อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ค. ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ตามทิศทางของ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 20 พ.ค. มาอยู่ที่ระดับ 0.50% จากความกังวลด้านภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีโอกาสหดตัวมากกว่าที่คาด
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบมากกว่าที่คาดจากปัจจัยของราคาพลังงานที่ลดลงเป็นหลัก อีกทั้งความกังวลด้านเสถียรภาพของระบบการเงินที่เปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลงในช่วงระหว่าง -4 ถึง -11 bps MTD ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือ 5 ปี ณ สิ้นเดือน พ.ค. อยู่ที่ระดับ 0.82% (-9 bps MTD)
อย่างไรก็ตาม พันธบัตรระยะยาวรุ่น 10-20ปี ปรับเพิ่มขึ้น 3 ถึง 13 bps MTD จากแรงขายของนักลงทุน เนื่องด้วยตลาดได้คาดการณ์ถึงปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนสูงกว่า 6 แสนล้านบาท ในปีงบประมาณ 2563 ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาอยูที่ระดับ 1.24% (+3 bps MTD) ส่วนอัตราผลตอบแทน US Treasury 10Y อยู่ที่ระดับ 0.65% (+2 bps MTD)
ทั้งนี้ มาตรการรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินที่ประกาศในเดือน มี.ค. ประกอบกับความคาดหวังจากนักลงทุนต่อมาตรการเปิดประเทศอีกครั้ง การพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง มีส่วนช่วยให้ตลาดการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น และมีความต้องการมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐลดลง โดยความเคลื่อนไหวของตัวอย่างมาตรการข้างต้นในเดือน พ.ค. ได้แก่
- มาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้กองทุนตราสารหนี้ผ่านธนาคารพาณิชย์ กองทุนรวมตราสารหนี้เริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาอีก ส่งผลให้ไม่มีการใช้เครื่องมือดังกล่าวในเดือน พ.ค.
- การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดตราสารหนี้ของ ธปท. ไม่มีรายการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมในเดือน พ.ค. หลังจากที่ได้เข้าซื้อตราสารหนี้เป็ นจำนวนกว่า 1.6 แสนล้านบาทในเดือน มี.ค. และ เม.ย.
- กองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate Bond Stability Fund: BSF) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสุดท้ายของบริษัทเอกชน และมีต้นทุนทางการเงินที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ที่ผ่านมายังไม่มีบริษัทที่ขอใช้วงเงินดังกล่าว โดยถึงแม้จะมีผู้ออกหุ้นกู้หลายรายที่ไม่สามารถระดมทุนได้ตามกำหนด แต่บริษัทกลุ่มดังกล่าวยังสามารถจัดหาสภาพคล่องได้จากวงเงินกู้จากสถาบันการเงิน รวมถึงการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นกู้ในการขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้
ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ยังคงมีความกังวลในภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ จากการระบาดของ COVID-19 ประกอบกับมีความต้องการออกหุ้นกู้จำนวนมากจากบริษัทเอกชนรายใหญ่ โดยส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนระหว่างหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล (Credit spread) สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม AAA และ BBB อายุ 5 ปี ปรับเพิ่มขึ้นอีก 30 และ 18 bps ตามลำดับ ในเดือน พ.ค. แสดงให้เห็นว่านักลงทุนยังมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนเงินกู้ของบริษัทเอกชนมีแนวโน้มปรับขึ้น เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในปี2563 นี้ มีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
- ความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตร อย่างไรก็ตาม การควบคุมโรคหากไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจกลับเป็นปัจจัยลบต่อตลาดตราสารหนี้อีกรอบได้เช่นกัน จากความตื่นตระหนกของนักลงทุนและขายสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อถือเงินสดเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา
- การเติบโตของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวแรง และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอ่อนตัวกว่าที่คาด จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative easing) มาตรการ Yield Curve Control รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงจากระดับปัจจุบันได้
