- กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
BBLAM’s 2020 INVESTMENT THEMES
“เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน”
- ปัจจัยภายในประเทศ
- การฟื้นตัวของแต่ละกลุ่มธุรกิจยังมีความไม่แน่นอน ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจยังคงถูกกดดันจากโควิด-19
- กลยุทธ์การลงทุน คือ ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เห็นสัญญาณของรายได้กลับมาในเวลาเร็วกว่าที่คาดการณ์
- ปัจจัยภายนอกประเทศ
- ความเสี่ยงในการเกิดการแพร่ระบาดระลอกสอง
- การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจเพิ่มความเข้มข้นในการหาเสียง ด้วยการยกประเด็นสงครามการค้าขึ้นมาอีกครั้ง
- ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค. หนุนโดย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง และปัจจัยจากอิทธิพลของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและการอัดฉีดสภาพคล่องขนาดใหญ่ที่รวดเร็วจากธนาคารกลางทั่วโลก โดยตลาดได้ตอบรับปัจจัยบวกไปล่วงหน้าจนทำให้ซื้อขายที่ระดับ P/E 21 เท่า ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในหลายตลาดหลักๆ รวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย ทำให้ในเดือน มิ.ย. ตลาดปิดที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนยังคงเป็นมุมมองเชิงบวก
- ในด้านเศรษฐกิจ IMF ได้มีการประมาณการเศรษฐกิจโลก ในปีนี้ว่าจะหดตัว -4.9% และกลับมาขยายตัวในปีหน้าที่ 5.4% ถึงซึ่งเป็นการปรับประมาณการลงจากการประเมินครั้งก่อนหน้าเล็กน้อย โดยยังคงเป็นภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในลักษณะ V-Shaped ทั้งนี้ IMF ระบุว่า มาตรการทางด้านการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการจ้างงานและการเสริมสภาพคล่องธุรกิจ เป็นสิ่งที่ช่วยเศรษฐกิจไม่หดตัวไปรุนแรงกว่านี้ ทำให้นักลงทุนสามารถมองข้ามตัวเลขเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เป็นตัวชี้วัดย้อนหลังไปได้
- สำหรับนโยบายการเงิน Fed ได้เข้ามาซื้อตราสารหนี้เพิ่มขึ้น จนทำให้งบดุลขยายตัวจาก 4.5 เป็น 7.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา กอปรกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยที่ Dot Plot ชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงระดับต่ำเช่นนี้ไว้อย่างน้อยจนถึงปีค.ศ. 2022 ทำให้ตลาดการเงินมีเสถียรภาพดีขึ้น ทั้งในตลาดทุน พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชน และสภาพคล่องของภาคธุรกิจ โดยภาพรวมแล้ว แม้ว่าการถดถอยของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้จะลึกกว่าในปีค.ศ. 2008 แต่ก็กินระยะเวลาสั้นกว่า
- ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศไทยนั้น สามารถทำได้ดีมากจนสามารถผ่อนคลายการล็อกดาวน์ ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่มากดดันจากการเกิดการระบาดระลองสองในบางประเทศ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจช้ากว่าที่คาด และจะส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยล่าช้าไปด้วย ในเดือน มิ.ย. นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิ ที่ 2.3 หมื่นลบ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ 3.2 หมื่นลบ. โดยลดการถือครองในกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มหลัก หลังจากได้รับปัจจัยกดดันจากประมาณการ GDP ของธปท.ที่ปรับลงเป็น -8.1% รวมถึงให้ธนาคารพาณิชย์งดการจ่ายเงินปันผล และซื้อหุ้นคืน
มุมมองตลาดหุ้นไทย
แนวโน้มการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ อยู่ที่การฟื้นตัวทางปัจจัยพื้นฐานว่าจะฟื้นขึ้นเร็วมากน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้อย่างไร ความเสี่ยงในการเกิดการแพร่ระบาดระลอกสอง รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ซึ่ง Donald Trump อาจเพิ่มความเข้มข้นในหาเสียง ด้วยการยกประเด็นสงครามการค้าขึ้นมาอีกครั้งได้ หรือถ้ามีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่สนับสนุนคือสภาพคล่องในตลาดการเงิน กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้จึงมีความ Selective เนื่องตลาดถูกซื้อขายด้วยความคาดหวังไปล่วงหน้า ขณะที่การฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจยังมีความไม่แน่นอน จึงควรเน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เห็นสัญญาณของรายได้กลับมาในเวลาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน
(+) อัตราดอกเบี้ยไทยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดย Policy rate ลงมาเหลือเพียง 0.50% ประกอบกับนักลงทุนบางกลุ่มที่กังวลกับการลงทุนในตราสารหนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม High Yield Bond จึงหันมาซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี มีปันผลมากขึ้น
(+) สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ในไทยยังคงดีขึ้นเรื่อยๆ โดยปลอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศติดต่อกันมาแล้ว 46 วัน ประกอบกับการผ่อนคลายล็อกดาวน์เปิดให้ภาคธุรกิจกลับมาผลิตและบริการมากขึ้น
(+/-) การทดลองวัคซีนต้านโควิด-19 เริ่มเห็นความคืบหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ
(+/-) สภาพคล่องทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูงจากการอัดฉีดเม็ดเงินของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ปัจจัยภายนอก
- ความกังวลการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รอบสองในหลายประเทศที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในสหรัฐที่ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงถึง 6.1 หมื่นราย/วัน ซึ่งอาจส่งผลให้บางรัฐของสหรัฐต้องประกาศล็อกดาวน์รอบใหม่และจะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
- การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก
- สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
ปัจจัยภายใน
- ผลกระทบ โควิด-19 ส่งผลกระทบทั่วโลกผ่านไปถึงภาคเศรษฐกิจต่างๆ อย่างชัดเจน กดดันเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของไทยรอบด้าน ทั้งการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้า และการบริโภคในประเทศที่ลดลง เหลือแรงขับเคลื่อนเพียงการใช้การใช้จ่ายภาครัฐที่ยังมีอยู่
- กำไรบริษัทจดทะเบียนงวดไตรมาส 2 ปี 2563 น่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ- การปรับลดประมาณการกำไรปี 2563 ของกลุ่มนักวิเคาระห์
- การส่งออกไทยหดตัวสูง กดดันตัวเลขทางเศรษฐกิจ
- ความกังวล โควิด-19 ระบาดรอบสองในไทย
- เงินลงทุนจากต่างชาติ (Fund Flow) ยังมีสัญญาณไหลออกต่อเนื่อง (ภายในปี ตปท.ขายออกสุทธิ 2.17 แสนล้านบาท) เหตุเพราะหุ้นไทยค่อนข้างแพง เทรดกัน P/E ที่ 21.14 เท่า (ณ วันที่ 9/7/2563) ซึ่งสูงสุดในภูมิภาค ประกอบกับอัตราการเติบโตของกำไรที่น้อยสุดในภูมิภาคเช่นกัน
กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน :
- กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว อยู่ที่ -12.01% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -13.17% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง การแพทย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พาณิชย์ ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 อยู่ที่ -9.99% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -13.17% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง การแพทย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พาณิชย์ ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล อยู่ที่ -6.70% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (80% ของ SET TRI และ 20% ของ MSCI World Net Total Return Index) อยู่ที่ -10.62% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พาณิชย์ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง การแพทย์ เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยกองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว อยู่ที่ -12.71% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -13.17% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก พบว่า
*ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง พลังงานและสาธารณูปโภค ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ ขนส่งและโลจิสติกส์ การแพทย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆด้วย
ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2563