค. 2562