- แผนการกู้เงินของภาครัฐในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 6 แสนล้านบาท ส่งผลให้มีปริมาณพันธบัตรรวมถึงเครื่องมือการระดมทุนอื่นๆ ที่จะดูดซับสภาพคล่องจากปริมาณเงินในระบบอย่างมีนัยสำคัญ และมีผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบัน เพื่อติดตามผลของนโยบายการเงินปัจจุบันที่มีต่อเศรษฐกิจ รวมถึงเพื่อรักษา Policy space ที่มีจำกัดไว้ใช้ในยามจำเป็น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลได้มีการปรับตัวสะท้อนทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยครั้งล่าสุดไปแล้ว จึงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงต่อไป จะมีความผันผวนตามปัจจัยอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะแผนการกู้เงินภาครัฐในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 6 แสนล้านบาท
สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งจะมีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น กองทุนจะมีการลงทุนในหุ้นกู้โดยคัดเลือกผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบด้านกระแสเงินสดในระดับต่ำ และมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับภาระหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการระดมทุนเพื่อต่ออายุหุ้นกู้
Fund Comment
Fund Comment พฤษภาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ค. ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ตามทิศทางของ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 20 พ.ค. มาอยู่ที่ระดับ 0.50% จากความกังวลด้านภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีโอกาสหดตัวมากกว่าที่คาด
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบมากกว่าที่คาดจากปัจจัยของราคาพลังงานที่ลดลงเป็นหลัก อีกทั้งความกังวลด้านเสถียรภาพของระบบการเงินที่เปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลงในช่วงระหว่าง -4 ถึง -11 bps MTD ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือ 5 ปี ณ สิ้นเดือน พ.ค. อยู่ที่ระดับ 0.82% (-9 bps MTD)
อย่างไรก็ตาม พันธบัตรระยะยาวรุ่น 10-20ปี ปรับเพิ่มขึ้น 3 ถึง 13 bps MTD จากแรงขายของนักลงทุน เนื่องด้วยตลาดได้คาดการณ์ถึงปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนสูงกว่า 6 แสนล้านบาท ในปีงบประมาณ 2563 ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาอยูที่ระดับ 1.24% (+3 bps MTD) ส่วนอัตราผลตอบแทน US Treasury 10Y อยู่ที่ระดับ 0.65% (+2 bps MTD)
ทั้งนี้ มาตรการรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินที่ประกาศในเดือน มี.ค. ประกอบกับความคาดหวังจากนักลงทุนต่อมาตรการเปิดประเทศอีกครั้ง การพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง มีส่วนช่วยให้ตลาดการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น และมีความต้องการมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐลดลง โดยความเคลื่อนไหวของตัวอย่างมาตรการข้างต้นในเดือน พ.ค. ได้แก่
ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ยังคงมีความกังวลในภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ จากการระบาดของ COVID-19 ประกอบกับมีความต้องการออกหุ้นกู้จำนวนมากจากบริษัทเอกชนรายใหญ่ โดยส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนระหว่างหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล (Credit spread) สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม AAA และ BBB อายุ 5 ปี ปรับเพิ่มขึ้นอีก 30 และ 18 bps ตามลำดับ ในเดือน พ.ค. แสดงให้เห็นว่านักลงทุนยังมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนเงินกู้ของบริษัทเอกชนมีแนวโน้มปรับขึ้น เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในปี2563 นี้ มีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบัน เพื่อติดตามผลของนโยบายการเงินปัจจุบันที่มีต่อเศรษฐกิจ รวมถึงเพื่อรักษา Policy space ที่มีจำกัดไว้ใช้ในยามจำเป็น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลได้มีการปรับตัวสะท้อนทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยครั้งล่าสุดไปแล้ว จึงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงต่อไป จะมีความผันผวนตามปัจจัยอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะแผนการกู้เงินภาครัฐในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 6 แสนล้านบาท
สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งจะมีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น กองทุนจะมีการลงทุนในหุ้นกู้โดยคัดเลือกผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบด้านกระแสเงินสดในระดับต่ำ และมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับภาระหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการระดมทุนเพื่อต่ออายุหุ้นกู้