กองทุนเปิดบัวหลวงเพิ่มพูน (B-ENHANCED) Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงเพิ่มพูน (B-ENHANCED) Q1/2023

ภาพรวมตลาด
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 31 ม.ค. – 1 ก.พ. 2566 มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 25 bps ตามคาด เพื่อทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ให้ได้ พร้อมดำเนินการลดงบดุลต่อเนื่องตามแผนเดิม ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 4.50% – 4.75% โดยยังคงประเมินการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเหมาะสมสำหรับการทำให้นโยบายการเงินตึงตัวพอที่จะทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้า 2% และจะประเมินการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งต่อไปจากผลของการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ผ่านมาที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และตลาดการเงิน FED ประเมินว่าเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% อย่างไรก็ดี การชะลอลงของเงินเฟ้อในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ดี แต่ FED ยังต้องการหลักฐานที่ชัดเจนกว่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าเงินเฟ้อกำลังปรับตัวลง ซึ่งการจะทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าเป้าหมายได้ จำเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับต่ำกว่าปกติ และตลาดแรงงานที่ผ่อนคลายลง นอกจากนี้ ประธาน FED ยังไม่คิดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากปีนี้ยังคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ แม้ค่อนข้างต่ำ แม้ว่าเงินเฟ้อที่ชะลอลงในสองสามเดือนที่ผ่านมาเป็นข่าวดี แต่เงินเฟ้อภาคบริการไม่รวมค่าเช่าบ้านยังต้องเฝ้าระวัง และตลาดอาจคาดเงินเฟ้อชะลอลงเร็วกว่าที่ FED คาด และยอมรับมีโอกาสดอกเบี้ยจะสูงสุดที่ 5% ได้ หากเงินเฟ้อลดลงเร็ว

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 2 ก.พ. มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps เป็น 2.5% และยังคงส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อ โดยมองว่าครั้งต่อไปก็ยังเป็นการขึ้น 50 bps จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ โดยที่ตลาดก็คาดว่าอาจจะเป็นการขึ้นครั้งสุดท้ายหลังจากเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ได้ปรับลดลงมาแล้ว Eurozone headline inflation ปรับลดลงมาเหลือ 9.2% จากราคาพลังงานที่ปรับลดลงมา และคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2023 จะอยู่ที่ 6.30% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายอยู่ ดังนั้น เรามองว่านโยบายการเงิน ECB ยังคงมีความไม่แน่นอน และยังคงเป็นปัจจัยสร้างความผันผวนให้กับหุ้นยุโรป

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ผลการประชุม เมื่อวันที่ 17 – 18 ม.ค. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และคงกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลญี่ปุ่นในช่วง -0.5% ถึง +0.5% ขณะที่รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานญี่ปุ่น ประจำเดือน ธ.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 4% (YoY) สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ระดับ 2% ซึ่งส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่า BOJ จะยุติการใช้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control) และจะโอกาสให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนมกราคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุน้อยกว่า 7 ปีปรับเพิ่มขึ้น ประมาณ 6-37bps ในขณะที่ รุ่นอายุยาวกว่านี้อัตราผลตอบแทนปรับลดลงตามทิศทางตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ จากการคาดการณ์ของนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่น้อยลงและไม่ต่อเนื่องเหมือนปีที่ผ่านมาส่วนการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเดือนนี้

ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2566 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ (7:0) ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% เป็น 1.50 % ต่อปี โดยให้มีผลทันที คณะกรรมการฯ เห็นว่าการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องเป็นแนวทางการดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และคณะกรรมการฯ ยังมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะได้รับแรงส่งต่อเนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่การส่งออกสินค้าชะลอตัวในปีนี้ แต่จะกลับมาขยายตัวดีขึ้นในปี 2567 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ด้านตราสารหนี้ไทย
• ในเดือน ม.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ได้ปรับตัวลดลงสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทน 10 ปี ของพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.5%
• คณะกรรมการ กนง. ยังยึดแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับสภาวะการเติบโตและเงินเฟ้อซึ่งดูมีแนวโน้มที่ต่างจากธนาคารกลางของกลุ่มประเทศแถบเอเชียอื่นๆ บ้าง อย่างเช่น มาเลเซีย หรือ เกาหลีใต้ ที่เริ่ม Tone down การขึ้นดอกเบี้ยของตน
• บลจ.บัวหลวงปรับน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ไทยขึ้นเป็น Neutral เนื่องจากปัจจัยกดดันจากภายนอก อย่างการขึ้นดอกเบี้ยเริ่มชะลอตัวลง ในขณะที่พันธบัตรไทยถือว่าเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่น่าจะสามารถทนต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจถดถอยได้ อย่างไรก็ดี ด้วยแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของไทย ดูยังมีแนวโน้มที่จะปรับดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน เริ่มส่งสัญญาณการชะลอการขึ้นของดอกเบี้ยบ้างแล้ว ประเด็นนี้ ก็ส่งผลให้ความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอาจจะปรับตัวขึ้น

ด้านตราสารหนี้ต่างประเทศ
• เดือนมกราคม ราคาตราสารหนี้โลก (Global Aggregate Bond) ปรับตัวขึ้นได้ดี +2.3% นับเป็นหนึ่งในเดือนที่ผลตอบแทนรายเดือนดีที่สุด ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
• 1 เดือนที่ผ่านมา ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในเชิง Credit มากกว่า สามารถปรับตัวขึ้น ได้ดีกว่าตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัยสูง อย่างพันธบัตรสหรัฐ
• บลจ.บัวหลวง ยังคงมุมมองสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้รวมที่ Slightly Overweight แม้ว่านโยบายการเงินยังคงตึงตัว และเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง แต่ด้วย Valuation ปัจจุบันถือว่าได้รับรู้ปัจจัยลบไปมากแล้วในปีนี้ และหากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัยจะสามารถปรับตัวขึ้นได้ และมี Drawdown ที่ต่ำกว่าตราสารหนี้คุณภาพที่ต่ำกว่า ดังนั้น การลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ต่อจากนี้ เรายังเน้นย้ำในการให้น้ำหนักการลงทุนไปยังตราสารหนี้คุณภาพดี อย่างพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนคุณภาพสูง (Investment Grade)

สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท USD/THB
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในปีนี้ แต่อาจปรับตัวอ่อนค่าได้ในระยะสั้น
O การเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลับทิศทางมาอ่อนค่า
O การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 และนโยบายการเปิดประเทศของจีน ทำให้เศรษฐกิจไทยทีมีความเชื่อมโยงกับจีน ทั้งทางด้านการค้าและการท่องเที่ยวได้รับประโยชน์
O แนวโน้มดุลบัญชีเดินสะพัดที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการปรับตัวลงของราคาน้ำมันและต้นทุนค่าขนส่ง ขณะที่การไหลเข้าของเงินทุนเพื่อเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินของไทยคาดว่าจะเป็นบวก
Key Risks: (1) อัตราเงินเฟ้อสหรัฐกลับมาเร่งตัวขึ้น (2) การไหลออกของกระแสเงินทุนที่เป็นลักษณะของการเก็งกำไร (3) การชะลอตัวลงของภาคการส่งออก

กลยุทธ์ในการบริหารกองทุน: กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังผลตอบแทนในระยะสั้นถึงปานกลางสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
• ทั้งนี้ ทีมจัดการลงทุนประมาณการว่า ผลตอบแทนมองไปข้างหน้า 1 ปี หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมน่าจะอยู่ราว 1.8 – 2.3% ต่อปี

B-ENHANCED ลงทุนในหน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ข้อมูล ณ 31 มกราคม 2566
• ลงทุนในหน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศมีทั้งหมด 5 กองทุน คือ

  1. กองทุน Nomura Global Dynamic Bond Fund Class I USD สัดส่วนการลงทุน 6.08%
    • ลงทุนในตราสารหนี้และหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนแบบคงที่ หรือผันแปร มีกลยุทธ์การลงทุนที่มีความยืดหยุ่น (unconstrained approach)
    • ใช้มุมมองมหภาค (top-down macro view) ร่วมกับการคัดเลือกผู้ออกหลักทรัพย์ โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (bottom-up selections) และไม่มีข้อจำกัดการลงทุนตามภูมิภาค อุตสาหกรรมและมูลค่าหลักทรัพย์
    • ลงทุนทั้งตราสารหนี้และตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารหนี้ เพื่อปรับพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตลาดในระยะสั้น
  2. กองทุน AXA WF Asian Short Duration Bonds Fund สัดส่วนการลงทุน 3.46%
    • เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นลงทุนในประเทศกลุ่ม Asian มีกลยุทธ์ที่ช่วยลดความผันผวน โดยเฉพาะในช่วงที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน (Quantitative Easing) ที่ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    • กองทุนมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในทุกช่วงเวลา ทั้งช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นและดอกเบี้ยขาลง และยังทำผลงานได้ดีในช่วงสภาวะ Risk-on (ตลาดหุ้นขาขึ้น) และสภาวะ Risk-off (ตลาดหุ้นขาลง) ด้วยเช่นกัน
    • กองทุนให้ผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงในช่วง 5 ปี ดีกว่าดัชนีตราสารหนี้ในภูมิภาคต่างๆ* ทั้งในกลุ่มระดับลงทุน (Investment Grade) และกลุ่มต่ำกว่าระดับลงทุน (Non-Investment Grade หรือ High Yield)
    • ได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเติบโตของทวีปเอเชียที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ขาดเสถียรภาพ มีอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่โดยรวมมีความไม่แน่นอนสูงกว่าเกี่ยวกับแนวทางในการดาเนินนโยบายสาธารณะต่างๆ
  3. กองทุน Allianz Strategic Bond – RT – USD สัดส่วนการลงทุน 2.92% • กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้ทั่วโลกโลกที่ออกโดยเอกชน รัฐบาล องค์กรเหนือรัฐ และองค์กรท้องถิ่น หรือลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการใช้ตราสารอนุพันธ์ ฐานะการลงทุนในตราสารหนี้ไฮยิลด์และตราสารหนี้จีนอยู่ที่ไม่เกิน 50% และ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุน ตามลาดับ
  1. กองทุน AXA WF Emerging Markets Short Duration Bonds สัดส่วนการลงทุน 1.14%
    • กองทุนสามารถลงทุนได้อย่างไม่มีข้อจำกัดที่ถูกตีกรอบโดยดัชนีชี้วัด ซึ่งหมายถึงพอร์ตฟอลิโอสามารถให้น้ำหนักกับไอเดียที่ดีที่สุดและหลีกเลี่ยงการลงทุนในตราสารที่มีประเด็นในเชิงลบได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
    • กองทุนสามารถแสวงหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้ ตั้งแต่พันธบัตรรัฐบาลที่อยู่ในระดับความเสี่ยงและแต่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปจนถึงหุ้นกู้เอกชนที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าแต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเช่นกัน
    • เส้นอัตราผลตอบแทนหรือ Yield Curve ของตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ในมีลักษณะแบนราบ ซึ่งหมายถึงการเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น “ไม่ทำให้” ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ
    • ดังนั้น หลักการของกองทุนจึงนำเสนอการปกป้องในตลาดช่วงขาลง และ “ไม่เคย” ให้ผลตอบแทนแบบปีปฏิทินที่เป็นลบเลยตั้งแต่จัดตั้งกองทุน
    Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต