กองทุน B-VIETNAM, B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF Q4/2022

กองทุน B-VIETNAM, B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF Q4/2022

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนาม (B-VIETNAM)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนามเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-VIETNAMRMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนามเพื่อการออม (B-VIETNAMSSF)

“กลยุทธ์หลักยังคงเน้น selective buy หุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและราคายังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง โดยในช่วงที่ผ่านมา ได้ทยอยปรับเพิ่มการลงทุนในหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ได้ประโยชน์จากการเร่งตัวของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในปีหน้า รวมถึงทยอยเพิ่มสัดส่วนกลุ่มธนาคารที่ควบคุมความเสี่ยง NPL ได้ดีและสินเชื่อยังมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งในอนาคต”

“ปัจจัยเสี่ยงหลักในระยะสั้นสำหรับตลาดหุ้นเวียดนาม คือ การชะลอตัวของภาคการส่งออกและการจ้างงานซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคในประเทศ”

“ทั้งนี้ มองว่า มูลค่า (valuation) ของ VN index ใน 12 เดือนข้างหน้าที่ P/E Ratio ระดับ 9 เท่า ได้สะท้อนความเสี่ยงประเด็นดังกล่าวไปค่อนข้างมาก และตลาดหุ้นเวียดนามมีโอกาสปรับขึ้นอย่างช้าๆ ในอนาคต”

ภาพรวมตลาด
ตลาดหุ้นเวียดนามปรับฐานลงแรงในช่วงที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ต้นปี VN Index ปรับตัวลงแรงกว่า 35% (ณ ปลาย พ.ย.) และเป็นหนึ่งในตลาดที่ให้ผลตอบแทนแย่ที่สุดในโลกในปีนี้ สาเหตุหลัก ดังนี้

1) ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 4% เป็น 6% ภายใน 1 เดือน เพื่อชะลอแรงกัดดันจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและรักษาเสถียรภาพของค่าเงินดองเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ให้อ่อนค่าจนเกินไป ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มชะลอตัวลง อีกทั้ง ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของตลาดหุ้นกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Earning yield gap) ที่แคบลงยิ่งทาให้เกิดแรงขายออกจากสินทรัพย์เสี่ยง

2) ความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้สูง หลังจากรัฐบาลเวียดนามได้จับกุมผู้บริหารของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่ออกหุ้นกู้และนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ การที่รัฐบาลเข้มงวดในการออกหุ้นกู้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บางรายเผชิญปัญหาด้านสภาพคล่อง ในภาวะที่อุปสงค์ลดลงจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย
3) ผลกระทบต่อภาคการส่งออกของเวียดนามจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าส่งออกหลักในกลุ่มโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้นักลงทุนรายย่อย ซึ่งเป็นสัดส่วนกว่า 85-90% ของมูลค่าการซื้อในตลาด เทขายหุ้นและเกิดการบังคับให้ขาย (Force sell) สำหรับบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนรายย่อย หลักๆคือหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่ม Materials

พอร์ตการลงทุน

กลยุทธ์หลักยังคงเน้น selective buy หุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและราคายังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง โดยในช่วงที่ผ่านมา ได้ทยอยปรับเพิ่มการลงทุนในหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ได้ประโยชน์จากการเร่งตัวของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในปีหน้า รวมถึงทยอยเพิ่มสัดส่วนกลุ่มธนาคารที่ควบคุมความเสี่ยง NPL ได้ดีและสินเชื่อยังมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งในอนาคต

มุมมองในอนาคต

ปัจจัยเสี่ยงหลักในระยะสั้น คือ การชะลอตัวของภาคการส่งออกและการจ้างงานซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดหุ้นเวียดนามจะมีปัจจัยเสี่ยงค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมมีโอกาสถูกปรับลงจากทั้งกำลังซื้อที่ลดลง และต้นทุนการประกอบธุรกิจโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้น โดยคาดการณ์ในปี 2023 อัตราการเติบโตของกาไรต่อหุ้น (EPS) ของ VN Index จะเติบโตลดลงจาก 15-20% เป็น 10-12% ทั้งนี้ มองว่ามูลค่า (valuation) ของ VN index ใน 12 เดือนข้างหน้าที่ P/E Ratio ระดับ 9 เท่า ได้สะท้อนความเสี่ยงประเด็นดังกล่าวไปค่อนข้างมาก และตลาดหุ้นเวียดนามมีโอกาสปรับขึ้นอย่างช้าๆ ในอนาคต

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต