INVESTMENT STRATEGY
รัฐบาลจีนเคลียร์หมดทุกความกังวลของนักลงทุน ขณะที่ปัจจัยบวกสำหรับหุ้นจีนก็มีรออยู่
คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM สรุปสถานการณ์ที่มีผลกับตลาดหุ้นจีนว่า ช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน หรือ FSB ที่มีรองนายกรัฐมนตรี Liu He เป็นประธาน มีการประชุมนัดพิเศษ หลังตลาดหุ้นถูกเทขาย โดยเฉพาะ ETF หุ้นเทคโนโลยีจีน โดยภายหลังประชุมก็เรียกความเชื่อมั่นให้ตลาดหุ้นจีนได้มากเลยทีเดียว เพราะได้จัดการความกังวลที่นักลงทุนมีไปทุกเรื่อง สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจีน มีความเข้าใจและพร้อมสนับสนุนตลาดการเงิน
ประเด็นที่ช่วงจีนแก้ปัญหาความคาใจของนักลงทุนไป
- ความกังวลที่บริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจถูกเพิกถอนจากตลาด เพราะหากเกิดขึ้นจริงแล้วต้องทำการแลกหุ้นเพื่อไปลงทุนหุ้นจีนนั้นต่อในตลาดหุ้นฮ่องกง จะมีนักลงทุนสถาบันส่วนน้อยมากๆ ที่สามารถตามไปลงทุนต่อได้ เพราะถ้าเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนได้แต่หุ้นในสหรัฐฯ ก็ต้องเทขายหุ้นเหล่านี้ออกมาทั้งหมด แต่เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีจีนย้ำว่า ยังสนับสนุนบริษัทจีนที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และมีการคุยกับฝั่งสหรัฐฯ เพื่อหาทางออกสำหรับบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาความกังวลเรื่องการจัดระเบียบบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน โดยย้ำว่า จะจัดระเบียบบิ๊กเทคฯ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด อีกทั้งกฎระเบียบบริษัทแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตควรมีมาตรฐาน โปร่งใส และคาดการณ์ได้
- ความกังวลเรื่อง Zero Covid Policy หรือการที่จีนยังคงใช้มาตรการควบคุมโควิดโดยมีเป้าหมายไม่ให้มีผู้ติดเชื้อ ซึ่งทำให้จีนต้องล็อคดาวน์เมืองเซินเจิ้น เพื่อควบคุมการระบาด เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อเร่งตัวขึ้น การดำเนินงานนี้กระทบต่อภาคการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี เพราะเมืองเซินเจิ้นมีบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ตั้งสำนักงานอยู่ ดังนั้นการล็อคดาวน์ก็อาจส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงอีก และส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนจีน อาจโดนปรับลดประมาณการกำไรลงมา ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดเริ่มกังวลถึงความยั่งยืนในการใช้นโยบาย Zero Covid Policy ซึ่งต่างจากประเทศอี่นที่เริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจและอยู่ร่วมกับการระบาด แต่ในเรื่องนี้ ก็เริ่มเห็นท่าทีของจีนว่ากำลังศึกษาวิธีอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้ดีขึ้น โดยพยายามรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและการควบคุมการแพร่ระบาด
- ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินของจีน ซึ่งตลาดเพิ่งจะผิดหวังจากการที่จีนดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายน้อยกว่าที่คาด โดยที่ผ่านมา ตลาดคาดหวังว่าจีนจะลดดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท 1 ปี หรือ MLF เพิ่มเติม เพราะเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวลง แต่ธนาคารกลางจีนไม่ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่ม รวมถึงตั้งแต่ต้นปียังไม่ได้อัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ทั้งที่ตัวเลขเงินเฟ้อในจีนไม่ได้สูงอย่างสหรัฐฯ ในประเด็นความกังวลนี้ เราพบว่า จีนดูดสภาพคล่องออกจากระบบต่อเนื่องช่วงที่ผ่านมา แต่มาเริ่มอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ วันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมา เมื่อดูการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งมีความสำคัญต่อตลาดหุ้นและเศรษฐกิจโดยรวม ก็ดูเหมือนผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และน่าจะกลับมาเติบโตได้ตั้งแต่เดือนมกราคม นี้ ที่สำคัญในประเด็นสินเชื่อนี้ ที่ประชุม FSB ระบุว่า นโยบายการเงินจะเป็นไปในเชิงรุก เน้นเพิ่มการปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น
- ความกังวลเรื่องบริษัทสัญชาติจีนอาจจะถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร จากประเด็นรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากสหรัฐฯ เปิดเผยว่า รัสเซียขอความช่วยเหลือด้านการทหารและการเงินจากจีน ซึ่งในประเด็นนี้จีนออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย และไม่ได้ช่วยเหลือทางทหารต่อรัสเซีย พร้อมย้ำว่าจีนไม่ได้ประโยชน์จากสงครามนี้ และยังสนับสนุนให้เกิดสันติภาพด้วย
- ความกังวลต่อความเสี่ยงภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยสถานการณ์ปัจจุบันภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ฟื้นตัว สิ่งที่รัฐบาลทำไปแล้วเพื่อแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ คือ รัฐบาลท้องถิ่นลดอัตราส่วนเงินดาวน์ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) แบบ 5 ปี การเร่งอนุมัติสินเชื่อบ้าน การให้รัฐวิสาหกิจเข้าไปซื้อบริษัทที่อ่อนแอในภาคอสังหาฯ รวมทั้งอนุญาตให้ ผู้ประกอบการใช้เงินลงทุนจากยอดขายก่อนสร้างได้มากขึ้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง และวันที่ 16 มีนาคม ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรี Liu He ก็ออกมาส่งสัญญาณว่า จีนจะมีมาตราการที่เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ออกมาเพื่อช่วยเหลือ ลดความเสี่ยงทางด้านการเงินในภาคอสังหาริมทรัพย์ และหนุนเศรษฐกิจโดยภาพรวมในไตรมาสแรก ซึ่งทำให้นักลงทุนในตลาดคลายความกังวล ต่อผลกระทบของภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อการเติบโตเศรษฐกิจในภาพรวม
เมื่อจีนตอบปัญหาคาใจทั้งหมดให้นักลงทุนคลายกังวลได้
BBLAM ก็มองว่า มีปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในหุ้นจีนรออยู่ ดังนี้
- ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) หุ้นจีนที่น่าสนใจ โดย ณ สิ้นปี 2022 ทั้ง MSCI China และ ดัชนีหุ้นเทคฯ จีน MSCI China Internet อยู่ที่ 9.3 เท่า และ 13.6 เท่า ส่วนดัชนี Hang Seng มีระดับการเทขาย (oversold) เทียบเท่ากับช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินปี 2008 ซึ่งหากใช้ปัจจัยพื้นฐานมาพิจารณา จะเห็นโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น และมีโอกาสที่หลายบริษัทจะสามารถให้ผลตอบแทนสูงมากในระยะ 3-5 ปีข้างหน้านี้
- การไหลเข้าของเงินทุน เมื่อ MSCI จะนำหุ้นรัสเซียออกไปจากดัชนี ไม่ใช่เพียงแค่ลดน้ำหนัก ทำให้คาดการณ์ว่าเงินที่เหลือจากการนำหุ้นรัสเซียออกไปจากดัชนี จะถูกจัดสรรเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นจีนและอินเดียแทน โดยจะได้เห็นเงินออกจากรัสเซียประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าไปลงทุนในจีนประมาณ 1,785 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- การลงทุนตามนโยบายของจีน มีเทรนด์ที่น่าสนใจที่เวลานี้จีนกำลังมีนโยบายลงทุนเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ ต่อเนื่อง ซึ่งก็ทำให้บริษัทที่อยู่ในเทรนด์เหล่านี้มีความน่าสนใจลงทุน โดยเทรนด์ที่ชัดเจนของจีนคือการพัฒนาความสามารถภายในประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ เรื่องเซมิคอนดักเตอร์ การผลักดันให้โรงงานอุตสาหกรรมใช้ระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น การพัฒนาสินค้าสำหรับไลฟ์สไตล์ใส่ใจสุขภาพ สินค้าสำหรับชนชั้นกลางถึงสูง รวมทั้งการพัฒนาพลังงานทดแทน การผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ทันการเติบโตพร้อมกับรถยนต์ไฟฟ้าในจีนด้วย และสุดท้ายการพัฒนาตลาดการเงิน ทำให้ตลาดทุนพร้อมรับการเติบโตมากขึ้น
- นโยบายการเงินและเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งในปีนี้ฝั่งสหรัฐฯ ดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น และมีปัญหาเงินเฟ้อค้ำคออยู่ แต่ฝั่งเอเชีย พบว่า จีนยังสามารถใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ลดดอกเบี้ย และอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาได้อีก เพราะเงินเฟ้อของจีนไม่ได้สูง
ส่วนความเสี่ยงของการลงทุนในจีน ก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งปีนี้ประมาณการกำไรของบริษัทในประเทศหลักๆ ทั่วโลกล้วนโดนปรับลดลงมา จีนเองก็เช่นกัน แต่เมื่อเทียบกับทั้งโลก จะเห็นว่า เริ่มดีขึ้น แปลว่า จีนแย่น้อยกว่าทั้งโลก
โดยรวมแล้วคำแนะนำของ BBLAM ก็คือ หากมองการลงทุนระยะยาว ก็สามารถลงทุนแบบ DCA หรือทยอยแบ่งเงินเข้าไปลงทุนในหุ้นจีนได้
แนะนำกองทุน B-CHINE-EQ และถ้าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แนะนำกองทุน B-CHINAARMF และ B-CHINESSF
อ่าน BBLAM Weekly Investment Insights 28 มีนาคม – 1 เมษายน 2022 ฉบับเต็มได้ที่
https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/29-1-2022