BBLAM Weekly Investment Insights 9-13 มกราคม 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 9-13 มกราคม 2023

2023 – The Rise of Asia

INVESTMENT STRATEGY

By BBLAM

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนได้สัมผัสประสบการณ์ตรงกันไปแล้วว่า การลงทุนในปี 2022 นั้น ไม่ว่าเราจะพยายามจัดสรร หรือกระจายความเสี่ยงอย่างไร พอร์ตลงทุนก็ยังให้ผลตอบแทนที่ไม่ค่อยน่าพอใจเท่าไร ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้หลายคนกังวลถึงอนาคตข้างหน้าว่า ในปี 2023 นี้ เราควรเตรียมแผนรับมืออย่างไรดี คลิปนี้ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy จาก BBLAM มีคำแนะนำที่น่าสนใจมาฝากนักลงทุน

BBLAM แนะนำกองทุน

กองทุนตราสารหนี้ : BFIXED หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BFRMF หรือกองทุนกระจายลงทุน ได้แก่ B-INCOMESSF

กองทุนลงทุน Defensive stock สู้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย : BCARE หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BCARERMF และ BCARESSF

กองทุนรับเงินเฟ้อสูง : B-GLOB-INFRA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-GLOB-INFRARMF และ B-GLOB-INFRASSF

Market & Economy

Economic Review – 1H2023

By BBLAM

Screenshot 2566-01-07 at 21.08.14.png

ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM พูดถึงมุมมองเศรษฐกิจโลกปีหน้า ดังนี้

  • BBLAM คาดว่า “การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2023 ยังคงขยายตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และมีความเป็นไปได้มากกว่า 50% ที่ยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย”
  • ด้าน “เงินเฟ้อมีทีท่าว่าจะยืนบวกนิ่ง ส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายการเงินให้เป็นบวก” แม้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเริ่มชะลอลง
  • ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะของสหรัฐฯได้ปรับขึ้นมาและยืนตัวอยู่ในระดับสูง ค่าเงินก็ไม่ควรเป็นสิ่งที่ถูกละเลย “BBLAM จึงมองว่าปัจจัยด้านค่าเงินจะต้องเป็นปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วยในระยะข้างหน้า”

ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวในวงกว้าง พร้อมกับเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ โดยทั้งค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ภาวะเงินตึงตัวในตลาดเงิน ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน และการระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่หายไป ล้วนเป็นปัจจัยกดดันแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้าน IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวลดลงจาก 6.0% ในปี 2021 เป็น 3.2% ในปี 2022 และ 2.7% ในปี 2023 เนื่องจากการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นหลัก

ในส่วนของเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทำจุดสูงสุด และทยอยลดลงมาสู่ระดับ 3-4% แต่ยังเป็นระดับที่อยู่เหนือเป้าหมายของธนาคารกลาง รวมทั้งมีความเสี่ยงที่จะอัตราเงินเฟ้อจะค้างในระดับสูงต่อเนื่อง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาได้ส่งผ่านไปยังภาคบริการ ซึ่งมีความหนืด (Stickiness) หรือใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงมากกว่า  โดยได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจจะเต็มไปด้วยความเสี่ยงเชิงลบ แต่เรายังไม่ได้ให้น้ำหนักว่านโยบายการเงินจะกลับมาผ่อนคลายภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023

เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้เป็นศูนย์ ความต่างของดอกเบี้ยระหว่างสองประเทศจะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน (จากเดิมที่อัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนเฉพาะจากปัจจัยภายในประเทศเนื่องจากธนาคารกลางทุกประเทศกดดอกเบี้ยต่ำเพื่อพยุงเศรษฐกิจ) ดังนั้นการวางแผนการลงทุนในทุกสินทรัพย์จะต้องนำปัจจัยด้านอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามามีส่วนในการช่วยตัดสินใจด้วย

Country Snapshot

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC ประจำเดือนธันวาคม มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50bps สู่กรอบ 4.25%-4.5% เป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นติดต่อกันเป็นครั้งที่ 7 โดย “FOMC ย้ำว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องนี้มีความเหมาะสมแล้วและจะเป็นเส้นทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2%”

แม้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซน จะขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาดในไตรมาส 3/2022 “แต่ตัวเลขชี้วัดเศรษฐกิจรายเดือนล่าสุดสะท้อนว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยในบรรดาเศรษฐกิจอันดับต้น ๆ ของยูโรโซน เยอรมนีมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตขาดแคลนพลังงาน และความต้องการซื้อสินค้าในตลาดโลกที่ลดลงมากที่สุด” ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นจนอยู่ในระดับเลขสองหลัก ส่งผลให้ ECB ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไป อย่างไรก็ดี ด้วยแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า ทำให้เราคาดว่า ECB จะหันมาขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่น้อยลง

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมี “แนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปีหน้าโดยได้แรงหนุนจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศที่จะช่วยให้การใช้จ่ายในประเทศขยายตัวได้ดี” ท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่กดดันการส่งออก โดยต้องจับตาทิศทางการขึ้นค่าจ้างแรงงานในช่วงการเจรจาประจำปีของสหภาพแรงงานญี่ปุ่นกับบริษัทต่าง ๆ ช่วงต้นปี 2023 เนื่องจากจะมีผลต่อมุมมองอัตราเงินเฟ้อของ BoJ และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ BoJ ในระยะข้างหน้าอย่างมีนัยสำคัญ

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงระบุในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ว่า “รัฐบาลจะมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว โดยยังคงดำเนินนโยบายที่ประกาศออกมาในช่วง 5 ปีก่อนหน้าต่อไป และไม่มีการให้รายละเอียดถึงนโยบายเศรษฐกิจระยะสั้นมากนัก ซึ่งแม้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในระยะยาว แต่โดยรวมก็ยังมีเสถียรภาพ และมีความต่อเนื่องในเชิงนโยบายสูงจากคณะผู้นำชุดใหม่” ที่ล้วนเป็นพันธมิตรของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กระนั้นก็ยังต้องระวังความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และ Risk Premium ที่อยู่ในระดับสูง เนื่องจากจีนยังคงเผชิญกับความท้าทายด้านการควบคุม COVID-19 อยู่

ในปี 2023 “ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะมาจากการส่งออกที่น่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง แต่น่าจะเป็นการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว” สวนทางกับผลบวกของการเปิดประเทศที่หนุนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2022 ที่จะเริ่มแผ่วลง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่อยู่ในระดับสูงขึ้น หลังธนาคารกลางปรับดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในปีนี้ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะกดดันเศรษฐกิจในปี 2023 เราจึงมองว่า GDP ในปีงบประมาณหน้า (มีนาคม 2023 – เมษายน 2024) จะขยายตัว 6% ลดลงจากปีงบประมาณปัจจุบันที่ BBLAM คาดว่าจะเติบโต 7%

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนับว่าล่าช้ากว่าประเทศอื่น เนื่องจากการเปิดประเทศเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้โมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจจะยังคงมีอยู่ โดยภาคบริการจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศ และ “เมื่อมองไปข้างหน้า การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากการไหลเข้ามาของเงินลงทุนจากจีนในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มีแผนตั้งโรงงานในไทยรองรับการผลิตรถยนต์ 150,000 คันต่อปีนับตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป ขณะที่เราเห็นแนวโน้มการไหลเข้ามาของ FDI มุ่งเน้นกลุ่มการผลิตที่เน้นเทคโนโลยีขั้นสูง และการให้การบริการด้านเทคโนโลยี/เทคโนโลยีการผลิต/การบริการด้านวิศวกรรม มากขึ้น” ด้านการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มขยายตัว ด้านประเด็นทางการเมือง เรามองว่า การเลือกตั้งจะมีส่วนช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2023

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/9-13-2023