2022 – Opportunities are never lost |
INVESTMENT STRATEGY
การแข็งค่าเงินของดอลลาร์อย่างมากในครั้งนี้กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศฝั่ง Emerging market เนื่องจาก สภาพคล่องที่กำลังลดลงทั่วโลก ส่งผลต่อเศรษฐกิจถดถอยค่อนข้างมาก ทั้งนี้ MSCI Asia Ex Japan ถูกปรับลดลงมา 33%, MSCI China ลงมา 42% ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ลงมา 22% สิ่งเหล่านี้ทำให้เอเชียอยู่ตลาดหมี ซึ่งต้องใช้เวลากว่าจะปรับตัวเป็นขาขึ้นอีกครั้ง
เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงมาแบบนี้ “ใกล้ถึงเวลาเข้าลงทุนใน Emerging market ได้แล้วหรือยัง”
คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ให้ความเห็นว่า หนึ่งในตัวชี้วัดว่าตลาดใกล้ฟื้นตัวหรือยัง คือ ดอลลาร์ หากดอลลาร์ไม่แข็งค่าต่อ ปัจจัยที่เข้ามากดดัน Emerging market ก็น้อยลง แต่ด้วยการที่ Emerging market เป็นประเทศพึ่งพาการส่งออก และเป็นเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง (Open economy) ทำให้ประเทศกลุ่มนี้มีความอ่อนไหวต่อสภาพคล่องที่กำลังลดลงทั่วโลก และอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจถดถอยค่อนข้างมาก
ทุกๆ ครั้งที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยในอดีต มักจะส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ใดที่หนึ่งตามมา อย่างเช่น Latin American Debt crisis ในช่วงปี 1980 หรือการขึ้นดอกในช่วงปี 1993 -1995 ก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดวิกฤตการเงินในเม็กซิโก ในครั้งนี้ก็หลีกเลี่ยงยากที่จะเกิดวิกฤตในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งไปเกิดที่ ศรีลังกา อียิปต์ หรือประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ถ้าจะถามว่า แล้วประเทศทางเราจะเกิดวิกฤตไหม BBLAM ก็คิดว่า วิกฤตผ่านไปแล้ว
สำหรับเวียดนาม เศรษฐกิจได้รับอานิสงค์จากการบริโภคภายในประเทศ การใช้จ่ายอุปโภคบริโภค ภาคการท่องเที่ยว ตอนที่เดินทางไปประเทศเวียดนามจะเห็นว่าสนามบินคึกคัก ร้านอาหารเต็ม 100% คนออกมาจับจ่ายใช้สอย ทั้งในตลาดและในห้าง ภาพการบริโภคภายในประเทศยังแข็งแกร่ง
แต่ภาพเศรษฐกิจแมคโครค่อนข้างอ่อนไหวกับดอลลาร์ที่แข็งขึ้น เพราะว่าทำให้ค่าเงินของเวียดนามดองอ่อนลงในปีนี้ อ่อนลงไป 8% แต่ก็น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ อย่างเช่น ประเทศไทยที่ปีนี้บาทอ่อนค่าลง 18%
ธนาคารเวียดนามพยายามจะเข้าช่วยรักษาเสถียรภาพค่าเงินไว้ แต่การพยุงค่าเงินก็ทำให้ธนาคารกลางเวียดนามต้องใช้ทุนสำรองในการเข้าซื้อเงินดอง และทำให้ทุนสำรองของประเทศที่มีอยู่ประมาณ 92 พันล้านดอลลาร์ในเดือนสิงหาคมปีนี้ เหลือประมาณ 85-90 พันล้านดอลลาร์ในตอนนี้ ซึ่งก็เทียบเท่ากับ “สามเท่าของการนำเข้า” ซึ่งก็ยังอยู่ในสัดส่วนที่ IMF แนะนำว่าควรจะเป็น
แต่ความกังวลของนักลงทุนว่า “ทุนสำรองจะเพียงพอไหม” ซึ่งพอมาดูตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เงินทุนสำรองของเวียดนามปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับเกณท์ที่สูง
แต่ที่ผ่านมา เวลาที่เงินทุนสำรองลด ไม่ได้แปลว่าจะต้องเกิดวิกฤตค่าเงินเสมอไป
ประเด็นค่าเงินเป็นประเด็นที่ธนาคารกลางเวียดนามรับทราบถึงปัญหาและให้ความสำคัญ จึงทำให้ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยทีละ 1% ไปแล้วสองรอบ เพื่อที่จะสกัดไม่ให้เงินไหลออกจากเวียดนาม
นอกจากนี้ “เงินเฟ้อ” ก็ดูจะไม่ใช่ปัญหาต่อเวียดนามมากเท่าประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ เงินเฟ้อของเวียดนามทั้งปีน่าจะไม่เกิน 4% แต่ในปีหน้า เงินเฟ้อของเวียดนามน่าจะอยู่ประมาณ 4% ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยของเวียดนามอยู่ที่ 6% ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่ควรจะเป็นที่ดอกเบี้ยควรจะสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ถ้า Fed ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยต่อแรงๆ เงินเฟ้อ และการขึ้นดอกเบี้ยของเวียดนามน่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ปีหน้าเวียดนามอาจจะขึ้นดอกเบี้ยแค่ 25-50 bps และไม่ได้สร้างแรงกดดันให้กับตลาดเพิ่มเติม
ผู้จัดการกองทุนจาก BBLAM ก็มองว่า ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะดูไม่ดี แต่ตลาดหุ้นอาจจะไม่ได้เป็นแบบสภาพเศรษฐกิจ เวียดนามไม่ได้มีหนี้ดอลลาร์สูง และบริษัทจดทะเบียนก็ไม่ได้มีหนี้ดอลลาร์สูง เช่นกัน
มีเพียงบางบริษัทใน VN 30 เท่านั้นที่มีหนี้ดอลลาร์สูง โดยบริษัทที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ บริษัทขนาดกลาง และบริษัทขนาดเล็ก ที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์ และในช่วงที่ดอกเบี้ยสูงๆ สภาพคล่องอาจจะหายไปจากตลาดจนทำให้บริษัทเหล่านี้มีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และหาเงินทุนได้ยากขึ้น หุ้นกลุ่มก็เป็นสิ่งที่ผู้จัดการกองทุน จาก BBLAM ระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงในการลงทุน
ปีหน้า BBLAM มองว่า อัตราเติบโตของ EPS น่าจะอยู่ที่ 10-15% ในขณะที่ P/E อยู่ที่ 8.2 เท่า หาก Eerning per Share ถูกปรับลงตามภาพเศรษฐกิจถดถอย P/E จะถูกปรับขึ้น แปลว่า หุ้นเวียดนามไม่ได้ถือว่าถูก แต่ว่าถ้ากำไรไม่ได้ถูกปรับลงแล้ว นักลงทุนอาจจะเข้าซื้อหุ้นในระดับมูลค่าที่ไม่แพง
กองทุน B-VIETNAM เน้นการลงทุนในธุรกิจกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ การท่องเที่ยว และการบริโภค มากกว่ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หรือกลุ่มธนาคาร
หลายท่านคงรู้จักกองทุน B-VIETNAM และกองทุนที่สามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ อย่าง B-VIETNAMRMF แล้ว BBLAM จึงได้ออกกองทุนใหม่เพิ่มอีกกองทุน คือ B-VIETNAMSSF เพื่อให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีประเภท SSF เพิ่มโอกาสสะสมจากเวียดนาม นักลงทุนสามารถลงทุนครั้งแรกได้ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน 2022
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนสามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ และสำหรับผู้ลงทุนกองทุน SSF ผ่านช่องทางของธนาคารกรุงเทพ สามารถชำระเงินลงทุนผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพได้อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://tinyurl.com/a264djax
ลูกค้า โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ เลือกเพื่อลงทุนได้เลย ที่ https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Save-And-Invest/Mutual-Funds
หรือลงทุนผ่าน BF Fund Trading จาก BBLAM ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://tinyurl.com/kfsebd74
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวน ได้ที่ BBLAM โทร 0 2674 6488 กด 8 www.bblam.co.th หรือตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/7-11-2022-2