Highlight ประจำไตรมาส 4Q2020
1. ระดับมูลค่าดัชนี MSCI AC Asia ex Japan Index ปัจจุบันเทรดที่ระดับ FW P/E 18 x จากผลกำไรสุทธิ ปี 2020 ที่ออกมาไม่ดีอาจทำให้ดูเหมือนว่าจะไม่น่าลงทุน แต่หากท่านผู้ถือหน่วยรอที่จะกลับมาลงทุนเมื่อผลกำไรสุทธิเร่งตัวหลังก้าวเวลาเข้าสู่ปี 2021 นั้นอาจช้าเกินไป เพราะ
- 1.1 ในรอบนี้ภูมิภาคเอเชียเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ช่วงที่หนี้สินภาครัฐอยู่ในระดับต่ำ ทำให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายการคลังได้อย่างคล่องตัว ไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะต้องรีบรัดเข็มขัดด้านใช้จ่ายหลังวิกฤตครั้งนี้จบสิ้นลง
- 1.2 การฟื้นตัวโดยลำพังของจีนที่ไม่ต้องรอลุ้นว่าประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วจะออกมาตรการทางการคลังออกมาอย่างไรหรือปริมาณเท่าไร ในจังหวะที่มุมมองต่อผลประกอบการสดใส จะช่วยให้หุ้นกลุ่ม Cyclical/Value กลับมาสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน
- 1.3 นักลงทุนต่างชาติขายเอเชียไปมากถึง 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ซื้อกลับเพียง 42% ของเงินที่หายไป ท่ามกลางการลงทุนแบบ Risk-On ทำให้ภูมิภาคเอเชียเป็น Asset Class ที่ต่างชาติเข้าลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดพัฒนาแล้วเช่น สหรัฐฯ ยุโรป
2. แท้จริงแล้ว หุ้นที่กองทุนหลักถือครองได้ฟื้นตัวมาตั้งแต่เดือนพ.ย. โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจีน บริษัทผู้ผลิตสุราจีน (เช่น หุ้นถือครองบริษัท Jiangsu Yanghe Brewery) บริษัทอินเทอร์เน็ตจีน (เช่น หุ้นถือครองบริษัท Tencent) บริษัทอี-คอมเมิร์ซจีน (เช่น หุ้นถือครองบริษัท Alibaba) และกลุ่มธนาคารอินเดีย (เช่น หุ้นถือครองบริษัท ICICI Bank) ที่ตลาดคลายความกังวลต่อประเด็นด้านคุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงินหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
ในทางตรงกันข้ามกลุ่มผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน (เช่น หุ้นถือครองบริษัท Taiwan semiconductor) ราคาลดลงหลังจากที่เคยสร้างผลตอบแทนชนะตลาดมาหลายเดือน สะท้อนการรับรู้ของนักลงทุนต่อผลประกอบการบริษัทที่ประกาศออกมาดีกว่าตลาดคาดการณ์ รวมถึงกลุ่มพลังงาน (เช่น หุ้นถือครองบริษัท CNOOC) ราคาลดลงจากอุปสงค์ต่อน้ำมันที่ลดลง และราคาน้ำมันที่ลดลง
แม้กองทุนหลักจะเชื่อว่าธุรกิจบริษัทน้ำมันข้างต้นนี้จะประคองตัวอยู่ได้ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่ลดต่ำลง แต่ตลาดก็ไม่ได้ให้ค่ากับจุดเด่นนี้เท่าไร ด้านหุ้นถือครองในตลาดเกาหลีใต้ (เช่นหุ้นบริษัท Samsung Electronics) ทำผลตอบแทนได้ไม่ดี เพราะตลาดรอดูแผนการบริหารเงินลงทุนในปีหน้า กองทุนหลักเชื่อว่าบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้รายนี้ควรมีมูลค่าแท้จริงของกิจการมากกว่ามูลค่าในตลาดหลักทรัพย์กว่าเท่าตัว
3. ในระยะถัดไป: กองทุนหลักจะเข้าลงทุนในบริษัทที่มีมูลค่าแท้จริงของกิจการมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้ และจะขายทำกำไรเพื่อลดสัดส่วนหุ้นถือครองในกลุ่มเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตที่ราคาตลาดเพิ่มสูงขึ้นจนเข้าใกล้ราคาเป้าหมาย
ก่อนหน้านี้กองทุนหลักปิดสถานะหุ้นบางตัวด้วยการขายหุ้นอินเดียด้าน Technology Consulting ออกไป แต่หุ้นอินเดียก็ยังคงมีน้ำหนักในพอร์ตมากกว่าดัชนี เพราะมองว่าอินเดียได้ถึงจุดต่ำสุดทางด้านวัฏจักรเครดิตแล้วทำให้เดือนที่ผ่านมากองทุนหลักได้ซื้อหุ้นธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ (เช่น หุ้นบริษัท Shriram Transport Finance) เข้ามาในพอร์ต
กองทุนหลัก (Master Fund)
ชื่อ: Invesco Asian Equity Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class C (AD) USD
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีลักษณะดังนี้ (1) จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย หรือ (2) จดทะเบียนในประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชีย แต่ดำเนินธุรกิจหลักในประเทศภูมิภาคเอเชีย หรือ (3) บริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทที่จดทะเบียนในประเภทภูมิภาคเอเชีย
วันจดทะเบียน: 10 ก.ย. 2018 (สำหรับ Share Class ใหม่)
ประเทศที่จดทะเบียน: ลักเซมเบิร์ก
สกุลเงิน: USD
เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (ดัชนีชี้วัด): MSCI AC Asia ex Japan Index-ND
Morningstar Category: Asia ex Japan Equity
Morningstar Rating: 4 Stars
Bloomberg: IVASCAD LX
Fund Size: USD 823.96 Million ณ วันที่ 31 ต.ค. 2020 (เทียบกับ USD 761.43 Million ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2020)
ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง ข้อมูลสิ้นเดือน พ.ย. 2020
คำเตือน – ข้อมูลในบทความนี้เป็นข้อมูลที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งนักลงทุนสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป และเป็นข้อมูลที่เชื่อว่าน่าจะเชื่อถือได้ แต่ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (“บริษัท”) มิได้ยืนยันหรือรับรองถึงความถูกต้อง หรือสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวแต่อย่างใด ความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอในมุมมองของบริษัท และเป็นความคิดเห็น ณ วันที่ปรากฏในบทความเท่านั้น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังวันดังกล่าว โดยบริษัทไม่จำเป็นต้องแจ้งสาธารณชน หรือผู้ลงทุนทราบ บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น บริษัทไม่รับผิดชอบต่อการนำข้อมูลหรือความคิดเห็นใดๆไปใช้ในทุกกรณี ดังนั้นผู้ลงทุนควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณา เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต