กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

  • กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF)
  • กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75)
  • กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)
  • กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF)

“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”

Key Highlight ประจำไตรมาส 4Q 2564

*ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564

1.แนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนไทยที่มีโอกาสดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี และเติบโตต่อในปีหน้า จะเป็นแรงผลักดันให้ SET Index ปรับตัวขึ้นต่อได้เช่นเดียวกับรอบที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ในอดีตดัชนีตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่อง นับตั้งแต่ไตรมาสที่กำไรบริษัทจดทะเบียนได้รับผลกระทบจากวิกฤติสำคัญๆ เช่น

  • ในปี 2554 น้ำท่วมไทยครั้งใหญ่ ทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4Q2554 ลดลง -62% ดัชนีหุ้นไทยฟื้นตัวหลังจากนั้นได้ +22% ตามการปรับประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรในไตรมาสถัดๆไป
  • ปี 2558 การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนและความเชื่อมั่นที่ลดลง ส่งผลให้กำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 3Q2558 ลดลง -86%qoq และดัชนีหุ้นไทยทยอยฟื้นตัวหลังจากนั้นได้ +11%
  • ปี 2563 การระบาดของโรคโควิดอันเป็นโรคอุบัติใหม่ ส่งผลให้กำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 1Q2564 ลดลง -59%qoq และดัชนีหุ้นไทยทยอยฟื้นตัวหลังจากนั้นได้ +19%

หากท่านผู้ถือหน่วยได้ติดตามผลกำไรบริษัทจดทะเบียนไทยในไตรมาสที่เพิ่งประกาศ (3Q2564) พบว่าได้รับผลกระทบจากโควิดระลอกที่สี่ ซึ่งระบาดในช่วงเดือน ก.ค. ถึง ก.ย. 2564

อย่างไรก็ตาม ถัดจากนี้ 1) การเดินหน้าเปิดประเทศ 2) ยอดติดเชื้อที่มีโอกาสลดลงจากการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น 3) บริษัทจดทะเบียนรับมือกับโควิดได้ดีขึ้น เป็นปัจจัยหนุนแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนให้มีโอกาสดูดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี และเติบโตต่อในปีหน้าผลักดันให้ SET Index ปรับตัวขึ้นต่อเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

2. แรงซื้อจากต่างชาติน่าจะมีโมเมนตัมกลับเข้ามาต่อเนื่อง ตราบที่การเปิดประเทศรับต่างชาติแบบไม่กักตัว การกระตุ้นเศรษฐกิจที่กระตุ้นการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ เป็นไปตามแผน 

ตั้งแต่ต้นปี YTD สิ้นต.ค. 2564 ต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ -58,451 ล้านบาทและมีสัดส่วนถือครองหุ้นไทย (Ex หุ้น Delta) ต่ำมากคือไม่ถึง 20% หากสถานการณ์โควิดดีขึ้นแรงซื้อจะกลับมาได้เพราะเมื่อดูจากข้อมูลย้อนหลัง มีสี่ช่วงเวลาที่สถานการณ์โควิดดูดีขึ้น คือ

เดือน พ.ย. – ธ.ค. 2563 : ผลิตวัคซีนสำเร็จ (SET +18%, ต่างชาติซื้อสุทธิ +4.5 หมื่นล้านบาท)

เดือน ก.พ. 2564 : ฉีดวัคซีนในไทยครั้งแรก (SET +2.7%, ต่างชาติซื้อสุทธิ +7.1 พันล้านบาท)

เดือน มิ.ย. 2564 : ได้วัคซีนแอสตร้าล็อตใหญ่คาดหวังเปิดประเทศ (SET +8.7%, ต่างชาติซื้อสุทธิ +3.5 พันล้านบาท)

เดือน ก.ย. – ต.ค. 2564 : ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันลดลงต่ำกว่าตัวเลขผู้รักษาหาย ทยอยเปิดประเทศ (SET+6.2%, ต่างชาติซื้อสุทธิ +4.8 หมื่นล้านบาท)

ทุกรอบ Fund Flow ไหลเข้าไปพร้อมๆกับตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวขึ้น ดังกราฟ

ในทางกลับกัน มีความเสี่ยงหากโควิดเดลต้าพลัสกลับมาแพร่ระบาดหนักจนควบคุมได้ยาก อาจกดดัน Fund Flow ต่างชาติไหลออกเหมือนทุกๆรอบที่ผ่านมาได้เช่นกัน

3. แรงขายจากนักลงทุนสถาบันในประเทศที่พบในสองเดือนล่าสุด (ก.ย. – ต.ค.) น่าจะค่อยๆเบาลง และสลับมาซื้อสุทธิได้

เพราะช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี (2564) จะมีแรงซื้อกองทุน SSF (ประเภทหุ้นไทยมีอยู่ราว 50 กองทุน) และ RMF (ประเภทหุ้นไทยมีอยู่ราว 68 กองทุน) เข้ามาหนุนดัชนีหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี โดยปีที่ผ่านมา (2563) นักลงทุนซื้อกองทุนประเภทหุ้นไทยทั้งสอง ใน 2 เดือนสุดท้ายรวมกันประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 35% ของยอดซื้อกองทุนทั้งปี

ปัจจัยกระตุ้นต่อตลาดหุ้นไทย 

1. บริษัทจดทะเบียนรับมือกับโควิดได้ดี กำไรงวด 3Q2564 ลดลงไม่มาก และเป็นจุดต่ำสุดของปี น่าจะเห็นกำไรทยอยฟื้นตัวขึ้นในช่วงทีเหลือของปี รวมถึงปีหน้า ตามการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ  หนุนดัชนีฯฟื้นตัวขึ้น

2. การ Reopen กิจกรรมเศรษฐกิจ การกระจายวัคซีนใน 17 จังหวัดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การเปิดรับนักท่องเที่ยว 1 พ.ย. 2564 ส่งผลบวกกับกลุ่มที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ หุ้นเปิดเมือง อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มอสังหา กลุ่มขนส่ง กลุ่มร้บเหมา

ปัจจัยกดดัน/ความเสี่ยงหลักต่อตลาดหุ้นไทย

1. ความผันผวนของตลาดช่วงต้นปีหน้า (2565) จากเม็ดเงินกองทุน LTF ที่ครบกำหนดถือครอง 7 ปีปฏิทิน ที่จะขายออกมาได้เป็นปีแรก ประเมินว่าจะมีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท

2. ปัจจัยต่างประเทศ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีนอาจหวนกลับมา ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้นไทย

หากมองไปในปีหน้า (2565) เหตุการณ์ที่อาจเป็นประเด็นอ่อนไหวต่อความขัดแย้ง ได้แก่

  • การเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง ในวันที่ 27 มี.ค. 2565
  • การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน เดือน ต.ค. – พ.ย. 2565- การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ในวันที่ 8 พ.ย. 2565 เป็นการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร 435 ที่นั่ง และวุฒิสภา 34 ที่นั่งจากทั้งหมด 100 ที่นั่ง

แนวโน้มหมวดธุรกิจ

  • พลังงานและสาธารณูปโภค

สิ้นสุดการประชุม COP26 มีโทนอ่อนลงในเรื่องการใช้ถ่านหินเทียบกับ Agreement เดิมที่จะต้องเลิกใช้ เชื่อว่าจะเป็นการ balance ระหว่าง environment และ energy security โดยรวมเชื่อว่าจะบวกกับทั้งพลังงานและ renewable ซึ่งเชื่อว่า trend ยังไปได้

  • ธนาคารพาณิชย์

สถานะการเงินของกลุ่มแบงก์ใน 3Q2564 ยังแข็งแกร่ง NPL Coverage Ratio 155% (2Q2564: 152%, 1Q2564: 149%) และ BIS Ratio 19.9% (2Q2564: 20.0%, 1Q2564: 20.0%)

การกำหนดนโยบาย 1) ปรับเกณฑ์ LTV 100% และ 2) ปลดล็อคการจ่ายปันผล สะท้อนความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารพาณิชย์และมุมมองบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจใน 4Q2564-2565

“ผลประกอบการ 3Q2564 ออกมาดีกว่าที่นักลงทุนคาด เพราะตั้งสำรองต่ำกว่าคาด และ non-NII สูงกว่าคาด”

8 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีกำไรสุทธิ 3Q2564 รวมกันที่ 41.2 พันล้านบาท (+41%YoY, -18%QoQ) การเติบโต YoY เกิดจาก 1) การตั้งสำรองที่ลดลง 8% YoY ธนาคารที่มีการตั้งสำรองที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ TISCO (-58%), KTB (-35%), SCB (-23%), TTB (-20%) ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็น 44% ของสำรองทั้งหมด 8 ธนาคาร โดย BBL และ KKP เป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิเติบโตทั้ง YoY และ QoQ 2) รายได้มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น 12% YoY ผลกระทบจากการล็อคดาวน์ที่น้อยกว่าคาด 3) รายได้ค่าธรรมเนียมและกำไรจากเงินลงทุน (non-NII) ที่มากกว่าคาด

สำหรับแนวโน้มกำไรใน 4Q2564 และปีหน้าได้รับการสนับสนุนจาก 1) Credit cost ที่ลดลง 2) การผ่อนผันการจัดชั้นหนี้และการกันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้สินเชื่อที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดเสร็จในระยะยาวจะช่วงลดแรงกดดันต่อภาระการตั้งสำรอง (Credit Cost) คาดว่า Credit Cost โดยเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารจะลดลงจาก 1.57% ในปี 2564 สู่ 1.42% ในปี 2565

  • การแพทย์

ในปี 2565-2566 การเติบโตของรายรับของโรงพยาบาลเอกชนขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการทยอยกลับมาของนักท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลเอกชนพยายามเจาะตลาดใหม่โดยพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่คลอบคลุม เช่น 1) การขยายสถานที่เดิมและการสร้างสาขาใหม่ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด 2) การสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลอื่นเพื่อเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง 3) พัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้วยการสร้างคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ 4) การขยายช่องทางตลาดสู่ธุรกิจที่ไม่ใช่โรงพยาบาล 5) เพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยต่างประเทศ

สำหรับสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายมีจำนวนสูงกว่าผู้ติดเชื้อใหม่ อัตราการครองเตียงในเขต กทม. เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ในปี 2565 โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยต่างชาติ และมีฐานรายได้ที่มาจากโควิดต่ำจะกลับมาน่าสนใจ เนื่องจาก Demand ที่ถูกอั้นราว 1-2 ปี ทำให้คาดว่าจะเห็นกลุ่มผู้ป่วยต่างชาติจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว ทั้งในกลุ่มการรักษาแผลเบาหวานและการผ่าตัดต่างๆ บริษัท BDMS จึงได้รับการมองว่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสัดส่วนรายได้ที่มาจากผู้ป่วยต่างชาติ 18% ของรายได้รวม (จากระดับที่เคยอยู่ที่ 30% ของรายได้รวม)

  • ขนส่งและโลจิสติกส์

ผลประกอบการธุรกิจบริการขนส่งทางอากาศจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยการขนส่งผู้โดยสารในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่า ขณะที่การขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศจะเติบโตอย่างจำกัด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดและการเปิดเที่ยวบินยังมีความไม่แน่นอน

– บริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ: รายได้มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

– บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ: รายได้มีแนวโน้มทรงตัวตามพื้นที่บรรทุกที่มีขีดจำกัด

  • อาหารและเครื่องดื่ม

บรรยากาศการซื้อสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มสำหรับตลาดในประเทศครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก แม้ว่าต้นทุนการผลิตสินค้าปรับตัวสูง แต่ปัจจัยหนุนด้านการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่มีมากขึ้น รวมถึงหากไม่มีการระบาดรุนแรงระลอกใหม่ในช่วงครึ่งปีหลัง

ด้านผู้ประกอบการจำเป็นต้องติดตามเทรนด์ของอาหารและเครื่องดื่มที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคโดยเฉพาะพฤติกรรมหลังจากเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่ออาหารและเครื่องดื่มที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยจากสารเคมี รวมถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด เทรนดอาหารอนาคต (Future Food) จะยังเป็นกระแสระยะยาว ได้แก่อาหารออร์แกนิก อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ (Functional Food and Drink) อาหารทางการแพย์ที่ไม่ใช่ยาและอาหารเสริม อาหารนวัตกรรมใหม่ (Novel food)

  • วัสดุก่อสร้าง

ธุรกิจวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ปัจจัยหนุนจาก 1) มูลค่าการลงทุนด้านก่อสร้างโดยรวมในไทยคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 4.9-5.2% ตามการลงทุนในโครงการขนานใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับ Eastern Economic Corridors (EEC) รวมถึงโครงการขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งทางถนนและระบบรางทั่วประเทศ 2) การส่งออกวัสดุก่อสร้างหลังวิกฤติโควิดรวมถึงการขยายตัวของโครงการก่อสร้างในประเทศ CLV ซึ่งเป็นตลาดหลัก ทั้งนี้ธุรกิจวัสดุก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของภาคก่อสร้างและอสังหาฯ ต้นทุนวัสดุก่อสร้างคิดเป็นสัดส่วน 60% ของมูลค่าการก่อสร้าง โดยกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น SCC, TPIPL, INSEE ที่มีความได้เปรียบด้านขนาดของเงินทุน การบริหารจัดการด้านการผลิต และอำนาจต่อรองกับ Suppliers จึงมีศักยภาพในการผลิตสินค้าได้จำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำ

