IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5%

IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5%

BF Economic Research

IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5% (ทั้งนี้ COVID-19 เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ GDP โลกปี 2020 หดตัว -3.3% ซึ่งเป็นอัตราหดตัวต่ำสุดตั้งแต่สมัย Great Depression) 

  • สหรัฐฯและจีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่สามารถเร่งการฟื้นตัวได้อย่างก้าวกระโดด IMF มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐคาดว่าจะขยายตัว 6.4% ในปีนี้ (จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 5.1%)  จากที่หดตัว -3.5% ในปีที่แล้ว ส่วนเศรษฐกิจของจีนคาดว่าจะขยายตัว 8.4% ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 8.1%
  • Growth Contribution ของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มาจากนโยบายสนับสนุนทั้งจากรัฐบาลและ Fed, IMF กล่าวว่า “มาตรการกระตุ้นทางการคลังมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ที่ได้อนุมัติไปเมื่อเดือนมี.ค. จะทำให้มี Positive Spill-over Effect ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ ด้วย โดยคาดปริมาณการค้าโลก (Global Trade Volume) จะขยายตัว 8.4% ในปีนี้ (vs. คาด 8.1% เดือน ม.ค.)
  • ฝั่ง DM ประเทศอื่นๆ นั้น พบว่า IMF ได้เพิ่มประมาณการณ์เศรษฐกิจให้กับ สหราชอาณาจักรและอิตาลีด้วย แม้ว่า Vaccine Roll-out ในยุโรปค่อนข้างจะช้าก็ตาม
  • ขณะที่ DM ได้รับการปรับเพิ่ม GDP Growth กลับพบว่าประเทศในกลุ่ม EM และประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าที่ตกต่ำ

ในรายภูมิภาค

  • การปรับขึ้นของ GDP รอบนี้นั้น โดยหลักมาจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Advanced Economies) ที่คาดจะขยายตัว 5.1% (เพิ่มขึ้น +0.8ppt จากที่คาด. 4.3% เดือน ม.ค.) จากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเพิ่มเติมและการแจกจ่ายวัคซีน ส่วนกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนา (Emerging Market and Developing Economies) คาดจะขยายตัว 6.7% (เพิ่มขึ้น +0.4ppt จากที่คาด 6.3% เดือน ม.ค.)

ในรายประเทศ

  • รายประเทศ IMF ปรับเพิ่ม GDP ของสหรัฐฯ ขึ้นอย่างมากเป็น 6.4% (เพิ่มขึ้น +1.3ppt จากที่คาด 5.1% เดือน ม.ค.) จากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน USD1.9trn และการแจกจ่ายวัคซีนที่รวดเร็วกว่าคาด และปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ของญี่ปุ่น (+0.2, 3.3%), ยูโรโซน (+0.2, 4.4%), จีน (+0.3, 8.4%), อังกฤษ (+0.8, 5.3%) และอินเดีย (+1.0, 12.5%)o ส่วนไทยคาดจะขยายตัว 2.6% ในปีนี้ (vs. คาด 2.7% เดือน ม.ค.)
  • ด้านเงินเฟ้อ IMF ระบุว่าจะค่อนข้างผันผวนในเดือนข้างหน้า ทั้งจากปัจจัยฐานต่ำและการเพิ่มขึ้นของราคาโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน ที่จะหนุนให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น แต่คาดจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น โดย IMF คาดเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัว 1.6% ในปีนี้ (vs. คาด 1.3% ในเดือน ม.ค.)

Risk to Projection:  IMF ระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยหลักยังขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการแจกจ่ายวัคซีน รวมทั้งประสิทธิผลของนโยบายภาครัฐ, สภาวะทางการเงิน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่ง IMF ยังกล่าวแนะว่าแต่ละประเทศไม่ควรถอนมาตรการช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและการคลังเร็วเกินไป โดยควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น และธนาคารกลางควรส่งสัญญาณถึงทิศทางการดำเนินนโยบายล่วงหน้าที่ชัดเจน

ที่มา: Bloomberg, BBLAM