สถานการณ์การผลิตและจำหน่าย: ปี 2564-2566 แนวโน้มธุรกิจวัสดุก่อสร้างรายผลิตภัณฑ์มีดังนี้

  • ปูนซีเมนต์: ปริมาณการจำหน่ายในประเทศปี 2564-2566 มีแนวโน้มขยายตัว 0-4.0% ต่อปี ปัจจัยหนุนจากการก่อสร้างภาครัฐได้รับแรงขับเคลื่อนจาก 1) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะในพื้นที่ EEC และ 2) การก่อสร้างภาคเอกชน มีแนวโxน้มขยายตัวตามธุรกิจอสังหาฯที่คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวขึ้นโดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์คิดเป็น 45% ของปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ทั้งหมด

  • คอนกรีตผสมเสร็จ: ปี 2564-2566 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัว 0-5.0% ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านลบ.ม./ปี ปัจจัยหนุนจากการลงทุนก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น
  • กระเบื้องปูพื้น/ผนังเซรามิก: คาดปริมาณการจำหน่ายในประเทศเติบโต 0-3.0% ต่อปี มูลค่าการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐฯ สปป.ลาว และกัมพูชา ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัว

  • พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

นับจากต้นปี 2564 ถึงปัจจุบัน ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯส่วนใหญ่ชะลอการเปิดโครงการใหม่ เนื่องจากสภาวะตลาดที่ไม่เอื้อและจำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมยังทรงตัวระดับสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะของตลาด ข้อมูลของเอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบกว่าครึ่งปีแรกของปี 2564 การเปิดตัวที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมีจำนวน 25,257 หน่วย ลดลง -15.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการเปิดโครงการคอนโดมิเนียมลดลงอย่างมาก เนื่องจากจำนวนหน่วยรอขายสะสมสูง กอปรกับผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์มาให้ความสำคัญกับตลาดแนวราบเนื่องจากกลุ่มนี้จะมีความต้องการเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจริง ระยะเวลาก่อสร้างที่สั้น และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ง่าย

สำหรับแนวโน้มที่เหลือของปี 2564 ยังมีปัจจัยท้าทายและความเปราบางสูง แม้สถานการณ์โควิดเริ่มมีสัญญาณที่นิ่งขึ้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่เริ่มลดลง ขณะที่ตลาดยังพอมีปัจจัยหนุนอย่างมาตรการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมอสังหาฯเพื่อที่อยู่อาศัย (ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท) แต่ลดของโควิดระลอกนี้รุนแรงและยืดเยื้อทำให้ต้องใช้ระยะเวลาที่นานขึ้นก่อนจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติการระบาดของโควิด

ความเคลื่อนไหวของหุ้นที่กองทุน B-LTF / BLTF75 / B-TOPTENLTF/ BBASCIDLTF ถือครอง

1.บมจ. ปตท. (PTT) – หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค

  • PTT รายงานกำไรสุทธิ 3Q2564 ลดลง 8%qoq มาอยู่ที่ 2.4 หมื่นลบ. กดดันหลักจาก รายการพิเศษที่สุทธิในงวดนี้เป็นค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.4 จาก 4.5 พันล้านบาท เนื่องจากในงวด 3Q2564 มีบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 6.4 พันล้านบาท จาก 873 ล้านบาท ในงวดก่อนหน้า หน้า รวมถึงบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันลดลงเหลือ 1.1 จาก 1.2 หมื่นล้านบาท ในงวดก่อนหน้า ถึงแม้จะมีการบันทึกขาดทุนจาก hedging ลดลง เล็กน้อยมาอยู่ที่ 1.2 จาก 1.3 หมื่นล้านบาท ในงวดก่อน
  • PTT ประเมินว่าปริมาณ 3 – 4% ของทั้งหมดของ ปตท. มีความเสี่ยง (10 – 15% ของ SPP) เป็นผลจาก การเปิดเสรีก๊าซของประเทศไทย (ผู้ผลิตไฟฟ้านาเข้า LNG เอง) คาดว่า GULF และ BGRIM จะนำเข้า สปอต LNG เร็วที่สุดใน 2H2564/1H2565 แต่อาจเลื่อนกลับไปเป็นปี 2566 ได้ เนื่องจากราคา LNG ยังคงสูง (สปอต JKM ในเอเชียสูงถึง 33 เหรียญสหรัฐ/mmbtu) ตลาดคาดว่า LNG สปอตจะลดลงที่ 15 เหรียญ สหรัฐ/mmbtu ภายในสิ้นปี 2565 และลดลงในปี 66 ต้นทุนก๊าซของ PTT สำหรับปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 9-10 เหรียญสหรัฐฯ/mmbtu ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า การเปิดเสรีก๊าซในระยะยาวยังคงเป็นผลลบต่อ ปตท. อย่างไรก็ตาม แรงกดดันในระยะสั้นน่าจะผ่อนคลายลง
  • เบื้องต้นคงประมาณการปี 2564 ภายใต้หลักความระมัดระวัง โดยคาดกำไรจากการ ดำเนินงานปกติงวด 4Q2564 มีโอกาสที่จะทรงตัวใกล้เคียงกับงวด 3Q2564 รับผลบวกจาก ธุรกิจก๊าซฯของ PTT ที่โรงแยกก๊าซฯมีแผน shutdown ลดลงค่อนข้างมีนัยฯจากงวดก่อน หน้าที่มีmajor turnaround รวมถึง PTTEP ที่คาดกำไรปกติงวด 4Q2564 น่าจะทรงตัว ใกล้เคียงกับงวด 3Q2564 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบยังยืนได้ระดับสูงต่อเนื่องเหนือ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล สำหรับในส่วนของปริมาณขายคาดจะยังประคองตัวได้ใกล้เคียง งวด 3Q2564 รับอานิสงส์จาก PTT ที่คาดจะเรียกรับก๊าซฯ จากอ่าวในระดับสูง (high norm)

2. บมจ. ทีโอเอ เพ้นท์ (TOA) – หมวดวัสดุก่อสร้าง

2564F: Norm EPS 0.90 บาท, Norm PER 34.6 เท่า, Dividend Yield 1.4%, ROE 15.8%, Free Float 25.0%

  • ราคาหุ้นบริษัท ลดลงต่อเนื่อง เพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบ ทำให้ไทเทเนียม ไดออกไซด์ ซึ่งคิดเป็น 13% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นกว่า 60% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีนี้ (9M2564)
  • อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจต่อการลงทุนในบริษัทนี้คือ
    • 1) ราคาหุ้นไม่แพง หุ้นที่ลดลงจากจุดสูงสุดในปีนี้กว่า -30% สู่ระดับราคา 32 บาท ณ 8 พ.ย. 2564 สะท้อนความกังวลของนักลงทุนว่าราคาน้ำมันดิบจะพุ่งไปถึง 120 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ขณะที่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 83 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ราคาหุ้นที่ว่านี้ซื้อขายระดับ PE 29 x (2565F) เทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา 4 ปีที่ระดับ 36 x
    • 2) นักลงทุนในตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าผลกำไร 3Q2564 น่าจะลดลง -42% yoy อันเป็นผลจากการล็อคดาวน์ประเทศไทยซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 86% ของรายได้รวม และอีก 7% มาจากเวียดนาม
    • 3) มีอำนาจต่อรองทางด้านราคาสูงครองส่วนแบ่งตลาด 49% เป็นอันดับหนึ่ง (อันดับสอง Akzo Nobel Paint (TH) Limited 14% อันดับสาม Beger Co. 13%) ทำให้การปรับเพิ่มราคาขายเพื่อประคองอัตราการทำกำไรขั้นต้น (Gross Margin) ให้อยู่ในช่วง 30-38% ช่วงวิกฤตโควิดระบาดหนักระลอกที่สี่ บริษัทได้ปรับราคาสินค้าขึ้นแล้ว 4-8% และจะขึ้นอีก 5-10% ภายในสิ้นปี

3. บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) – หมวดการแพทย์ 

2564F: Norm EPS 0.48 บาท, PER 50.4 เท่า, PBV 4.2 เท่า, Dividend Yield 1.0%, ROE 8.3%

  • ประกาศกำไร 3Q2564 ที่ 2.5 พันล้านบาท ฟื้นตัวเด่น 39%yoy จากอานิสงส์รายได้เกี่ยวกับโควิดที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่โรคระบาดรุนแรง แม้กำไร 4Q2564 อาจจะลดลง qoq แต่เชื่อว่าคาดหวังการเติบโต yoy ต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลบวกจากการเปิดประเทศนับจาก 1 พ.ย. 2564 ซึ่งคาดเริ่มเห็นลูกค้ากลุ่ม Fly-in (15% ของรายได้ก่อนเกิดโควิด) กลับมา รวมถึงรายได้เกี่ยวกับโควิดที่จะสูง yoy ต่อเนื่อง
  • ระยะยาว ได้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุใน 2-3 ปีจากนี้มากสุด จากที่ BDMS มีเครือข่าย รพ. ครอบคลุมทั่วประเทศ
  • ความเสี่ยงแง่การดำเนินธุรกิจมีดังนี้คือ 1) สภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้ป่วยต่างชาติที่มารักษาที่เปลี่ยนแปลงไปอาจส่งผลกระทบต่อการเข้ามารักษา 2) การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งหมอและพยาบาล 3) ความเสี่ยงเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลง เช่น ควบคุมยา เวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาล

4.บมจ. ซีพี ออลล์ (CPALL) – หมวดพาณิชย์

2564F: Norm EPS 0.87 บาท, PER 75.3 เท่า, Dividend Yield 0.7%, ROE 10.0%, Free Float 57.5%

  • กำไร 3Q2564 อยู่ที่ 49 พันล้านบาท ลดลง 62.7%yoy หลักๆเป็นประเด็นเรื่องประสิทธิภาพการทำกำไร ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด สร้างความจำเป็นให้ CPALL ต้องปรับการดำเนินงานหลายส่วน เพื่อให้ธุรกิจมีความต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนของ Supply Chain ทั้งในศูนย์กระจายสินค้ารวมถึงความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางส่งสินค้าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ระบาด นอกจากนี้มีส่วนในเรื่องต้นทุนน้ำมันที่แพงขึ้น ภาพรวมกดดัน Net Margin หดตัวเหลือ 1.2% จาก 3.1%
  • ร้านสะดวกซื้อโดนผลกระทบเคอร์ฟิวที่ค่อนข้างยาว ทำให้ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ร้านสะดวกซื้อลดลง 2%yoy แม้ธุรกิจค้าส่ง MAKRO (ถือหุ้น 93.08%) จะยังมี SSSG เพิ่มขึ้น 1.30%yoy
  • ผลกระทบต้นทุนเกี่ยวกับ Supply chain รวมถึงเคอร์ฟิวที่ยังมีต่อเนื่องบ้างในต้น 4Q64 ประกอบกับผลกระทบช่วงรอยต่อการปรับโครงสร้างธุรกิจค้าปลีกของกลุ่ม ซึ่งในช่วง 4Q2564 CPALL จะถือหุ้น MAKRO ลดงเหลือ 97% (เกิดจากผลการเพิ่มทุน MAKRO และนำหุ้นเพิ่มทุนมาแลกกับ CPRD (Lotus’s) ที่ CPALL ถือหุ้น 40%
  • ปี 2565 กำไรน่าจะฟื้นตัวแรงจาก ฐานกำไรปี 2564 ที่ต่ำ 2. ผลกระทบการถือหุ้น MAKRO ลดลงราว 54.7% หลัง MAKRO ขายหุ้น PO รวมกับที่ CPALL จะขายหุ้น MAKRO บางส่วน 3. ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ฟื้นตัวตามภาพรวมเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวที่กลับมา และมาร์จิ้นที่ลดลงฟื้นตัวขึ้นจากผลกระทบโควิดที่ลดลง

5. บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOT) – หมวดขนส่งและโลจิสติกส์

2564F: EPS -0.98 บาท, Norm PER n.a., Dividend Yield 0.0%, ROE -12.4%

  • ยังต้องติดตามความแข็งแรงของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในระบบ เช่น สายการบิน ผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ในสนามบินที่เหลืออยู่ และภาระที่ต้องแบกรับผลขาดทุนจากการกลับมาเปิดระยะแรก ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ AOT ออกไว้จะสิ้นสุด มี.ค. 2565 นี้
  • ยังมีความเสี่ยงจากการกลับมาระบาดของโรคแต่ด้วยวัคซีนและการวิจัยยาน่าจะช่วยให้การกลับมาต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต